วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การเผยแผ่และการพระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป (ฝรั่งเศส รัสเซีย เนเธอร์แลนด์)

วิชาพระพุทธศาสนา ม.๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
เรื่องที่ ๖.การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป
ประเทศฝรั่งเศส ประเทศรัสเซีย และประเทศเนเธอร์แลนด์

๓) ประเทศฝรั่งเศส

ธงชาติประเทศฝรั่งเศส

ตราประจำแผ่นดินของฝรั่งเศส

ตำแหน่งของประเทศฝรั่งเศสบนแผนที่โลก

แผนที่ประเทศฝรั่งเศส

เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส


หอไอเฟล (Tour Eiffel, ตูร์แอแฟล) เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนช็องเดอมาร์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย

ตั้งชื่อตามกุสตาฟ ไอเฟล สถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอคอยนี้ หอไอเฟลสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลก ในปี ค.ศ. 1889 (Exposition universelle de Paris de 1889) เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และความสวยทางศิลปะสถาปัตยกรรม

อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล (Arc de triomphe de l'Étoile) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ประตูชัยฝรั่งเศส เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (Place Charles de Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "จัตุรัสแห่งดวงดาว" (Place de l'Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตกของช็องเซลีเซ ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามนโปเลียน และในปัจจุบันยังเป็นสุสานของทหารนิรนามอีกด้วย

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ หรือทับศัพท์ว่า มูว์เซดูลูฟวร์ (Musée du Louvre) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เริ่มขึ้นโดยกลุ่มพุทธศาสนิกชนชาวฝรั่งเศส นำโดย นางสาวคอนสแตนด์ ลอนสเบอรี ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ ได้ร่วมกันก่อตั้งพุทธสมาคมขึ้นภายใต้ชื่อ เล ซามีดู บุดดิสเม (Les Amis du bouddhisme) ในกรุงปารีส เพื่อเป็นศูนย์รวมการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท จัดกิจกรรมการแสดงธรรม ปาฐกถาธรรม ตามวาระและโอกาส รวมถึงออกวารสารทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนนิมนต์พระสงฆ์จากไทย เมียนมา ลาว ไปแสดงธรรมและฝึกอบรมสมาธิวิปัสสนา 

พุทธสมาคม เล ซามีดู บุดดิสเม (Les Amis du bouddhisme)

INTERNATIONAL BUDDHIST CENTER IN FRANCE


วัดไทยในฝั่งเศส เช่น วัดธรรมประทีป กรุงปารีส




วัดศรีมงคล เมืองสตราสบูร์ก เป็นต้น

**ไม่สามารถหาภาพของวัดศรีมงคล เมืองสตราสบูร์กได้**


๔) ประเทศรัสเซีย

ธงชาติประเทศรัสเซีย

ตราประจำแผ่นดินประเทศรัสเซีย

ตำแหน่งของประเทศรัสเซียบนแผนที่โลก

แผนที่ประเทศรัสเซีย

เมืองหลวงของประเทศรัสเซีย

มหาวิหารเซนต์บาซิล (อังกฤษ: Saint Basil's Cathedral; รัสเซีย: Собор Василия Блаженного) เป็นอาสนวิหารของศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ตั้งอยู่ที่จัตุรัสแดง กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย สร้างโดยซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หรือซาร์อีวานจอมโหด เพื่อฉลองชัยชนะเหนือพวกมองโกลที่กรีธาทัพมาเมืองคาซาน เมื่อปี ค.ศ. 1552 ผลจากชัยชนะครั้งนี้ทำให้รัสเซียสามารถรวมชาติได้เป็นปึกแผ่น จึงสร้างมหาวิหารแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1555 เดิมทีมหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นเพียงโบสถ์ขนาดเล็กที่บรรจุศพของนักบุญวาซิลีหรือนักบุญบาซิล

มหาวิหารนี้ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชื่อปอสต์นิค ยาคอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า ซาร์อีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิกผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานามอีวานผู้โหดร้าย (Ivan The Terrible)

ทะเลสาบไบคาล (Baikal)
(อักษรโรมัน: Lake Baikal, อักษรซีริลลิก: о́зеро Байка́л) ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของไซบีเรีย ประเทศรัสเซียเป็นทะเลสาบน้ำจืด ที่ลึกที่สุดในโลก จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกกว่า 1,640 เมตร ทะเลสาบไบคาลเกิดจากการที่น้ำเอ่อล้นเข้ามาจนเต็มรอยเปลือกโลกที่แตกเมื่อ 25 ล้านปีที่แล้ว
ทะเลสาบไบคาลได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539

 

โบสถ์แห่งหยดเลือด (Savior on the Spilled Blood)
สร้างให้เป็นเกียรติแด่พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ผู้ประกาศเลิกทาส ด้วยความหวังดีต่อประชาชน ปรากฎว่าชาวรัสเซียไม่เข้าใจ เพราะหลังเลิกทาส ชาวนากลับมีความเป็นอยู่ที่จนลง เป็นผลให้พวกชาวนารวมตัวกันว่าแผนปลงพระชนม์ โดยส่งหญิงชาวนาผู้หนึ่งติดระเบิดพลีชีพวิ่งเข้ามาขณะพระองค์เสด็จผ่าน ต่อมาบริเวณถนนที่เกิดเหตุนั้นถูกสร้างโบสถ์ครอบไว้ กลายเป็นโบสถ์หยดเลือดมาจนถึงทุกวันนี้


พระพุทธศาสนาเข้าสู่สหภาพโซเวียตในอดีต ตั้งแต่เมื่อครั้งตกอยู่ภายใต้การปกครองของมองโกลซึ่งนำโดยพระจักรพรรดิเจงกิสข่านในปี พ.ศ.๑๗๖๖ 


ข้อเท็จจริงประการแรก
ข้อมูลดังกล่าวจากในหนังสือเรียนนั้นกล่าวผิด
เจงกีสข่าน มีอายุในช่วง ค.ศ.1155-1162 ถึง ค.ศ.1277 หรือ พ.ศ.1698-1705 - 1820
ส่วนสหภาพโซเวียต อยู่ในช่วง ค.ศ.1922 - 1991 หรือ พ.ศ.2465 - 2534
ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นคนละยุคสมัยกัน
ในความเป็นจริงที่ควรจะกล่าวให้ถูกต้องคือ เจงกีสข่านเคยยึดครอง หรือปกครองดินแดนแถบนี้ก่อนที่จะเป็นสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา

เจงกีสข่าน Genghis Khan
จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ทรงก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล มีพระนามเดิมว่า เตมูจิน (Temüjin) ตามสถานที่พระราชสมภพริมฝั่งแม่น้ำโอนอน ทรงเป็นผู้นำครอบครัวแทนพระบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ปี และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ทรงปราบเผ่า “ไนแมน” ทางด้านตะวันตก พิชิตชนชาติ “ตันกุต” (เซี่ยตะวันตก) และยอมรับการจำนนของชาว “อุยกูร์”

จักรวรรดิมองโกลประมาณ พ.ศ. 1800–1900

สหภาพโซเวียต พ.ศ.2465 - 2534


ข้อเท็จจริงประการต่อมา
โดยปกติชาวมองโกเลีย นับถือศาสนาพุทธ และลัทธิ "เต็งกรี" หรือ ลัทธิบูชาเทพ ชาวมองโกเลีย นับถือเจงกิสข่าน เป็นเทพองค์หนึ่ง เป็นเทพชั้นราชาแห่งสวรรค์ แต่พระองค์ก็ไม่ขัดขวาง หรือกดขี่ศาสนาอื่น ดังนั้น ในมองโกเลียจึงมีทุกศาสนา ไม่ว่าพุทธ อิสลาม คริสต์ หรือลัทธิเต็งกรี แม้แต่ในพระบรมราชวงศ์ ของเจงกิสข่านยังมีผู้นับถือศาสนา กันเกือบทุกศาสนา

คอมเพล็กซ์อนุสาวรีย์ชิงกิสข่าน (Chinggis Khaan Statue Complex)

แม้พระพุทธศาสนาจะเข้าสู่ดินแดนก่อนที่จะเป็นสหภาพโซเวียตมาก่อน แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายและนับถือมากนัก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีกลุ่มบุคคล เช่น มาดามเซอร์บาตสกี และ มร.โอเบอร์มิลเลอร์ พยายามนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ผ่านกลุ่มปัญญาชนชาวรัสเซีย มีการก่อตั้งพุทธสมาคมบิบลิโอเธคา พุทธิคา ขึ้้น แต่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็เป็นไปอย่างจำกัด เพราะรัสเซียในขณะนั้นปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะต้องได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น

ไม่สามารถหาภาพพุทธสมาคมในรัสเซียได้
จึงนำภาพตัวอย่างของ Ivolginsky datsan มาใส่แทน
เปิดให้บริการในปีพ. ศ. 2488 โดยเป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของชาวพุทธเพียงแห่งเดียวของสหภาพโซเวียต

ปัจจุบันเมื่อมีการแยกออกเป็นหลายประเทศ ส่งผลให้พุทธศาสนิกชนกระจายไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น รัสเซีย ลิทัวเนีย คาซัคสถาน เป็นต้น ซึ่งโดยมากจะเป็นพระพุทธศาสนานิกายตันตระ 

พุทธมหายานนิกายตันตระในรัสเซีย

วัดไทยในรัสเซีย เช่น วัดอภิธรรมพุทธวิหาร กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

เนื่องจากหาภาพวัดอภิธรรมพุทธวิหารไม่เจอ จึงนำภาพชาวพุทธรัสเซียมาใส่แทน



๕) ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)

ธงชาติประเทศเนเธอร์แลนด์

ตราประจำแผ่นดินประเทศเนเธอร์แลนด์

ตำแหน่งของประเทศเนเธอร์แลนด์บนแผนที่โลก

แผนที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์

พิพิธภัณฑ์แวนโก๊ะ (Van Gogh Museum)
และผลงานตัวอย่างของแวนโก๊ะ

หมู่บ้านกังหันลมโบราณ (Zaanse Schans)

พระพุทธศาสนาเข้าสู่เนเธอร์แลนด์ทางการค้า โดยพ่อค้าชาวดัตซ์และชาวพื้นเมืองจากประเทศอินโดนีเซียและศรีลังกา ที่เดินทางเข้ามาศึกษาในกรุงอัมสเตอร์ดัม แต่ผู้สนใจและนับถือยังมีน้อย จนถึงในปี พ.ศ.๒๓๙๘ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ชาวพุทธในกรุงเฮกได้ฟื้นฟูชมรมชาวพุทธขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชาวพุทธในเนเธอร์แลนด์ ปี พ.ศ.๒๕๐๘ ได้มีการก่อตั้งกลุ่มพุทธศาสน์ศึกษาขึ้นในกรุงเฮก และในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ก็ได้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งใหม่ขึ้น โดยความอนุเคราะห์ของสถานทูตไทยในกรุงเฮก สถานการณ์พระพุทธศาสนาในเนเธอร์แลนด์มีแนวโน้มว่าจะดำเนินไปได้ดี 

ภาพตัวอย่างชาวพุทธในเนเธอร์แลนด์

Buddhist Meditation Centre Metta Vihara
ศูนย์ปฏิบัติธรรม เมตตาวิหาร


วัดไทยในเนเธอร์แลนด์ เช่น วัดพุทธาราม และวัดพุทธวิหาร กรุงอัมสเตอร์ดัม เป็นต้น

วัดพุทธาราม เนเธอร์แลนด์

วัดพุทธวิหาร เนเธอร์แลนด์



การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ก็ดำเนินไปคล้ายคลึงกัน โดยอาศัยองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธร่วมมือกันก่อตั้งขึ้น และมีพระสงฆ์จากทวีปเอเชีย เช่น เมียนมา ไทย ศรีลังกา ญี่ปุ่น ทิเบต เป็นต้น เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ แม้ภาพรวมจะยังไม่ได้รับการประดิษฐานอย่างมั่นคงก็ตาม แต่เพราะหลักคำสอนอันเป็นสากล และท้าทายต่อการทดสอบ พิสูจน์ มีเหตุมีผล รวมถึงสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ชาวยุโรปหันมาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้น สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้บรรจุวิชาพระพุทธศาสนาไว้ในหลักสูตร รวมทั้งก่อตั้งสถาบันเฉพาะทางพระพุทธศาสนาขึ้น เช่น ความพยายามก่อตั้งศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ต เป็นต้น


ภาพบางส่วนที่แสดงให้เห็นถึงชาวยุโรปที่หันมานับถือพระพุทธศาสนา


ภาพตัวอย่างของการศึกษาพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด