วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การเผยแผ่และการพระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป (อังกฤษ - เยอรมัน)

วิชาพระพุทธศาสนา ม.๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
เรื่องที่ ๕.การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป
ประเทศอังกฤษ และประเทศเยอรมันนี

๒.๒ การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป

กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป
ทวีปยุโรปบนแผนที่โลก

พระพุทธศาสนาได้เริ่มแผ่ขยายเข้าไปในทวีปยุโรป เมื่อประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชียที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เขมร และบางส่วนของประเทศจีน ตกอยู่ภายใต้การปกครองของหลายประเทศจากยุโรป ความสนใจของชาวยุโรปที่มีต่อพระพุทธศาสนา สืบเนื่องจากได้พบเห็นประชาชนชาวพื้นเมืองซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา มีหลักปฏิบัติตนเพื่อความไม่เบียดเบียนและใฝ่สันติ

ภาพตัวอย่าง
ของประเทศเพื่อนบ้านที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของชาติในทวีปยุโรปในอดีต

ภาพตัวอย่าง
ของวิถีชีวิตชาวพุทธชาวเอเชียในอดีต


ด้วยความสนใจในบุคลิกภาพและวิถีชีวิตของคนเอเชีย ชาวยุโรปจึงสนใจและหันมาศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฏกที่เป็นทั้งภูมิปัญญาและภูมิธรรมของชาวเอเชีย และสิ่งที่เป็นข้อค้นพบของชาวยุโรป คือ ความลุ่มลึกของหลักคำสอนที่มีเหตุมีผลสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ อันเป็นมูลฐานความเชื่อของคนตะวันตก จึงเกิดการศึกษาและถ่ายทอดหลักธรรมในหมู่ชาวยุโรปด้วยกัน 

ภาพตัวอย่าง
หลักการทางวิทยาศาสตร์ กับกระบวนการของพระพุทธศาสนา
มีความคล้ายคลึงและสอดคล้องกัน


สาเหตุแห่งความประทับใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาของชาวยุโรปมีดังนี้

๑.การให้อิสระแก่ผู้ศึกษาและนับถือ ชาวยุโรปและชาวตะวันตกโดยทั่วไปมีความเชื่อในหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ไม่บังคับให้ผู้ศึกษาหลักคำสอนเชื่อในทันทีทันใดของพระพุทธเจ้า จนกว่าจะได้ตรวจสอบพิจารณา และลงมือปฏิบัติแล้วได้ผลจริงตามที่ทรงสอนแล้วจึงเชื่อ ทำให้ชาวยุโรปประทับใจมาก

ค่าของอิสรภาพอยู่ที่การเลือกจะเป็น
อิสระนั้นอยู่ที่ใจ
เมื่อคุณมาถึงจุดที่คุณไม่ยึดติดกับใคร
อิสรภาพของคุณจะเริ่มต้นขึ้น

ตัวอย่างคำสอนที่แสดงออกถึงอิสระและภาพในรูปแบบภาษาอังกฤษ


๒.ความเป็นศาสนาแห่งเสรีภาพและเมตตาธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่งเสริมให้ประชาคมโลกมีความรัก ความเมตตา กรุณาต่อกัน ไม่ข่มเหงรังแกเบียดเบียนทำนร้ายกัน รวมทั้งส่งเสริมเสรีภาพ ภารดรภาพ และความเสมอภาค

ความเมตตา เริ่มต้นด้วยความเข้าใจว่าเราทุกคนต่างก็ดิ้นรนต่อสู้

ความเมตตาทำให้คุณเป็นคนที่สวยที่สุดในโลก
ไม่ว่าหน้าตาคุณจะดูเป็นอย่างไร

ตัวอย่างคำสอนที่แสดงถึงเมตตาธรรม


ฝนย่อมตกลงสู่คนชอบธรรมและคนอธรรมเช่นเดียวกัน
จงอย่าให้ใจแบกรับภาระในการตัดสิน 
แต่จงหลั่งน้ำใจอย่างเท่าเทียมกัน

อย่าเชื่อว่าคุณสูงหรือต่ำ ให้รักษาใจที่ถ่อมตน

ตัวอย่างคำสอนที่แสดงถึงความเท่าเทียมกัน


ด้วยหลักการของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ทำให้ชาวยุโรปสนใจการศึกษาพระพุทธศาสนา และประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นพร้อม ๆ กับการแผ่ขยายของพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับจนถึงปัจจุบันนี้

๑) ประเทศอังกฤษ หรือ สหราชอาณาจักร (United Kingdom)


ธงชาติสหราชอาณาจักร (United Kingdom)

สหราชอาณาจักรบนแผนที่โลก

แผนที่สหราชอาณาจักร
เมืองหลวงของสหราชอาณาจักร

Big Ben and the Houses of Parliament on the banks of the River Thames

Oxford University


Stonehenge

Golden Gate Bridge

Tower Bridge

ภาพตัวอย่างสถานที่ต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๙๓ เมื่อ นายสเปนเซอร์ อาร์ดี ได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อ ศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ ออกเผยแพร่ แต่ก็ไม่มีผู้สนใจมากนัก จนในปี พ.ศ.๒๔๒๒ งานเขียนของท่านเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ชื่อ ประทีปแห่งเอเชีย ได้รับการพิมพ์เผยแพร่สู่สายตาชาวอังกฤษ และได้รับความสนใจจากชาวอังกฤษอย่างกว้างขวาง 

 

ตัวอย่างหนังสือ ประทีปแห่งเอเชีย (The Light of Asia)

ส่งผลให้ชาวอังกฤษหันมาให้ความสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ และร่วมกันก่อตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๒๔ โดยการนำของศาสตราจารย์ ทีดับเบิลยูริส เดวิดส์ เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับภาษาอังกฤษออกเผยแพร่ 

Thomas William Rhys Davids
12 May 1843 – 27 December 1922

ตัวอย่างผลงานของ ศาสตราจารย์โทมัส วิลเลียม ริส เดวิด

นอกจากนั้นแล้วยังมี
พุทธสมาคมระหว่างชาติของเมียนมา สาขาลอนดอน ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ พระพุทธศาสนา 
พุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตนและไอร์แลนด์ ออกวารสารชื่อ พุทธศาสน์ปริทัศน์ 
มหาโพธิสมาคมของศรีลังกา สาขาลอนดอน ออกวารสารชื่อ ชาวพุทธอังกฤษและธรรมจักร เป็นต้น

Journal of Buddhist Studies
ภาพตัวอย่างวารสารพุทธศาสน์ปริทัศน์ (แต่เป็นของ U.S.)

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษอาศัยองค์กรทางพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมการเผยแผ่ แม้แต่ละองค์กรจะนับถือพระพุทธศาสนาต่างนิกายกัน แต่ก็ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง จนเกิดวิหารและวัดทางพระพุทธศาสนาขึ้นในอังกฤษเป็นจำนวนมาก เช่น 

พุทธวิหารลอนดอนของประเทศศรีลังกา วัดของชาวทิเบต เป็นต้น 

ส่วนวัดไทย เช่น วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 

วัดพุทธาราม กรุงลอนดอน 

วัดสันติวงศาราม (ชื่อเดิม วัดสังฆทาน) เมืองเบอร์มิงแฮม 

วัดศรีรัตนาราม เมืองแมนเชสเตอร์ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป สถานการณ์การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษยังดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะได้มีชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาอุปสมบทในประเทศไทย และกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมาตุภูมิหลายรูป ทำให้ปัจจุบัน มีชาวอังกฤษประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้น



๒) ประเทศเยอรมันนี (Germany)

ธงชาติประเทศเยอรมันนี

ตำแหน่งของประเทศเยอรมันนีในแผนที่โลก

แผนที่ประเทศเยอรมันนี

ปราสาทนอยชวานชไตน์ มิวนิค (Neuschwansten Castle)

กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall)

อนุสรณ์สถานอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein Memorial)

วิหารเซนต์ ลอเรนซ์ (St. Lorenz kirche)

ภาพตัวอย่างสถานที่ในประเทศเยอรมันนี

พระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายและเข้าไปสู่ประเทศเยอรมันนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก โดยในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ชาวพุทธกลุ่มแรกนำโดย ดร.คาร์ล ไชเกนสติคเกอร์ ได้ก่อตั้งพุทธสมาคมเยอรมันขึ้นที่เมืองไลพ์ซิก เพื่อเป็นการส่งเสริมการเผยแผ่การศึกษา และการดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา 
Karl Bernhard Seidenstücker (1876-1936)

ต่อมาพระพุทธศาสนาเสื่อมลงในยุคที่ลิทธินาซีเรืองอำนาจ

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย 
หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันหรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี

ระบอบชาติสังคมนิยม (Nationalsozialismus) หรือนิยมเรียกอย่างย่อว่า นาซี (Nazi)
เป็นอุดมการณ์และจุดยืนของพรรคชาติสังคมนิยมเยอรมันและไรช์ที่สาม
จัดเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองประเภทเดียวกับฟาสซิสต์หากมีปัจจัยของลัทธิเชื้อชาติในเชิงวิทยาศาสตร์และลัทธิความเป็นอคติต่อชาวเซมิติคเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งในประเทศเยอรมันนีตะวันตก โดยอาศัยกลุ่มเอกชนซึ่งศรัทธาเลื่อมใสในพระสงฆ์ ร่วมมือกันกับพระสงฆ์จากญี่ปุ่น ไทย ศรีลังกา และทิเบต จัดทำสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารและจุลสารออกเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนา 


หนังสือที่ได้รับความนิยมพิมพ์เผยแผ่ถึง ๖ ชั่วอายุคน คือ หนังสือพุทธวจนะ ซึ่งเรียบเรียงจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน โดย พระญาณดิลกภิกขุ พระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรก ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ซ้ำ และแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย นอกจากนั้น ยังจัดกิจกรรมอภิปราย สนทนาธรรมและปาฐกถาธรรมขึ้นเป็นประจำ

หนังสือพุทธวจนะ

พระญาณดิลกภิกขุ (
Nyanatiloka Mahathera)
พระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรก

กิจกรรมอภิปราย สนทนาธรรมและปาฐกถาธรรมของชาวเยอรมัน

เมื่อมีการรวมเยอรมันนีตะวันตก และตะวันออกเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ก็พอจะคาดเดาได้ว่า จะมีชาวเยอรมันประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะกระจายอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น ฮัมบูร์ก เบอร์ลิน สตุทท์การ์ท มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต เป็นต้น

ชาวเยอรมันที่ประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้น

วัดไทยในเยอรมันนี เช่น 


วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน


วัดพุทธบารมี เมืองฮัมบูร์ก 


วัดป่าอนาลโย เมืองดอร์ทมุนด์ เป็นต้น

แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมันนีว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น