วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

การเผยแผ่และการพระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย และแอฟริกา

วิชาพระพุทธศาสนา ม.๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
เรื่องที่ ๗.การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย และทวีปแอฟริกา

๒.๓ การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาเหนือ

ตำแหน่งของทวีปอเมริกาเหนือบนแผนที่โลก

ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีชาวเอเชียอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากชาวเอเชียมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน จึงนำเอาธรรมเนียมปฏิบัติของตนเองไปประพฤติปฏิบัติด้วย โดยในระยะเริ่มต้น เป็นการปฏิบัติเฉพาะกลุ่มของตน และขยายวงกว้างออกไปในกลุ่มประชาชนของประเทศนั้น ๆ ในที่สุด

ชาวเอเชียที่อพยพสู่ทวีปอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒


พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาเหนือได้เจริญรุ่งเรื่องในประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา 
โดยชาวพุทธญี่ปุ่นได้สร้างวัดของพระพุทธศาสนานิกายสุขาวดีที่ซาน ฟรานซิสโก (San Francisco) ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ 
มีการก่อตั้งสมาคมพุทธศาสนาแห่งอเมริกาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ 
และสมาคมสหายพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ.๒๔๘๕ 
โดยสมาคมเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ การปฏิบัติธรรม และการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนิกชนชาวอเมริกา

วัดญี่ปุ่นในซาน ฟรานซิสโก

สมาคมพุทธศาสนาแห่งอเมริกา (American Buddhist Association) 
International Buddhist Association of America


จากความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาของประชาชนชาวอเมริกัน และชาวแคนาดา ได้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาในเชิงวิชาการ โดยการเปิดหลักสูตรพุทธศาสน์ขึ้นในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ในปี พ.ศ.๒๕๐๕  และมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพุทธรรมขึ้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเปิดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (Wisconsin university)

มหาวิทยาลัยธรรมะ (Dhamma College) เมืองเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย

วัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น วัดไทยลอสแองเจิลลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และในประเทศแคนาดา เช่น วัดราชธรรมวิริยาราม เมืองออตตาวา เป็นต้น โดยพระสงฆ์ไทยได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ เผยแผ่หลักคำสอน และเป็นผู้นำการปฏิบัติธรรมในนามพระธรรมฑูตแห่งคณะสงฆ์ไทย ตลอดจนปลูกสร้างความศรัทธา และความเลื่อมใสแก่ประชาชนชาวอเมริกัน นับได้ว่าการแผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกามีความเจริญก้าวหน้ามาก

วัดไทยลอสแองเจิลลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย 

ราชธรรมวิริยาราม เมืองออตตาวา แคนาดา


๒.๔ การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาใต้

ตำแหน่งของทวีปอเมริกาใต้บนแผนที่โลก

ประเทศในทวีปอเมริกาใต้


การนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนมากเป็นการนับถือของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจากทวีปเอเชียไปทำมาหากินในประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะชาวจีน ชาวเกาหลี ชาวญี่ปุ่น ถือเป็นคนกลุ่มแรกที่นำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยมากกระจายกันอยู่ในเมืองเซา เปาลู (Sai Paulo) และริโอ เด จาเนโร (Rio de Janeiro) ประเทศบราซิล พุทธศาสนิกชนเหล่านี้ ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรทางพระพุทธศาสนา แต่ถึงอย่างไรก็ตตาม การนับถือพระพุทธศาสนายังจำกัดเฉพาะชาวเอเชียเท่านั้น ส่วนชาวพื้นเมืองแม้มีศรัทธานับถืออยู่บ้าง แต่ก็มีจำนวนน้อย


เมืองเซา เปาลู (Sao Paulo)

เมืองริโอ เด จาเนโร (Rio de Janeiro)

The Zu Lai Temple in São Paulo state is the largest Buddhist temple in Latin America

Busshinji, Sōtō Zen Buddhist temple in Liberdade, São Paulo, is the headquarters for the school's mission in South America


๒.๕ การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลีย

ตำแหน่งของทวีปออสเตรเลียบนแผนที่โลก

ประเทศในทวีปออสเตรเลีย


๑) ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระศาสนธชะ (มร.อี.สตีเวนสัน) พระภิกษุชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับอุปสมบทที่ประเทศพม่า ได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลีย โดยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่าน เป็นการแนะนำให้ชาวออสเตรเลียได้รู้จักพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาที่เน้นการพัฒนาจิตใจ ความเคลื่อนไหวของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลียเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ในรัฐควีนส์แลนด์ นิวเซาท์เวลส์ วิกตอเรีย และได้มีการก่อตั้งองค์กรทางพระพุทธศาสนาขึ้นอีกหลายแห่ง จนได้รวมกันเป็นสหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลีย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงแคนเบอร์รา

พุทธสมาคม (Buddhist Association) ในออสเตรเลีย 

สหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลีย

ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลียยังดำเนินไปได้ด้วยดี และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น วัดไทยในออสเตรเลีย เช่น วัดพุทธรังษี เมืองซิดนีย์ วัดธรรมรังสี เมืองเมลเบิร์น เป็นต้น

วัดพุทธรังษี เมืองซิดนีย์

วัดธรรมรังสี เมืองเมลเบิร์น


๒) ประเทศนิวซีแลนด์ ปัจจุบันแม้ว่าสถานการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศนิวซีแลนด์จะยังไม่รุ่งเรืองเหมือนในออสเตรเลียก็ตาม แต่มีแนวโน้มที่ดีในอนาคต การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินการโดยพระสงฆ์ชาวอังกฤษ ทิเบต ญี่ปุ่น และไทย โดยความสนับสนุนของพุทธสมาคมแห่งเมืองโอกแลนด์

ตัวอย่างกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในนิวซีแลนด์

วัดพุทธสามัคคี นิวซีแลนด์

ปัจจุบันแม้จะมีจำนวนผู้นับถือพระพุทธศาสนาไม่มากนัก จำกัดอยู่เฉพาะเมืองใหญ่ เช่น เวลลิงตัน ไครสต์เชิร์ช คูเนดิน โอตาโก เป็นต้น แต่โอกาสในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เปิดกว้างมากขึ้น วัดไทยในนิวซีแลนด์ เช่น วัดญาณประทีป เมืองโอกแลนด์ เป็นต้น

วัดญาณประทีป เมืองโอกแลนด์

โดยภาพรวม การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลียปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปมากพอควร ประชาชนหันมาสนใจศึกษา และปฏิบัติตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น มีการให้ความอุปถัมภ์บำรุงวัด และพระสงฆ์ รวมทั้งมีจำนวนวัดของพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น

๒.๖ การเผยแผ่และนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปแอฟริกา


ตำแหน่งของทวีปแอฟริกาบนแผนที่โลก

ประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ทวีปแอฟริกาที่พอจะปรากฏเป็นหลักฐานบ้าง คือ ประเทศอียิปต์ และประเทศเคนยา ซึ่งเป็นการเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างไม่เป็นทางการ

ในประเทศอียิปต์ พระพุทธศาสนาเข้าไปพร้อมกับชาวญี่ปุ่น เกาหลี ไทย ศรีลังกา อินเดีย ซึ่งเดินทางไปศึกษา ทำงาน และท่องเที่ยว โดยชาวพุทธเหล่านี้ได้ถ่ายทอดพระพุทธศาสนาผ่านชาวอียิปต์รุ่นใหม่ ซึ่งไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมมากนัก และพร้อมที่จะรับแนวคิดใหม่แบบพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงไคโร และเมืองอะเล็กซานเดรีย


กรุงไคโร ประเทศอียิปต์

เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์

ในประเทศเคนยา อาจกล่าวได้ว่าชาวเคนยารู้จักพระพุทธศาสนาผ่านชาวพุทธอินเดียและศรีลังกา ที่เดินทางไปทำงานในไร่การเกษตรของชาวอังกฤษในเคนยา ภายหลังการประชุมศาสนาสันติภาพโลกที่นครไนโรบี เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๗ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเคนยาเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีความพยายามก่อตั้งชมรมชาวพุทธขึ้นในเคนยา และมีการนิมต์พระสงฆ์จากจีน ญี่ปุ่น ไทย เดินทางไปแลกเปลี่ยนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาบ้างในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็ยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและท่าทีของชาวพื้นเมืองที่มีต่อบุคคลต่างศาสนายังไม่เปิดกว้าง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังและมีข้อจำกัด

ภาพตัวอย่างพระพุทธศาสนาในประเทศเคนยา


พระพุทธศาสนาในทวีปแอฟริกา ยังไม่มีความเจริญก้าวหน้ามากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการนับถือและการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของกลุ่มชาวพุทธต่างถิ่น ที่เข้าไปอาศันในประเทศเหล่านั้น โดยอาศัยสถานฑูตของประเทศตนเองเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม

ภาพตัวอย่างพระพุทธศาสนาในประเทศเคนยา

จึงกล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี ที่พระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดและเผยแผ่ไปสู่ดินแดนต่าง ๆ ได้มีส่วนในการสร้างสรรค์อารยธรรมที่ดีงามให้แก่โลก ตลอดจนสร้างความสงบสุขได้อย่างมากมาย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น