วิชาพระพุทธศาสนา ม.๓หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑เรื่องที่ ๔.การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก(เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ประเทศเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น)
วิชาพระพุทธศาสนา ม.๓
๕) เขตปกครองตนเองทิเบต
ธงของประจำเขตปกครองตนเองทิเบต
ตำแหน่งของเขตปกครองตนเองทิเบต
ภาพสถานที่อันสวยงามของเขตปกครองตนเองทิเบต
เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน เป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนานิกายวัชรยานได้เคยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด พระพุทธศาสนาในทิเบตมีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นการผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนามหายานแบบตันตระจากอินเดียและจีน กลายเป็นมหายานแบบวัชระในทิเบต
พระพุทธศาสนาแบบวัชรยานของเขตปกครองตนเองทิเบต
(ซ้าย) อักษรเทวนาครี ของอินเดีย
(ขวา) อักษรที่ทิเบตประดิษฐ์ขึ้น เพื่อจารึกคำสอนของพระพุทธศาสนา
(ขวา) อักษรที่ทิเบตประดิษฐ์ขึ้น เพื่อจารึกคำสอนของพระพุทธศาสนา
ในสมัยของพระเจ้าซรอนซันกัมโป ทรงส่งเสริมให้มีการศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยการสนับสนุนของพระมเหสีทั้งสองของพระองค์ คือ พระนางเหวินเฉิง พระราชธิดาของจักรพรรดิ์ถังไท่จงจากประเทศจีน และพระนางภริคุติเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์อัมสุวาแห่งประเทศเนปาล พระมเหสีทั้งสองพระองค์ทรงนับถือพระพุทธสาสนามหายานอย่างเคร่งครัด ทรงได้นำเอาพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย ทำให้เป็นที่สนพระทัยของพระองค์ จึงเริ่มศรัทธาและศึกษาพระพุทธศาสนา โดยให้มีการสร้างวัดโจคังขึ้นเป็นวัดแห่งแรกในทิเบต รวมทั้งส่งสมณทูตไปศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดีย ตลอดจนนำคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามาแปลเป็นภาษาทิเบต
วัดโจคัง (Jokhang Temple) วัดแห่งแรกในเขตปกครองตนเองทิเบต
เมืองลาซา (Lhasa)
พระมหากษัตริย์ทิเบตทุก ๆ พระองค์ในยุคต่อ ๆ มา ต่างมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บางพระองค์ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดลึกซึ้ง และถือเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา จนมีการจัดทำพจนานุกรมทางพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต-ทิเบตขึ้นฉบับแรก ประมาณปี พ.ศ.๑๓๕๗เมืองลาซา (Lhasa)
ลักษณะของกษัตริย์ทิเบตที่ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
และเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
สังเกตุได้จากท่าทางการนั่งที่ปรากฏในลักษณะสมาธิ คล้ายพระพุทธรูป
และเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
สังเกตุได้จากท่าทางการนั่งที่ปรากฏในลักษณะสมาธิ คล้ายพระพุทธรูป
ภาพตัวอย่างหน้าปกของพจนานุกรมทางพระพุทธศาสนา
ภาษาทิเบต-สันสกฤต
ภาษาทิเบต-สันสกฤต
นิกายญิงมา (Nyingma) หรือ นิกายหมวกแดง
ถือกำเนิดจากปัทมสัมภวะ อาจารย์ชาวอินเดียคือที่เดินทางมาทิเบตเมื่อ พ.ศ. ๑๓๕๐
ซึ่งได้รับการนับถือจากชาวทิเบตอย่างกว้างขวาง
สิ่งที่หลงเหลือของนิกายศากยะ
ภาพโบราณวัตถุถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.๑๓๖๘-๑๖๔๔)
วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ.๑๒๖๙
และถูกเปลี่ยนจากชื่อจากโรงเรียนพุทธศาสนาทิเบตนิกายศากยะไปเป็นนิกายเกลุกปะ
นิกายกาจู หรือ กาจูปะ เป็นนิกายสำคํญนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาในทิเบต มีที่มาจากอาจารย์มาร์ปะ โชคี โลโด และ อาจารย์ ทุงโป ญาลจอร์ ซึ่งเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนานิกายตันตระในอินเดียและเนปาล ศิษย์ที่สืบทอดความรู้และนำมาเผยแพร่ในทิเบตคือมิลาเรปะ คำสอนของนิกายนี้มีทั้งสายสมาธิและสายการฝึกฝนทางปรัชญา
นิกายเกลุก หรือ นิกายเกลุกปะ หรือ นิกายหมวกเหลือง พัฒนามาจากนิกายกดัมที่อาจารย์อตีศะวางรากฐานและและอาจารย์สองขะปะเป็นผู้ปฏิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงแล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้น
ดาไล ลามะ (Dalai Lama) ผู้ปกครองสูงสุดของทิเบต
ตัวอย่างคำสอนขององค์ดาไล ลามะ แห่งทิเบต
ปัจจุบัน แม้ทิเบตจะมีสถานะเป็นเพียงเขตปกครองตนเองของจีน แต่สำหรับชาวทิเบตมีวิถีชีวิตยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น เมื่อใดก็ตามที่ชาวทิเบตเดินทางไปกรุงลาซา เพียงมองเห็นยอดพระราชวังโปตาลา จะก้มลงกราบด้วยอัษฎางคประดิษฐ์ หากมีเด็กเกิดมาในครอบครัว ชาวทิเบตถือว่าจะต้องมีลูกหนึ่งคนออกบวชเพื่อให้เป็นญาติกับพระพุทธศาสนา แม้ว่าชาวทิเบตจะหนีภัยการเมืองไปอยู่ในภูมิภาคใดของโลก แต่ชาวทิเบตไม่เคยละทิ้งหน้าที่ความเป็นชาวพุทธ โดยจะสวดมนต์ภาวนาและปฏิบัติธรรรมในทุก ๆ ที่ ซึ่งเราจะได้ยินคำสวด "โอม มุนี ปัททะเม หุม" ในทุกที่ ๆ มีชาวทิเบต
การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์
การกราบโดยให้องคาพยพทั้ง ๘ ตำแหน่งของร่างกาย อันได้แก่
การกราบโดยให้องคาพยพทั้ง ๘ ตำแหน่งของร่างกาย อันได้แก่
หน้าผาก ๑ หน้าอก (บางแห่งว่าหน้าท้อง) ๒ ฝ่ามือทั้ง ๒ เข่าทั้ง ๒ และปลายเท้าทั้ง ๒ สัมผัสธรณี
มักเข้าใจและเรียกกันว่าเป็นการกราบแบบธิเบต แต่อันที่จริงแล้วเป็นท่านมัสการที่แพร่หลายทั่วไปอยู่แล้วในกลุ่มผู้นับพุทธศาสนิกชนที่นับถือลัทธิตันตรยานหรือวัชรยาน เช่น ในอินเดีย กัมพูชาสมัยเมืองพระนคร กระทั่งธิเบต เนปาล และภูฏานทุกวันนี้ก็ยังทำกันอยู่เป็นกิจวัตร ท่านี้น่าจะใช้มาตั้งแต่แรกสถาปนาลัทธิตันตรยานในอินเดียเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๓ กันเลยทีเดียว โดยน่าจะขอยืมมาจากท่านมัสการของศาสนาพราหมณ์
๖) ประเทศจีน
ธงชาติประเทศจีน ธงอู่ชิงหงฉี (ธงแดงห้าดาว)
ความหมาย พื้นสีแดง หมายถึง สัญลักษณ์ของการปฏิวัติจีน ดวงดาวสีเหลือง 5 ดวง ซึ่งเรียงกันคล้ายกับลักษณะแผนที่ประเทศจีน หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวจีนทั้งประเทศ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน ดาวดวงใหญ่ หมายถึง ผู้นำแห่งกิจการงานทั้งปวง ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน
ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศจีนในแผนที่โลก
ภาพบางส่วนจากหลาย ๆ สถานที่ในประเทศจีน
การที่พระพุทธศาสนาแผ่ขยายและเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน นับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของจีน และประวัติศาสตร์ศาสนาของโลก โดยเมื่อพระพุทธศาสนามาเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน ก็ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการสร้างสรรค์อารยธรรมจีนร่วมกับศาสนาขงจื๊อและศาสนาเต๋า
ศาสนาขงจื๊อ และศาสนาเต๋า
จีนเริ่มยอมรับพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นหมิงตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น พระองค์ได้ส่งคณะทูตไปสืบพระพุทธศาสนาทางตอนเหนือของอินเดีย สามารถอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระไตรปิฏก และอาราธนาพระเถระชั้นผู้ใหญ่ คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ ไปประกาศพระพุทธศาสนาที่ประเทศจีนได้สำเร็จราชวงศ์ฮั่น (ในภาพไม่ใช่พระเจ้าฮั่นหมิงตี้ เนื่องจากไม่สามารถหาภาพของท่านได้)
พระจักรพรรดิจีนได้สร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้นในจีนเป็นครั้งแรก บริเวณรอบนอกพระนคร ชื่อว่า "ไป๋หม่าซื่อ" แปลว่า "วัดม้าขาว" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าที่บรรทุกพระคัมภีร์มาสู่จีน
วัดไป๋หม่า หรือ วัดม้าขาว เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน
สร้างขึ้นเมื่อสมัยราชวงศ์ฮั่น วัดม้าขาวถือว่าเป็นปฐมสังฆาราม หรือ วัดพุทธแห่งแรกในประเทศจีน
ตั้งชื่อตามม้าสีขาว (ไป๋หม่า) ที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจนถึงประเทศจีน
พระพุทธศาสนาเจริญสูงสุดในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะได้รับการสนับสนุนจากพระจักรพรรดิ ตลอดจนนักราชญ์ราชบัณฑิตต่าง ๆ โดยมีการสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง และมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีน เช่น ศรีมาลาเทวีสูตร ลังกาวตารสูตร ทศภูมิศาสตร์
หนึ่งในจักรพรรดิ์รางวงศ์ถัง กษัตริย์ถังไท่จง
ผู้ตอบแทนคุณวัดเส้าหลินที่เคยช่วยปราบกบฏแมนจู
ด้วยการอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา
ผู้ตอบแทนคุณวัดเส้าหลินที่เคยช่วยปราบกบฏแมนจู
ด้วยการอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา
ตัวอย่างพระสูตร (แบบภาษาไทย) ที่เคยถูกแปลมาจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีน
สมัยราชวงศ์ถังยังได้กำเนิดนิกายที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นอีกหลายนิกาย เช่น นิกายมหายาน นิกายเทียนไท้ นิกายธรรมลักษณะ เป็นต้น
สมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์หยวน พระพุทธศาสนาได้รับการเอาใจใส่ทำนุบำรุงด้วยดีจากฝ่ายบ้านเมือง ที่สำคัญก็คือ นิกายตันตระ นิกายเซน และนิกายสุขาวดี ได้รับการยกย่องให้เป็นศาสนาประจำราชสำนัก
(ซ้าย) นิกายมหายาน (ขวา) นิกายเทียนไท้
สมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์หยวน พระพุทธศาสนาได้รับการเอาใจใส่ทำนุบำรุงด้วยดีจากฝ่ายบ้านเมือง ที่สำคัญก็คือ นิกายตันตระ นิกายเซน และนิกายสุขาวดี ได้รับการยกย่องให้เป็นศาสนาประจำราชสำนัก
นิกายตันตระ
นิกายเซน
การปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่ของกรรมาชีพ ( Great Proletarian Cultural Revolution)
หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า การปฏิวัติวัฒนธรรม
เหมาเจ๋อตงซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน
หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า การปฏิวัติวัฒนธรรม
เหมาเจ๋อตงซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน
วัดถูกยึดเป็นสถานที่ราชการ พระพุทธรูป คัมภีร์ ถูกเผาทำลาย
พระภิกษุถูกบังคับให้ลาสิกขา
ต่อมาภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิตส์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ รัฐบาลชุดใหม่ของจีนได้ผ่อนปรนการนับถือพระพุทธศาสนา และลัทธิความเชื่อให้กับประชาชนมากขึ้น พุทธศาสนิกชนชาวจีนจึงได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่อีกครั้ง ปัจจุบันชาวจีนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือลิทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในขณะที่รัฐบาลจีนก็ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นในกรุงปักกิ่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับนานาประเทศ
พุทธสมาคมแห่งประเทศจีน
๗) ประเทศเกาหลี
ธงชาติเกาหลีเหนือ
ธงชาติเกาหลีใต้
ตำแหน่งของประเทศเกาหลีบนแผนที่โลก
แผนที่ประเทศเกาหลีเหนือและใต้
ภาพตัวอย่างสถานที่ในเกาหลีเหนือ
ภาพตัวอย่างสถานที่ในเกาหลีใต้
ก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ประชาชนชาวเกาหลีได้นับถือศาสนาอื่นอยู่ก่อนแล้ว คือ ศาสนาเชมัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๙๑๕ จีนได้ส่งสมณทูตชื่อซุนเตา เข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโคกูรยอบนคาบสมุทรเกาหลี และในปี พ.ศ.๙๒๕ ได้มีพระภิกษุชาวอินเดียชื่อ มาลานันทะ ได้จากริกผ่านประเทศเกาหลี พร้อมกับนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ ด้วยอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมและคติความเชื่อของจีนที่มีต่อเกาหลี จึงทำให้ประชาชนเกาหลีเริ่มหันมาสนใจและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
"เชมัน" ลัทธิเทพเจ้า ศาสนาดั้งเดิมของเกาหลี
เกี่ยวกับคนทรง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น ลัทธิมู 무교 (Mugyo) หรือลัทธิชิน 신교 (Singyo)
อาณาจักรโคกูรยอใหม่ หรือ แคว้นแทบง
เป็นหนึ่งในสามอาณาจักรหลังของเกาหลีซึ่งประกอบไปด้วยอาณาจักรแพ็กเจใหม่ อาณาจักรรวมชิลลา
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลีระยะหนึ่ง จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ก็ได้เสื่อมโทรมลง ภายหลังจากที่ราชวงศ์ลี หรือราชวงศ์โชชอนเข้ามามีอำนาจและสนับสนุนให้ลัทธิขงจื๊อเป็นศาสนาประจำชาติ จึงได้มีการทำลายวัด หรือปิดวัด ห้ามเผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา และให้ย้ายวัดออกจากเมืองหลวงไปอยู่ชนบท การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การอุปสมบท จะได้ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ
ภาพตัวอย่างของราชวงศ์โชชอน
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเกาหลี ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา ซึ่งนอกจากจะมีการสร้างวัดและพระพุทธรูปขึ้นอย่างแพร่หลายแล้ว ยังได้แปลพระไตรปิฎก จากภาษาบาลีเป็นภาษาเกาหลี แล้วจารึกลงบนแผ่นไม้ แผ่นหิน และพิมพ์เป็นหนังสือไว้จำนวน ๕,๐๔๘ เล่ม รวมเรียกว่า "พระไตรปิฏกฉบับสุง"
ภาพตัวอย่างของพระไตรปิฏกฉบับสุงที่จารึกลงบนแผ่นไม้
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๓ - ๒๔๘๘ เกาหลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น พุทธศาสนิกชนชาวเกาหลีและญี่ปุ่นได้ร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในเกาหลีให้รุ่งเรือง โดยจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาขึ้น เช่น การออกวารสารทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม เป็นต้น แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ และถอนตัวออกไป ประกอบกับปัญหาทางการเมือง ส่งผลให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอีกครั้ง
ประเทศเกาหลีภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น
จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๑ เกาหลีถูกแบ่งเป็น ๒ ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิตส์ และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองเฉพาะในประเทศเกาหลีใต้เท่านั้น
ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเทศคือ เกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ เป็นผลพวงจากสงครามทั้งภายในและภายนอกประเทศ เริ่มจากปี ๑๙๔๕ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศเกาหลีก็ปลดแอกจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ หลังจากนั้นชาติมหาอำนาจก็ได้เข้ามาควบคุมประเทศเกาหลีต่อ โดยสหภาพโซเวียตควบคุมภาคเหนือ และสหรัฐอเมริกาควบคุมภาคใต้ และแบ่งพื้นที่ตามแนวเส้นรุ้งที่ ๓๘ องศาเหนือ ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งประเทศออกเป็น ๒ ฝ่าย
ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนชาวเกาหลีใต้ประมาณ ๓๐ ล้านคน ส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนานิกายเซนผสมกับความเชื่อในพระอมิตาภะพุทธเจ้า และพระศรีอริยเมตตรัย มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นมากมาย เพื่อเป็นหน่วยงานกลางสำหรับการศึกษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนา องค์กรทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้อยู่ในความควบคุมของพระทรวงศึกษาธิการ
ลักษณะพระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลีใต้
๘) ประเทศญี่ปุ่น
ธงชาติประเทศญี่ปุ่น
ในสมัยอดีตก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางความเชื่อและวัฒนธรรมจากจีน การบูชาบรรพบุรุษของลัทธิขงจื๊อนับว่ามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไป รวมทั้งความเชื่อในโหราศาสตร์และเวทมนตร์คาถาของลัทธิเต๋า ต่างได้แทรกซึมอยู่ในความเชื่อของศาสนาชินโต อันเป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นการนับถือพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นจะมาจากเกาหลี แต่ในด้านวัฒนธรรมกลับสืบทอดมาจากจีนเป็นหลัก พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นจึงเป็นพระพุทธศาสนามหายานที่ผ่านการหล่อหลอมจากอารยธรรมจีน
ประตูโทริอิ (鳥居 Torii)
คือซุ้มประตูแบบญี่ปุ่น ตั้งไว้เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ว่า อาณาเขตเบื้องหลังเสาโทริอินี้เป็นอาณาเขตของเทพเจ้า เพื่อที่ผู้คนจะได้ไม่เผลอกระทำการอันจะเป็นการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถพบได้ตามศาลเจ้าชินโตตลอดจนวัดพุทธบางแห่งในประเทศญี่ปุ่น
นักบวชในศาสนาชินโต
ผู้ชายจะเรียกว่า องเมียวจิ
ผู้หญิงจะเรียกว่า มิโกะ
ผู้ชายจะเรียกว่า องเมียวจิ
ผู้หญิงจะเรียกว่า มิโกะ
พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นเริ่มต้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ เมื่อกษัตริย์เกาหลี มีพระราชประสงค์จะเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น จึงได้ทรงส่งคณะทูตนำพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไปถวายพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งพระองค์ทรงรับไว้ด้วยความเลื่อมใส แต่สถานะของพระพุทธศาสนายังไม่มีการนับถืออย่างแพร่หลาย เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความเลื่อมใสในศาสนาชินโต อันเป็นศาสนาดั้งเดิมของบรรพชนญี่ปุ่น
ภาพตัวอย่างของจักรพรรดิญี่ปุ่นในยุคสมัยโบราณ
ตัวอย่างภาพวาดโบราณที่แสดงถึงลักษณะศาสนาพุทธที่เริ่มนับถือกันในหมู่ชนชั้นสูง
ภาพตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงศาสนาชินโตที่ทรงอิทธิพลต่อชาวญี่ปุ่นในยุคโบราณ
พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นเริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ โดยเริ่มเป็นที่นิยมนับถือกันในหมู่ชนชั้นสูงก่อนแล้วค่อยแพร่หลายออกไปในหมู่ประชาชน เริ่มจากต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา เมื่อเจ้าชายโชโตกุซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการของพระจักรพรรดินีซูอิโกะ ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาในทุกด้าน และประกาศยกให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในยุคนี้เองจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "ยุคสัทธรรมไพโรจน์" ส่งผลให้พระพุทธศาสนามหายานมั่นคงสืบมาจนปัจจุบัน
ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ญี่ปุ่นได้ปรับบทบาทพระพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศ ส่งผลให้เกิดนิกายของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นขึ้น ๓ นิกาย และเป็นที่เลื่อมใสนับถือกันมาจนถึงปัจจุบัน คือ นิกายโจโด หรือนิกายสุขาวดี นิกายเซน และนิกายนิจิเร็ง
ภาพตัวอย่างนิกายโจโด 浄土教 หรือ นิกายสุขาวดี
คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี
ภาพตัวอย่างนิกายเซน 禅
เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน
นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี)
มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน
ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น
การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง
เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน
นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี)
มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน
ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น
การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง
ภาพตัวอย่างนิกายนิจิเร็ง 日蓮系諸宗派
เป็นหนึ่งในนิกายทางมหายานของพุทธศาสนา
ที่ยึดตามคำสอนของ พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นชื่อ พระนิชิเร็ง (ค.ศ. ๑๒๒๒– ค.ศ. ๑๒๘๒)
นิชิเร็นโชชูจะเชื่อใน คัมภีร์ สัทธรรมปุณฑริกสูตร และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติพุทธะอยู่ในชีวิตของแต่ละคนอยู่แล้ว จึงทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ในช่วงชีวิตนี้
พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นไม่แตกต่างจากพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ มากนัก คือเหตุการณ์ทางการเมืองการปกครอง มักส่งผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบต่อพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมลงในบางยุคสมัย จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง มีการส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยทางพระพุทธศาสนา แปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฏกจากภาษาจีน ทิเบต เกาหลี เป็นภาษาญี่ปุ่น มีการจัดตั้งองค์กรทางพระพุทธศาสนา เพื่อการเผยแผ่และสืบต่อพระพุทธศาสนากับประเทศต่าง ๆ มีการก่อตั้งคณะพุทธศาสน์ขึ้นในมหาวิทยาลัย ตลอดจนจัดการเรียนการสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นการเฉพาะอีกด้วย
ภาพตัวอย่างของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน
(แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น)
(แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น