วิชาพระพุทธศาสนา ม.๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒
พุทธสาวก พุทธสาวิกา ศาสนิกชนตัวอย่าง
พระเจ้าปเสนทิโกศล
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
และศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักด์
๒.๔ พระเจ้าปเสนทิโกศล
๑) พระราชประวัติ
พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโกศล ผู้ครองเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล สมัยยังทรงพระเยาว์ได้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันกับเจ้าชายมหาลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี และพันธุละเสนาบดีแห่งนครกุสินารา เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ได้เสด็จกลับไปยังนครสาวัตถี และได้ครองราชสมบัติแทนพระราชบิดาต่อไป
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงนับถือนักบวชนอกพระพุทธศาสนามาก่อน สาเหตุที่ทรงหันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนานั้นมีเรื่องเล่ากันว่า วันหนึ่งขณะประทับยืนอยู่บนปราสาท พระองค์ทรงเห็นพระสงฆ์หลายพันรูปเดินไปฉันภัตตาหารที่บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีด้วยอาการสงบสำรวม จึงทรงรู้สึกเลื่อมใสอากัปกิริยาอันงดงามของพระสงฆ์ จึงมีพระราชประสงค์จะถวายภัตตาหาร จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลขออารารธนาให้พระพุทธองค์เสด็จไปเสวยพระกระยาหารในพระบรมมหาราชวังพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ แล้วทรงมอบพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า และทรงขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปเสวยพระกระยาหารเช่นนี้เป็นประจำด้วย แต่พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า "ในฐานะที่ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จะต้องสงเคราะห์ประชาชนทั่วหน้ากัน จะไม่เสวยภัตตาหารในที่เดียวกันตลอดไป" จึงทรงมอบภาระให้พระอานนท์พุทธอุปฐาก พาพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งไปฉันภัตตาหารเป็นประจำแทน
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความมั่นคงในพระรัตนตรัย และมีความเคารพต่อพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะอภิวาท หรือกราบแทบพระยุคลบาทพระพุทธองค์อย่างนอบน้อมจนพระพุทธองค์ทรงทักว่า พระองค์เป็นถึงราชามหากษัตริย์ไม่จำเป็นต้องแสดงความเคารพถึงขนาดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า "พระองค์ถวายความเคารพอย่างสูงเช่นนี้ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลก เป็นผู้ประดิษฐานมหาชนไว้ในกุศลธรรม" คือ ทรงสั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมอันดีงามยากที่คนอื่นจะทำได้
ทุกครั้งที่ทรงว่างจากพระราชภารกิจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าฟังธรรมและขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้าเสมอ จึงทรงคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี และทรงปรารถนาจะมีความคุ้นเคยทางสายเลือดกับพระพุทธองค์อีกด้วย จึงทรงขอพระราชธิดาของพระเจ้าศากยะมาเป็นมเหสีอีกองค์หนึ่ง
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระทัยใฝ่ในการบุญการกุศลอย่างยิ่ง ดังหลักฐานปรากฏว่า พระองค์ทรงทำทานแข่งกับประชาชน เมื่อประชาชนจำนวนมากร่วมมือร่วมใจกันถวายทานอันใหญ่โต พระองค์พ่ายแพ้ แต่ด้วยความช่วยเหลือจากพระนางมัลลิกาเทวีพระมเหสีได้ถวายคำแนะนำให้ทรงทำ "อสทิสทาน" จึงสามารถเอาชนะประชาชนได้
พระนางมัลลิกาเทวี
*ผู้ดำเนินการจัดอสทิสทาน คือ พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล โดยพระนางสั่งให้สร้างมณฑปให้พระภิกษุนั่งเป็นวงล้อม โดยใช้ไม้อย่างดีเป็นการสร้าง กลางมณฑปมีเรือทองคำ ๘-๑๐ ลำ ลอยอยู่ แล้วนิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูป นั่งภายในวงล้อม ขัดช้าง ๕๐๐ เชือก ยืนถือเศวตฉัตรเชือกละฉัตรกางกั้นภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น ระหว่างที่นั่งของภิกษุแต่ละรูป จะมีเจ้าหญิงนั่งบดของหอมอยู่ ในขณะที่เจ้าหญิงองค์อื่น ๆ ยืนถวายพัดแด่ภิกษุสงฆ์ สำหรับพระพุทธเจ้า พระนางมัลลิกาได้จัดของพิเศษถวายเพิ่มเติมอีก อาทิ เศวตฉัตร บัลลังก์ เชิงบาตร เป็นต้น วัสดุสิ่งของที่ใช้ในงานนี้ล้วนจัดทำขึ้นอย่างประณีตสวยงาม สิ้นพระราชทรัพย์ไปถึง ๑๔ โกฏิ*
พระเจ้าปเสนทิโกศลถูกการายนอำมาตย์ยึดพระนครขณะเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร พระองค์จึงทรงมอบราชสมบัติให้วิฑูภะพระราชกุมารครองราชสมบัติสืบแทน ส่วนพระองค์ก็เสด็จหนีไปยังเมืองราชคฤห์ เพื่อขอกำลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูมาช่วยปราบกบฏ แต่ไปไม่ทันเวลา ประตูเมืองปิดเสียก่อน ด้วยความเหน็ดเหนื่อยบอบช้ำพระวรกาย และด้วยความเสียพระราชหฤทัย พระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ ค่ำคืนนั้น ที่ข้างประตูเมืองราชคฤห์นั่นเอง
๒) คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
๒.๑) ทรงมั่นคงในพระรัตนตรัย หลังจากทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ดังทรงแสดงออกถึงความเคารพอย่างสูงต่อพระพุทธเจ้า และดูแลความเป็นอยู่ของพระสงฆ์อย่างดีตลอดรัชกาลของพระองค์
๒.๒) ทรงรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง มีหลายครั้งที่พระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาถูกลัทธิตรงข้ามผู้ไม่ปรารถนาดีใส่ร้ายป้ายสีให้มัวหมองเสื่อมเสีย พระองค์จะไม่ทรงเฉยเมย แต่จะทรงเอาพระทัยใส่ช่วยขจัดปัดเป่าให้หมดสิ้นไปในฐานะที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ดังกรณีที่พวกนิครนถ์ ได้ฆ่านางสุนทรีสาวิกาของตนเอง แล้วนำศพไปทิ้งไว้ใกล้พระเชตวัน จากนั้นก็ปล่อยข่าวว่าสาวิกาของพวกตนถูกพระสาวกของพระพุทธเจ้าฆ่าตาย พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่เชื่อ กลับรับสั่งให้สอบสวนจนถึงต้นตอ จึงได้ความจริงว่าผู้ที่ฆ่านางคือพวกนิครนถ์นั่นเอง เพื่อใส่ร้ายป้ายสีให้พระพุทธศาสนามัวหมอง และดังกรณีที่นิครนถ์จ้างโจรไปฆ่าพระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเอาเป็นภาระรับสั่งให้สืบสวนจนได้ตัวการที่แท้จริง เป็นต้น
๒.๓) ทรงมีพระทัยกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น พระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยนั้น มักไม่ค่อยมีใครกล้าตักเตือน หรือมักไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงมีทิฐิมานะเช่นนั้น แต่กลับยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น แม้ผู้นั้นจะอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าพระองค์ก็ตาม ดังทรงรับฟังคำแนะนำของพระนางมัลลิกาเทวีที่ถวายคำแนะนำให้ทรงเห็นโทษในการฆ่าสัตว์บูชายัญ และให้ทรงทำอสทิสทานแข่งกับประชาชน หรือกระทำตามข้อเสนอแนะของฉัตตปาณิอุบาสกในการเสด็จไปทูลขอพระสาวกของพระพุทธเจ้ามาช่วยสั่งสอนธรรมให้แก่พระมเหสี เป็นต้น
๒.๔) ทรงยอมรับความคิดเห็นและพร้อมที่จะแก้ไข คุณสมบัติข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อที่ ๒.๓) เมื่อตนทำผิดและมีคนอื่นแนะนำ ก็ยอมรับในความผิดพลาดพร้อมจะแก้ไข ข้อนี้ปรากฏชัดเจน คือ เมื่อครั้งที่พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งให้สังหารพันธุละเสนาบดีพร้อมทั้งบุตร ๓๒ คน เพราะทรงหลงเชื่อคำยุยงว่าพันธุละเสนาบดีคิดจะก่อการกบฏยึดราชสมบัติ เมื่อความจริงปรากฏว่าพันธุละเสนาบดีบริสุทธ์ พระองค์ก็เสด็จไปทรงขอขมาต่อพระนางมัลลิกาผู้เป็นภริยาของพันธุละเสนาบดี
๓.ศาสนิกชนตัวอย่าง
๓.๑ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
๑.) พระประวัติ
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิษกุล เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเฉื่อย ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๓๘
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นผู้มีความสนพระทัยในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงมีความรู้ในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทรงศึกษาภาษาบาลีจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งเป็นพระเถระที่พระบิดาทรงเคารพเลื่อมใสมากรูปหนึ่ง ด้วยความเป็นผู้คงแก่เรียนในพระพุทธศาสนา พระองค์จึงทรงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศ และต่างประเทศอยู่เสมอ ทรงรับเป็นที่ปรึกษาของชมรมพุทธศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเสด็จไปประทานความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ทรงเป็นที่ปรึกกษาของชมรมพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับได้ทรงแสดงปาฐกถาตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ได้รับความชื่นชมจากประชาชนทั่วไปว่าทรงเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
พระกรณียกิจของพระองค์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย แบ่งได้ ๒ ประเภท ดังนี้
๑.๑) งานด้านบริหาร ทรงเป็นกรรมการบริหารและอุปนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลายสมัย และเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ ทรงเป็นรองประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ต่อมาในการประชุมครั้งที่ ๗ ขององค์การ พ.ส.ล. ซึ่งเริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร แล้วไปประชุมต่อจนจบที่เมืองสารนาถ ประเทศอินเดียนั้น ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ทรงดำรงตำแหน่งประธานองค์การ พ.ส.ล. กับให้ความเห็นชอบให้สำนักงานใหญ่และสำนักงานเลขานุการขององค์การ ย้ายมาตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงดำรงตำแหน่งประธานองค์การ พ.ส.ล. ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๑ ปี จนถึง พ.ศ.๒๕๒๗ ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักด์ขององค์การ พ.ส.ล. ขณะทรงเป็นประธาน หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล ได้เสด็จไปประกอบพระกรณียกิจทางด้านพระพุทธศาสนาตามสถาบันต่าง ๆ ของนานาประเทศ ทรงได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักด์ทางปรัชญาจากมหาวิทยาลัยดองกุ๊ก กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐
ได้ทรงบรรยายวิชาการพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๑ ปี และทรงได้รับเลือกเป็นกรรมการหนึ่งในเก้าท่านของมูลนิธิเทมเบิลตัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสรางความเข้าใจระหว่างศาสนาทุกศาสนาในโลก มีสำนักงานอยู๋ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา
๑.๒) งานเขียน หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงมีความสามารถในการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก ทรงนิพนธ์หนังสือ "ศาสนคุณ" อันเป็นหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก ได้รับพระราชทานรางวัลที่ ๑ ในการประกวดหนังสือจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังทรงนิพนธ์บทความและหนังสืออีกเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัยด้วยพระโรคชรา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๓ รวมพระชันษาได้ ๙๕ ปี
๒) คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
๒.๑) ทรงเป็นอุบาสิกาที่เคร่งครัด เนื่องจากพระองค์มีความสนพระทัยในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงทรงมีความเชื่อมั่นในหลักการของพระพุทธศาสนา และมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ทรงมีความเห็นว่า สตรีนับเป็นหนึ่งในพุทธบริษัทสี่ ควรมีหน้าที่ในการศึกษาปฏิบัติธรรมและค้ำจุนพระพุทธศาสนาได้ไม่แพ้พระสงฆ์ พระองค์จึงสนับสนุนให้สตรีได้มีโอกาสศึกษาธรรม ช่วยกันรักษาพระศาสนาและพระสงฆ์
๒.๒) ทรงเป็นพหูสูต เนื่องจากทรงศึกษาพระพุทธศาสนาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงทรงมีความแตกฉานในพุทธธรรมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเห็นว่าผู้ที่จะรู้พระพุทธศาสนาดี ต้องเรียนภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฏกด้วย จึงทรงศึกษาภาษาบาลีอย่างจริงจังจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเทพสิรินทราวาส มีความรู้ไม่แพ้พระภิกษุสามเณรเปรียญ เพราะทรงมีพื้นฐานทางภาษาบาลีนี้เอง จึงทำให้พระองค์ได้ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาได้แตกฉาน และทรงนิพนธ์หนังสือธรรมะได้ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะหนังสือชื่อ "ศาสนคุณ" ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลที่ ๑ จากพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ ๗ และได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่ในพระราชพิธีวิสาขบูชา พ.ศ.๒๔๗๒
*พหูสูต แปลว่า ผู้มีความรู้เพราะได้ฟัง หรือศึกษาเล่าเรียนมามาก, ปราชญ์, ผู้รู้.*
๒.๓) ทรงเป็นแบบอย่างของพลเมืองดี พลเมืองดีมิใช่เพียงแต่ปฏิบัติตามกฏหมายบ้านเมือง เสียภาษีถูกต้องเท่านั้น พลเมืองดีจะต้องจงรักภักดีและพิทักษ์สมบัติล้ำค่าของชาติอีกด้วย เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ ผลงานพระนิพนธ์ทางวิชาการต่าง ๆ ของพระบิดา มีชาวต่างชาติเสนอขอซื้อไปด้วยราคาสูงมาก แต่ทางราชสกุลดิศกุลต้องการมอบหนังสือเกล่านั้นให้รัฐบาล เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติ ให้ประชาชนได้ศึกษา รัฐบาลสมัยนั้นอันมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้รับและสร้างอาคารหอสมุดหลังหนึ่งขึ้นเรียกว่า "หอดำรง" ซึ่งเป็นที่เก็บเอกสารหลักฐานทางศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และเปิดโอกาสให้นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนชาวต่างชาติได้ศึกษาต่อไป
๑) ประวัติ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๐ เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี ศรีสัตยาวัตตาพิริยพาหะ (ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ และได้สมรสกับท่านผู้หญิงพงา เพ็ญชาติ มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ นายชาติศักดิ์ กับนายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์
๑.๑) ชีวิตการศึกษา นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ขณะที่อายุได้ ๑๑ ปี บิดาก็เสียชีวิตลง ทำให้ชีวิตที่ราบเรียบสุขสบายเปลี่ยนไป ได้รับความยากลำบาก เพราะขาดหัวหน้าครอบครัว ระหว่างนี้ก็ได้มีพระยาอรรถกฤตินิรุตติ์ (ชม เพ็ญชาติ) เข้ามาให้ความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ในทุก ๆ ด้าน
เมื่อท่านเรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัญ คุณหญิงชื้น ผู้เป็นมารดา ก็นำไปฝากฝังไว้กับเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรม (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์) ผู้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ท่านจึงได้ทำงานเป็นนักเรียนล่ามประจำกระทรวง และได้เข้าเรียนวิชากฏหมาย กระทรวงยุติธรรม ระหว่างนั้นก็ได้อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตร และได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบไล่นักธรรมตรีได้ที่ ๑
หลังจากสำเร็จจากศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย จากโรงเรียนกฏหมาย กระทรวงยุติธรรม ท่านก็ได้สอบชิงทุน "รพีบุญนิธิ" ไปศึกษาวิชากฏหมายที่สำนักกฏหมาย The Middle Temple ประเทศอังกฤษ ตามหลักสูตร ๓ ปี แต่ท่านใช้เวลาศึกษาเพียง ๒ ปี ๓ เดือน ก็สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
๑.๒) ชีวิตการทำงาน หลังจากสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ นายสัญญาได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรม ในตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด จากนั้นก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ ข้าหลวงยุติธรรมภาค ๔ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ และประทานศาลฎีกา ตามลำดับ
ขณะที่ท่านรับราชการอยู่ในกระทรวงยุติธรรม นอกจากท่านจะใช้วิชาความรู้ทางด้านกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองแล้ว บทบาทที่เด่นชัดอีกด้านหนึ่งก็คือ บทบาททางด้านศาสนา โดยได้ร่วมก่อตั้ง "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างข้อบังคับของพุทธสมาคม จนได้จดทะเบียนตั้งเป็นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
พ.ศ.๒๕๑๑ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะที่ดำรงตำแหน่งได้พัฒนามหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อำนวยประโยชน์ทางการศึกษาไว้มากมาย
ในขณะที่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เกิดเหตุการณ์มหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) ทำให้จอมพลถนอม กิตติจขร ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบตร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยความประนีประนอม และได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๗ เพราะถูกกดดันจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้ในสิ่งที่กลุ่มของตนต้องการ และเปิดทางให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เลือกนายกรัฐมนตรีที่พึงพอใจ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้เลือกนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ได้บริหารราชการแผ่นดิน ก็ได้สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติอย่างมากมายเป็นอเนกอนันต์
รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ หลังจากมอบหมายงานให้กับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้ารัฐบาลชุดใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง
หลังจากพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีในวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘ จนถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลาฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
๒.๓) ทรงเป็นแบบอย่างของพลเมืองดี พลเมืองดีมิใช่เพียงแต่ปฏิบัติตามกฏหมายบ้านเมือง เสียภาษีถูกต้องเท่านั้น พลเมืองดีจะต้องจงรักภักดีและพิทักษ์สมบัติล้ำค่าของชาติอีกด้วย เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ ผลงานพระนิพนธ์ทางวิชาการต่าง ๆ ของพระบิดา มีชาวต่างชาติเสนอขอซื้อไปด้วยราคาสูงมาก แต่ทางราชสกุลดิศกุลต้องการมอบหนังสือเกล่านั้นให้รัฐบาล เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติ ให้ประชาชนได้ศึกษา รัฐบาลสมัยนั้นอันมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้รับและสร้างอาคารหอสมุดหลังหนึ่งขึ้นเรียกว่า "หอดำรง" ซึ่งเป็นที่เก็บเอกสารหลักฐานทางศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และเปิดโอกาสให้นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนชาวต่างชาติได้ศึกษาต่อไป
๓.๒) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
เมื่อท่านเรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัญ คุณหญิงชื้น ผู้เป็นมารดา ก็นำไปฝากฝังไว้กับเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรม (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์) ผู้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ท่านจึงได้ทำงานเป็นนักเรียนล่ามประจำกระทรวง และได้เข้าเรียนวิชากฏหมาย กระทรวงยุติธรรม ระหว่างนั้นก็ได้อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตร และได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบไล่นักธรรมตรีได้ที่ ๑
หลังจากสำเร็จจากศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย จากโรงเรียนกฏหมาย กระทรวงยุติธรรม ท่านก็ได้สอบชิงทุน "รพีบุญนิธิ" ไปศึกษาวิชากฏหมายที่สำนักกฏหมาย The Middle Temple ประเทศอังกฤษ ตามหลักสูตร ๓ ปี แต่ท่านใช้เวลาศึกษาเพียง ๒ ปี ๓ เดือน ก็สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
๑.๒) ชีวิตการทำงาน หลังจากสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ นายสัญญาได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรม ในตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด จากนั้นก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ ข้าหลวงยุติธรรมภาค ๔ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ และประทานศาลฎีกา ตามลำดับ
ขณะที่ท่านรับราชการอยู่ในกระทรวงยุติธรรม นอกจากท่านจะใช้วิชาความรู้ทางด้านกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองแล้ว บทบาทที่เด่นชัดอีกด้านหนึ่งก็คือ บทบาททางด้านศาสนา โดยได้ร่วมก่อตั้ง "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างข้อบังคับของพุทธสมาคม จนได้จดทะเบียนตั้งเป็นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖
พ.ศ.๒๕๑๑ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะที่ดำรงตำแหน่งได้พัฒนามหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อำนวยประโยชน์ทางการศึกษาไว้มากมาย
ในขณะที่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เกิดเหตุการณ์มหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) ทำให้จอมพลถนอม กิตติจขร ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบตร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยความประนีประนอม และได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๗ เพราะถูกกดดันจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้ในสิ่งที่กลุ่มของตนต้องการ และเปิดทางให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เลือกนายกรัฐมนตรีที่พึงพอใจ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้เลือกนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ได้บริหารราชการแผ่นดิน ก็ได้สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติอย่างมากมายเป็นอเนกอนันต์
รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ หลังจากมอบหมายงานให้กับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้ารัฐบาลชุดใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง
หลังจากพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีในวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘ จนถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลาฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
๑.๓) งานด้านพระศาสนา นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นผู้ที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และเป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกยาวนานถึง ๑๕ ปี ซึ่งท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่องค์การ พ.ส.ล เป็นอเนกประการ ทำให้องค์การเป็นปึกแผ่นมั่นคงและวัฒนาถาวร เป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้และศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอย่างสมบูรณ์ จนได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติชั้นที่ ๑ (WFB GRAND MERIT MEDAL) ในวาระฉลองครบรอบ ๔๐ ปี ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ในฐานะบุคคลผู้มีคุณูปการแก่องค์การพุทธศาสนา ท่ามกลางความชื่นชมยินดีของชาวพุทธทั่วโลก
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๔ ปี
๒) คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
๒.๑) เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ แม้จะเป็นลูกพระยา แต่เมื่อสิ้นบิดา ชีวิตก็ลำบาก มีแม่คนเดียวซึ่งก็ไม่มีสมบัติที่จะมาเกื้อหนุน มีพี่ชายคนโตเป็นข้าราชการกรมรถไฟ ซึ่งพอจะหวังเป็นที่พึ่งได้บ้าง แต่พี่ชายก็มาเสียชีวิตขณะท่านเรียนอยู่ต่างแดน โชคดีที่ครอบครัวคหบดีซึ่งเป็นศิษย์ของบิดาท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ สนับสนุนให้เรียนและเข้าทำงาน ต่อมาท่านได้ทุน "รพีบุญนิธิ" ไปศึกษาวิชากฏหมายยังประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นทุนที่เอาดอกผลจากมูลนิธิมาใช้ ท่านจึงได้เงินใช้จ่ายประจำเดือนน้อยกว่านักเรียนทุนอื่น ความจำกัดด้านทุนกลายเป็นแรงขับที่สำคัญทำให้ท่านใฝ่เรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อไม่ได้เที่ยวสนุกสนานเหมือนคนอื่นเพราะเงินไม่มี ก็เข้าห้องสมุดอ่านตำราด้วยความวิริยอุตสาหะจนสามารถสอบเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษได้ในเวลาเพียง ๒ ปี กับ ๓ เดือน ของหลักสูตร ๓ ปีเต็ม ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของท่านได้ติดตัวมาตลอด จนในภายหลังได้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบติธรรมอย่างเคร่งครัดคนหนึ่ง
๒.๒) เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ในช่วงที่ตกยากเพราะสิ้นบิดานั้น พระยาอรรถกฤตินิรุตต์ (ชม เพ็ญชาติ) ซึ่งเป็นศิษย์ของบิดาท่านได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้เรียนและให้เข้าทำงาน ท่านถือว่าชีวิตของท่านนอกจากแม่แล้ว ยังมีท่านผู้นี้เป็นผู้มีอุปการคุณ จึงมีความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างมาก เมื่อมีโอกาสสนองคุณท่านก็ยินดีทำเต็มความสามารถ
๒.๓) เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต อาจารย์สัญญาเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากท่านได้รับการหล่อหลอมโดยสายเลือดจากบิดาผู้เป็นนักกฎหมายที่มีความซื่อสัตย์ยุติธรรม ตลอดถึงแบบอย่างที่ได้จากผูหลักผู้ใหญ่ที่มีบุญคุณ เช่น พระยาอรรถกฤตินิรุติต์ผู้มีพระคุณ ทำให้ท่านเป็นผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรมยิ่งชีวิต เมื่อท่านเข้ารับราชการเกี่ยวกับกฎหมาย เป็นผู้พิพากษา ตุลาการ ก็ยึดมั่นในคุณธรรมจนปรากฏแก่สายตาของสังคม
๒.๔) เป็นผู้ใฝ่ธรรม ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้สัมผัสกับความร่มเย็นแห่งพระธรรม เมื่อลาสิกขาออกมาแล้วก็ใส่ใจศึกษาธรรมตลอดเวลา และได้ศึกษาธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุแห่งวัดสวนโมกขพลาราม นับเป็นผู้รู้ธรรมะลึกซึ้งและปฏิบัติได้ตามที่รู้ ท่านดำรงตำแหน่งนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ประธานองค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลกยาวนานถึง ๑๕ ปี และได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติชั้นที่ ๑ (WFB GRAND MERIT MEDAL) ในฐานะบุคคลผู้มีคุณูปการแก่องค์การพุทธศาสนา
๒.๕) เป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อาจารย์สัญญาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มิใช่จงรักภักดีเพียงในใจ แต่มีโอกาสได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อย่างใกล้ชิด ได้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีและประธานองคมนตรีโดยลำดับ เป็นเวลานานถึง ๓๐ ปี ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถทำงานสนองพระเดชพระคุณใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างถวายชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น