วิชาพระพุทธศาสนา ม.๓หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่องที่ ๓ ชาดก
ชาดกมี ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นคาถาชาดกและบทร้อยกรองล้วน ๆ แสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีในชาติต่าง ๆ จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ไม่มีเนื้อเรื่องและตัวละคร กับอีกส่วนหนึ่งที่อรรถกถาชาดก ที่พระอรรถกถาจารย์เล่าเรื่องราวประกอบ และมีตัวละครร ดังที่เราทราบกันในนามว่า "นิทานชาดก" นั่นเอง
นิทานชาดกให้คติธรรม แง่คิดในการดำเนินชีวิตมากมาย จึงควรที่นักเรียนและผู้สนใจศึกษา พึงอ่านเพื่อนำหลักธรรมของพระโพธิสัตว์มาใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับในชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ นี้ กำหนดให้ศึกษานันทวิศาลชาดก และสุวรรณหังสชาดก
นันทิวิศาลชาดก
พระสงฆ์ใคร่อยากทราบเรื่องราวในอดีตนั้น ได้กราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดง พระพุทธเจ้าจึงตรัสชาดกเรื่อง โคนันทิวิสาล ซึ่งเรื่องมีดังต่อไปนี้...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วเมื่อครั้งพระเจ้าคันธาระครองราชย์สมบัติอยู่ในกรุงตักสิลา แคว้นคันธาระในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นโค ชื่อว่า นันทิวิสาล อาศัยอยู่ในบ้านพราหมณ์คนหนึ่ง พราหมณ์คนนี้รักโคนันทิวิสาลมาก เลี้ยงดูและเอาใจใส่เป็นอย่างดีราวกับลูก
เมื่อเติบโตขึ้น โคนันทิวิสาลต้องการจะช่วยพราหมณ์ให้พ้นจากสภาพความยากจน เพราะสำนึกในบุญคุณของพราหมณ์ วันหนึ่งจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า พราหมณ์คนนี้ เลี้ยงดูเรามาแต่อ้อนแต่ออก เอาใจใส่ดูแลเรามาเป็นอย่างดี ทะนุถนอมเราปานประหนึ่งว่า ลูกของตัวเอง เราจะต้องตอบแทนพระคุณให้ได้
โคนันทิวิสาล เห็นว่าตนมีกำลังมหาศาล โคอื่นๆ ในชมพูทวีปที่จะมีเรี่ยวแรงเท่า ๆ กับตนไม่มี จึงกล่าวกับพราหมณ์ว่า พ่อพราหมณ์ ขอให้ท่านไปหาโควินทเศรษฐี แล้วพูดท้าพนันกับเขาว่าท่านเศรษฐี เรามีโควิเศษอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งมีพละกำลังมหาศาล สามารถลากเกวียน 100 เล่มที่ผูกติดกัน ทั้งบรรทุกกรวดและทรายเต็มทุกเล่ม ให้เคลื่อนที่ไปได้มาเดิมพันกันดีไหม ฝ่ายพราหมณ์เมื่อได้ฟังเช่นนั้นก็ดีใจมาก จึงไปท้าพนันกับโควินทเศรษฐี ซึ่งโควินทเศรษฐีก็ตอบรับคำท้าทันที โดยตกลงวางเดิมพันกันคนละ 1,000 กหาปณะ
เมื่อถึงวันกำหนดนัด พราหมณ์ขนกรวดและทรายบรรทุกใส่เต็มเกวียนทุกเล่ม จากนั้นเอาเชือกผูกเกวียนทุกเล่มเข้าด้วยกันให้โคนันทิวิสาลอาบน้ำ เจิมด้วยของหอม ประดับพวงมาลัยที่คอแล้วนำเข้าเทียบแอกเกวียนเล่มแรก ส่วนตนเองขึ้นนั่งบนทูบเกวียนเงื้อประตักขึ้นแล้วพูดด้วยเสียงอันดังว่า เฮ้ย เจ้าโคขี้โกง โคถ่อย โคงี่เง่า เจ้าจงลากเกวียนไปเดี๋ยวนี้เลย
โคนันทิวิสาลเมื่อได้ฟังคำพูดของพราหมณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า พราหมณ์เป็นอะไรไป ทำไมจึงพูดจาหยาบคาย มาเรียกเราว่าขี้โกง ถ่อย งี่เง่า ได้อย่างไร เราจะต้องสั่งสอนพราหมณ์ให้รู้สำนึกเสียบ้าง จึงยืนนิ่งไม่ขยับเขยื้อน แม้จะถูกพราหมณ์ทิ่มแทงด้วยประตักจนเลือดไหล
พราหมณ์แพ้พนันจนหมดตัว ปลดโค แล้วกลับไปนอนเศร้าโศกเสียใจอยู่ที่บ้าน ไม่ยอมกินข้าวกินปลา โคนันทิวิสาลเห็นเช่นนั้นก็รู้สึกสงสาร จึงเข้าไปปลอบจนหายเศร้าโศก แล้วพูดว่า ตั้งแต่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ในบ้านท่านมาตั้งแต่เล็ก จนกระทั่งโตเป็นหนุ่ม เคยทำอะไรเสียหายหรือไม่ หรือเคยทำอะไรขัดใจท่านบ้างหรือเปล่า
พราหมณ์ตอบว่า ไม่เคย โคนันทิวิสาลจึงพูดว่า แล้วทำไมท่านจึงเรียกข้าพเจ้าว่าเจ้าโคขี้โกง โคถ่อย โคงี่เง่า ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่ได้เป็นดังที่ท่านกล่าวเลย คราวนี้ขอให้ท่านไปแก้มือใหม่ โดยเพิ่มการเดิมพันเป็น 2 เท่า แต่มีข้อแม้ว่าท่านจะต้องพูดกับข้าพเจ้าให้เพราะๆ มิฉะนั้นท่านจะเสียใจยิ่งกว่าเก่า
พราหมณ์ทำตามที่นันทิวิสาลแนะนำ โดยไปหาโควินทเศรษฐี เพื่อขอแก้มือใหม่ ซึ่งท่านเศรษฐีก็ไม่ขัดข้อง เมื่อประชาชนทราบข่าวการพนันครั้งที่สองนี้ ต่างก็มาจากทุกสารทิศเพื่อมาเชียร์ในที่สุดวันที่รอคอยก็มาถึง พราหมณ์นำโคนันทิวิสาลเทียบเข้ากับเกวียนเล่มแรก ตัวเองก็ขึ้นไปนั่งบนทูบเกวียน เอามือลูบหลังโคนันทิวิสาลด้วยความเอ็นดู แล้วพูดด้วยเสียอันไพเราะอ่อนหวานจับใจว่า พ่อมหาจำเริญ ขอให้พ่อจงช่วยลากเกวียนไปด้วยนะ
พราหมณ์แพ้พนันจนหมดตัว ปลดโค แล้วกลับไปนอนเศร้าโศกเสียใจอยู่ที่บ้าน ไม่ยอมกินข้าวกินปลา โคนันทิวิสาลเห็นเช่นนั้นก็รู้สึกสงสาร จึงเข้าไปปลอบจนหายเศร้าโศก แล้วพูดว่า ตั้งแต่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ในบ้านท่านมาตั้งแต่เล็ก จนกระทั่งโตเป็นหนุ่ม เคยทำอะไรเสียหายหรือไม่ หรือเคยทำอะไรขัดใจท่านบ้างหรือเปล่า
พราหมณ์ตอบว่า ไม่เคย โคนันทิวิสาลจึงพูดว่า แล้วทำไมท่านจึงเรียกข้าพเจ้าว่าเจ้าโคขี้โกง โคถ่อย โคงี่เง่า ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่ได้เป็นดังที่ท่านกล่าวเลย คราวนี้ขอให้ท่านไปแก้มือใหม่ โดยเพิ่มการเดิมพันเป็น 2 เท่า แต่มีข้อแม้ว่าท่านจะต้องพูดกับข้าพเจ้าให้เพราะๆ มิฉะนั้นท่านจะเสียใจยิ่งกว่าเก่า
พราหมณ์ทำตามที่นันทิวิสาลแนะนำ โดยไปหาโควินทเศรษฐี เพื่อขอแก้มือใหม่ ซึ่งท่านเศรษฐีก็ไม่ขัดข้อง เมื่อประชาชนทราบข่าวการพนันครั้งที่สองนี้ ต่างก็มาจากทุกสารทิศเพื่อมาเชียร์ในที่สุดวันที่รอคอยก็มาถึง พราหมณ์นำโคนันทิวิสาลเทียบเข้ากับเกวียนเล่มแรก ตัวเองก็ขึ้นไปนั่งบนทูบเกวียน เอามือลูบหลังโคนันทิวิสาลด้วยความเอ็นดู แล้วพูดด้วยเสียอันไพเราะอ่อนหวานจับใจว่า พ่อมหาจำเริญ ขอให้พ่อจงช่วยลากเกวียนไปด้วยนะ
โคนันทิวิสาลได้ฟังถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวานแล้ว ก็เกิดพลังขึ้นมาอย่างมหาศาล ได้ลากเกวียนที่โยงพ่วงกันทั้ง 500 เล่มไปได้ ประชาชนที่มาชมการแข่งขันต่างส่งเสียงเชียร์ด้วยความสะใจ และได้ช่วยกันให้รางวัลแก่โคนันทิวิสาลมากมาย เป็นอันว่าโควินทเศรษฐีแพ้พนันและได้จ่ายเงิน 2,000 กหาปณะให้พราหมณ์ไป
พระพุทธเจ้าเมื่อเล่านันทิวิสาลชาดกจบแล้วได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายชื่อว่าคำหยาบ ไม่เป็นที่น่าพอใจของใครๆ แม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน
ชาดกเรื่องนี้มีสาระที่ให้ข้อคิดหรือคติเตือนใจ คือ
1. คนพูดคำหยาบ ย่อมทำให้ตนเดือดร้อน ดังนั้นไม่ควรพูดคำหยาบ เพราะคำหยาบไม่เป็นที่น่าพอใจของใครๆ
2. คนที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน ย่อมยังประโยชนให้สำเร็จ ดังนี้คนเราควรเปล่งวาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน เพราะวาจาที่ไพเราะอ่อนหวานเป็นที่น่าพอใจของใครๆ
ข้อคิดหรือคติเตือนใจดังกล่าวนี้ตรงกับพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เมื่อทรงเล่าเรื่องโคนันทิวิสาลจบว่า
"บุคคลควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในกาลไหน เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ โคนันทิวิสาลได้ลากเอาภาระหนักไปได้ ทั้งยังทำพราหมณ์ให้ได้ทรัพย์ด้วย ตนเองเป็นผู้ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย"
สุวรรณหังสขาดก
พระสงฆ์ใคร่อยากทราบเรื่องราวในอดีตนั้น ได้กราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดง พระพุทธเจ้าจึงตรัสชาดกเรื่อง หงส์ทอง ซึ่งมีเรื่องดังต่อไปนี้
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัตครองเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มก็ได้แต่งงานกับนางพราหมณี มีลูกสาว 3 คน คือ นันทา นันทวดี และสุนันทา พอลูกสาวทั้ง 3 เติบโตเป็นสาว แต่งงานอยู่กินกับสามีแล้ว พราหมณ์ก็ได้เสียชีวิตไปเกิดเป็นหงส์ทองคำมีญาณวิเศษสามารถระลึกชาติได้ว่า เมื่อก่อนนั้นเป็นพราหมณ์มีภรรยาและลูกสาว 3 คน
วันหนึ่ง ได้เห็นความลำบากของพราหมณีและลูกสาวของตนที่ต้องรับจ้างคนอื่นเลี้ยงชีพ จึงเกิดความสงสารได้โผบินไปจับที่บ้านของนางพราหมณี แล้วสลัดขนทองให้ร่วงลงหนึ่งขน หงส์ทองคำได้บินมาเป็นระยะ ๆ มาครั้งใดก็สลัขชนให้ทุกครั้ง ครั้งละหนึ่ง ทำให้นางพราหมณีและลูกสาวมีฐานะดีขึ้นและมีความสุขไปตาม ๆ กัน
อยู่มาวันหนึ่ง นางพราหมณีเกิดความโลภอยากได้ขนทองคำมากกว่าเดิม โดยคิดว่า สัตว์เดรัจฉานนั้นเข้าใจยาก ถ้าหงส์ทองคำไม่มามิอดตายหรอกหรือ จึงปรึกษากับลูก ๆ ว่า ถ้าหงส์มาครั้งนี้ เราจะจับถอนขนเสียให้หมด เพื่อจะได้นำไปขาย แต่ลูก ๆ ไม่เห็นดีด้วย นางพราหมณีก็ไม่สนใจ
ครั้นเมื่อหงส์ทองคำบินมา นางได้จับถอนขนเสียจนหมด แต่ขนเหล่านั้นกลับกลายเป็นขนนกธรรมดา เพราะหงส์ทองคำมิได้ให้ด้วยความสมัครใจ นางพราหมณีจึงจับหงส์ทองคำใส่ตุ่มเลี้ยงไว้ จนขนงอกขึ้นมาใหม่เต็มตัว เมื่อสบโอกาสหงส์ทองคำก็ได้บินหนีไปไม่กลับมาอีกเลย
ชาดกเรื่องนี้มีสาระที่ให้ข้อคิดหรือคติเตือนใจ คือ
1. บุคคลควรยินดีในสิ่งที่ตนมีในสิ่งที่ตนได้
2. บุคคลไม่ควรโลภเกินประมาณ เพราะโลภมาก มักลาภหาย
ข้อคิดหรือคติเตือนดังกล่าวนี้ ตรงกับพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เมื่อทรงเล่าเรื่องหงส์ทองคำจบว่า
"บุคคลได้สิ่งใดควรยินดีสิ่งนั้น เพราะความโลภเกินประมาณเป็นความชั่วแท้ นางพราหมณีจับเอาพญาหงส์ทองจึงเสื่อมจากทองคำ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น