พุทธประวัติตอน ๑๒
เสด็จเยือนมาตุภูมิ โปรดพระพุทธบิดา โปรดพระนางพิมพาเทวี
พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา ทูลนิมนต์กลับพระนคร
ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา ณ พระนครกบิลพัสดุ์
เมื่อได้ทรงทราบพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ
ก็ทรงปิติโสมนัส ที่พระโอรสของพระองค์ได้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ
สมดังคำพยากรณ์ของ ท่านอาจารย์อสิตดาบสและพราหมณาจารย์ทั้ง 8 คน
ทรงตั้งพระทัยคอยเวลาอยู่ว่า เมื่อใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงจะเสด็จไปพระนครกบิลพัสดุ์
ครั้นไม่ได้ข่าววี่แววมาเลยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จ
ครั้นไม่ได้ข่าววี่แววมาเลยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จ
ก็ทรงร้อนพระทัยปรารถนาจะให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์
จึงทรงส่งอำมาตย์พร้อมด้วยบริวารคณะหนึ่ง
ให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังพระเวฬุวันวิหาร
กราบทูลอาราธนาให้เสด็จยังพระนครกบิลพัสดุ์
ครั้นอำมาตย์และบริวารคณะนั้นเดินทางจากพระนครกบิลพัสดุ์
ถึงพระนครราชคฤห์ อันมีระยะทาง 60 โยชน์
ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาที่พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่
ได้โอกาสฟังธรรมด้วย ครั้นฟังธรรมแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัตทั้งคณะ
ทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
ไม่ได้โอกาสที่จะกราบทูลความตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงบัญชามา
ครั้นล่วงมาหลายเวลา พระเจ้าสุทโธทนะเห็นอำมาตย์คณะนั้นหายไป
ครั้นล่วงมาหลายเวลา พระเจ้าสุทโธทนะเห็นอำมาตย์คณะนั้นหายไป
ก็ทรงส่งอำมาตย์ใหม่ออกติดตาม
และกราบทูลความประสงค์ของพระองค์ อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จ
แม้อำมาตย์ราชทูตคณะนี้ ก็ได้ฟังธรรมบรรลุมรรคผล และได้ อุปสมบทในพระศาสนา
เช่นอำมาตย์คณะนั้น พระเจ้าสุทโธทนะทรงส่งอำมาตย์ไปอารธนาไม่เป็นผลสมพระทัยดังนี้ถึง 9 ครั้ง
ครั้งสุดท้ายทรงน้อยพระทัย รับสั่งเรื่องนี้ แก่กาฬุทายี อำมาตย์ผู้ใหญ่
ขอมอบเรื่องให้กาฬุทายีอำมาตย์ช่วยจัดการให้สมพระราชประสงค์
ด้วยทรงเห็นว่ากาฬุทายี เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่สนิทสนม
เป็นที่ไว้วางพระทัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแต่ก่อน
ทั้งเป็นสหชาติของพระบรมศาสดาด้วย
กาฬุทายีรับสนองพระบัญชาพระเจ้าสุทโธทนะว่า
กาฬุทายีรับสนองพระบัญชาพระเจ้าสุทโธทนะว่า
“จะพยายามกราบทูลเชิญเสด็จให้สมพระราชประสงค์ให้จงได้”
แต่ได้กราบทูลลาอุปสมบทด้วย
เพราะแน่ใจว่าตนควรจะได้อุปสมบทในสมัยที่เป็นโอกาสอันดีงามเช่นนี้แล้ว
พระเจ้าสุทโธทนะจำ ต้องพระราชทานให้กาฬุทายีตามที่ทูลขอด้วยความเสียดาย
หากแต่ดีพระทัยว่า กาฬุทายีอำมาตย์จะได้ทูลอัญเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สมประสงค์
ครั้นกาฬุทายีอำมาตย์ พร้อมด้วยบริวารเดินทางมาถึงพระนครราชคฤห์แล้ว
ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังพระเวฬุวันวิหาร ได้สดับพระธรรมเทศนา
บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยบริวาร แล้วทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุด้วยกันสิ้น
เมื่อพระกาฬุทายีเถระเจ้าบวชแล้วได้ 8 วัน ก็พอสิ้นเหมันตฤดู จะย่างขึ้นฤดูคิมหันต์
ถึงวันผคุณมาสปุรณมี คือ วันเพ็ญเดือน 4 พอดี
พระกาฬุทายีเถระ ทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าด้วย 14 คาถา
พระเถระเจ้ากาฬุทายีจึงดำริว่า พรุ่งนี้ก็เป็นเวลาย่างเข้าฤดูร้อน
พระเถระเจ้ากาฬุทายีจึงดำริว่า พรุ่งนี้ก็เป็นเวลาย่างเข้าฤดูร้อน
บรรดาเหล่าชาวกสิกรทั้งหลายก็เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ
มรรคาทีจะเสด็จไปสู่นครกบิลพัสดุ์ก็สะดวกสบาย
พฤกษาชาติก็เกิดเรียรายอยู่ริมทางก็ให้ความร่มเย็นเป็นอย่างดี
สมควรที่พระชินศรีบรมศาสดาจะเสด็จดำเนินไปกรุงกบิลพัสดุ์
แสดงธรรมโปรดพระมหากษัตริย์สุทโธทนะ พระพุทธบิดา
ตลอดพระบรมวงศานุวงศ์ศากยราชดำริแล้วพระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าพระบรมโลกนาถยังพระคันธกุฎิ
ทูลสรรเสริญมรรคาทางไปกบิลพัสดุ์บุรี เป็นสุขวิถีทางดำเนินสะดวกสบายตลอดมรรคา
ยามเมื่อแสงแดดแผดกล้า ก็มีร่มไม้ได้พักร้อนเป็นที่รื่นรมย์ตลอดระยะทาง 60 โยชน์
หากพระองค์จะทรงบำเพ็ญปรหิตประโยชน์ โปรดพระประยูรญาติยังกบิลพัสดุ์นคร
ก็จะเป็นที่สำราญพระกายไม่ต้องรีบร้อนยามเสด็จพระพุทธลีลา
ตลอดพระสงฆ์สาวกที่จะติดตามพระบาทา ก็จะไม่ลำบากด้วยน้ำท่าและกระยาหาร
ด้วยตามระยะทางมีโคจรคามเป็นที่ภิกษาจารตลอดสาย
อนึ่ง พระบรมชนกนาถก็มีพระทัยมุ่งหมาย ใคร่จะได้ประสบพบพระองค์
ตลอดพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมด หากพระองค์จะทรงพระกรุณาเสด็จไปให้สมมโนรถของพระชนกนาถ
ตลอดทั่วพระประยูรญาติศากวงศ์ แล้วประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงที่กบิลพัสดุ์บุรี
ก็จะเป็นเกียรติเป็นศรีแก่พระพุทธศาสนา นำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่ปวงมหาชน
เป็นศิริมงคลแก่อนุชนคนภายหลังชั่วกาลนาน ข้าพระองค์ขออัญเชิญพระพิชิตมารเสด็จสู่กบิลพัสดุ์บุรี
โปรดพระชนกและพระประยูรญาติให้ปิติยินดีในคราวนี้เถิด
เมื่อพระบรมศาสดาทรงสดับสุนทรกถา ที่กาฬุทายีเถระเจ้ากราบทูลพรรณา รวม 14 คาถา
เมื่อพระบรมศาสดาทรงสดับสุนทรกถา ที่กาฬุทายีเถระเจ้ากราบทูลพรรณา รวม 14 คาถา
วิจิตรพิสดาร ก็ทรงตรัสสาธุการแก่พระกาฬุทายี ตรัสว่า
"ตถาคตจะเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติยังกบิลพัสดุ์บุรีตามคำของท่าน ณ กาลบัดนี้
ฉะนั้นท่านจงแจ้งข่าวแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ตระเตรียมการเดินทางไกล
ตามตถาคตประสงค์ที่จะเสด็จไปยังกบิลพัสดุ์บุรี"
เมื่อพระกาฬุทายีออกมาประกาศให้มวลพระสงฆ์
เมื่อพระกาฬุทายีออกมาประกาศให้มวลพระสงฆ์
ที่มาสันนิบาตอยู่พร้อมหน้าให้ทราบพระพุทธประสงค์แล้ว บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพทุก ๆ องค์
ก็เตรียมบาตรจีวร มาสโมสรรอเสด็จพระบรมศาสดาตามวันเวลาที่กำหนด
ครั้นได้เวลาพระบรมศาสดาจารย์พร้อมด้วยพระสงฆ์ขีณาสพ 2
หมื่นเป็นประมาณเสด็จดำเนินไปยังกบิลพัสดุ์นคร เสด็จโดยมิได้รีบร้อนตามสบาย
ประมาณระยะทางเดินได้วันละ 1 โยชน์พอดี
ฝ่ายพระกาฬุทายีได้ส่งข่าวเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์
ฝ่ายพระกาฬุทายีได้ส่งข่าวเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์
ของพระชินศรีสัมพุทธเจ้าแด่พระเจ้าสุทโธทนะบรมกษัตริย์
ท้าวเธอได้ทรงทราบก็ทรงโสมนัสเบิกบาน
แจ้งข่าวสารแก่มวลพระประยูรญาติทั้งศากยราช และโกลิยะวงศ์ ในเทวทหะนคร
พระญาติทั้งสองฝ่ายได้มาสโมสรประชุมกันต้อนรับที่กบิลพัสดุ์บุรี
ด้วยความปิติยินดีเกษมสานต์ ได้ร่วมกำลังสร้างนิโครธมหาวิหาร
พร้อมด้วยเสนาสนะและพระคันธกุฎิ
เพื่อรับรองพระชินศรีและพระสงฆ์สาวกพุทธบริษัท เป็นสถานที่งดงามและเงียบสงัดควรแก่สมณะวิสัยเป็นอย่างดี
เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ โปรดพระประยูรญาติ
ครั้นสมเด็จพระชินศรี พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จถึงกบิลพัสดุ์นคร
บรรดาพระประยูรญาติที่มาสโมสรต้อนรับอยู่ทั่วหน้า
มีพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา เป็นประธาน ต่างแสดงออกซึ่งความเบิกบานตามแก่วิสัย
แล้วทูลเชิญให้เสด็จเข้าไปประทับยังพระนิโครธารามพระมหาวิหาร
พระบรมศาสดาจารย์ก็เสด็จขึ้นประทับบนพระบวรพุทธอาสน์
บรรดาพระสงฆ์ 2 หมื่นต่างก็ขึ้นนั่งบนเสนาสนะอันมโหฬาร ดูงามตระการปรากฏ
สมเกียรติศากยบุตรพุทธชิโนรสบรรดามี
ครั้งนั้น บรรดาพระประยูรญาติทั้งหลาย
ครั้งนั้น บรรดาพระประยูรญาติทั้งหลาย
มีมานะทิฏฐิอันกล้า นึกละอายใจไม่อาจน้อมประณมหัตถ์ถวายนมัสการพระบรมศาสดาได้ ด้วยดำริว่า
"พระสิตธัตถะกุมาร มีอายุยังอ่อน ไม่สมควรแก่ชุลีกรนมัสการ
จึงจัดให้พระประยูรญาติราชกุมาร ที่พระชนมายุน้อยคราวน้อง คราวบุตร หลาน ออกไปนั่งอยู่ข้างหน้า
เพื่อจะได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา ซึ่งเห็นว่าควรแก่วิสัย
ส่วนพระประยูรญาติผู้ใหญ่พากันประทับนั่งอยู่เบื้องหลังเหล่าพระราชกุมาร
ไม่ประณมหัตถ์ ไม่นมัสการ หรือคารวะแต่ประการใด
ด้วยมานะจิตคิดในใจว่าตนแก่กว่า ไม่ควรจะวันทาพระสิตธัตถะกุมาร"
เมื่อพระบรมศาสดาจารย์ได้ทรงประสบเหตุ
ทรงพระประสงค์จะให้เกิดสลดจิต คิดสังเวชแก่พระประยูรญาติ
ที่มีมานะจิตคิดมมังการ จึงทรงสำแดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ
ให้ปรากฏประหนึ่งว่าละอองธุลีบาทได้หล่นลงตรงเศียรเกล้า
แห่งพระประยูรญาติทั้งหลาย ด้วยพุทธานุภาพเป็นมหัศจรรย์
ครานั้น พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช พระพุทธบิดา
ครานั้น พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช พระพุทธบิดา
ได้ทรงเห็นปาฏิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ จึงประณมหัตถ์ถวายนมัสการแล้วกราบทูลว่า
” ข้าแต่พระผู้มีพระภาคแต่กาลก่อน เมื่อพระองค์ทรงประสูติใหม่ได้ 1 วัน
หม่อมฉันให้พระพี่เลี้ยงนำมาเพื่อนมัสการพระกาลเทวิลดาบส
พระองค์ก็ทรงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏขึ้นไปอยู่บนชฎาพระกาลเทวิลอาจารย์
แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันก็ได้ถวายนมัสการเป็นปฐม
ต่อมางานพระราชพิธีนิยม ประกอบการวัปปมงคลแรกนาขวัญ
พระพี่เลี้ยงนางนมได้นำพระองค์ประทับบรรทมใต้ร่มไม้หว้า
ครั้นเวลาบ่าย เงาไม้ก็ไม่ได้ชายไปตามตะวัน เป็นปาฏิหาริย์ที่มหัศจรรย์ได้ปรากฏ
แม้ครั้งนั้นหม่อมฉันก็ได้ประณตนมัสการเป็นคำรบสอง ควรแก่การสดุดี
รวมเป็นสามครั้งกับครั้งนี้ ที่หม่อมฉันได้อัญชลีนมัสการ ”
เมื่อสุดสิ้นพระราชบรรหารแห่งพระเจ้าสุทโธทนะมหาราช
เมื่อสุดสิ้นพระราชบรรหารแห่งพระเจ้าสุทโธทนะมหาราช
บรรดาเหล่าพระประยูรญาติสิ้นทั้งหมด
ก็พากันยอกรประณตอภิวาทพระบรมศาสดา ด้วยคารวะเป็นอันดี
ต่อนั้น พระมหามุนีบรมสุคตเจ้า ก็เสด็จลงจากอากาศ
ต่อนั้น พระมหามุนีบรมสุคตเจ้า ก็เสด็จลงจากอากาศ
ประทับนั่งลงบนพระพุทธาอาสน์ในท่ามกลางพระบรมประยูรญาติสมาคม
เป็นที่ชื่นชมโสมนัส สุดจะประมาณด้วยบุญญาภินิหารพระโลกนาถ
ขณะนั้น มหาเมฆก็ตั้งขึ้นในอากาศ
บันดาลหยาดฝนโบกขรพรรษให้ตกลงในที่พระขัติยะประยูรวงศ์ประชุมกัน
น้ำฝนโบกขรพรรษนั้น มีสีแดงหลั่งไหลเสียงสนั่นลั่นออกไปไกล
เหมือนเสียงสายฝนธรรมดา ถ้าผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกกาย จึงจะเปียกกาย
ถ้าไม่ปรารถนาแล้ว แม้แต่เม็ดหนึ่งก็มิได้เปียกตัว เหมือนหยาดน้ำตกลงในใบบัว
แล้วก็กลิ้งตกลงไปมิได้ติดอยู่ให้เปียก
ดังนั้น จึงได้นามขนานขานเรียกว่า “ฝนโบกขรพรรษ” เป็นมหัศจรรย์
ครั้งนั้น พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็ชวนกันพิศวง
ต่างองค์ก็สนทนาว่า มิได้เคยเห็นมาแต่ก่อนกาล
พระองค์จึงมีพุทธบรรหารตรัสว่า “ฝนโบกขรพรรษนี้
มิใช่จะตกในที่ชุมนุมพระประยูรญาติในครั้งนี้เท่านั้น ก็หาไม่
ในอดีตสมัย เมื่อตถาคตเสวยพระชาติเป็น พระเวสสันดร บรมโพธิสัตว์
ฝนโบกขรพรรษก็เคยได้ตกลงในที่ชุมนุมพระประยูรญาติเหมือนครั้งนี้”
แล้วสมเด็จพระมหามุนีจึงได้ทรงพระแสดงพระธรรมเทศนา
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ยอยกพระมหาบารมีทาน
เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว
พระประยูรญาติก็ถวายนมัสการทูลลากลับพระราชนิเวศน์หมดด้วยกัน
ไม่มีใครเฉลียวจิตคิดถึงวันยามอรุณรุ่งพรุ่งนี้
ว่าสมเด็จพระชินศรีและพระสงฆ์จะทรงเสวยบิณฑบาตรที่ใด
จึงไม่มีใครทูลอาราธนาให้เสด็จไปเสวยภัตตาหารในเคหะสถานของตน ๆ ในกบิลพัสดุ์บุรี.
แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
ครั้นสิ้นสมัยราตรีรุ่งเช้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จด้วยพระขีณาสพ 2 หมื่นเป็นบริวาร ทรงบาตรดำเนินภิกษาจารตามท้องถนนในกบิลพัสดุ์นคร ขณะนั้น มหาชนที่สัญจรในถนน ตลอดไปถึงทุก ๆ คน ทุกบ้านช่อง ต่างก็จ้องดูด้วยความเลื่อมใสและประหลาดใจระคนกัน ว่าไฉนพระผู้เป็นเจ้าสิทธัตถะกุมารจึงนำพระสงฆ์เที่ยวภิกษาจารด้วยอาการเช่นนี้ แล้วก็โจษจันกันอึงทั่วพระนคร
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก็ตกพระทัย รีบเสด็จลงจากพระราชนิเวศน์
เสด็จพระราชดำเนินไปหยุดยืนเฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดาแล้วทูลว่า
“ไฉนพระองค์จึงทรงทำให้หม่อมฉันได้รับความอัปยศ โดยเที่ยวภิกษาจารเช่นนี้”
สมเด็จพระชินสีห์จึงตรัสตอบว่า
“ดูกรพระราชสมภาร อันการเที่ยวบิณฑบาตนี้ เป็นจารีตประเพณีของตถาคต”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อันบรรดากษัตริย์ขัตติยสมมติวงค์องค์ใดองค์หนึ่ง
ซึ่งเที่ยวบิณฑบาตเช่นนี้ยังจะมีอยู่ ณ ที่ใด
ประเพณีของหม่อมฉันไม่เคยมีแต่ครั้งไหนในก่อนกาล”
“ดูกรพระราชสมภาร นับแต่ตถาคตได้บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว
ก็สิ้นสุดสมมติขัตติวงศ์ เริ่มประดิษฐานพุทธวงศ์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้
ดังนั้น การเที่ยวบิณฑบาตจึงเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า
ตลอดพระภิกษุสงฆ์ที่สืบสายพุทธวงศ์ชั่วนิรันดร”
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสเช่นนี้แล้ว จึงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วพระเจ้าสุทโธทนะก็ทรงรับบาตรของพระบรมศาสดา
ทูลอาราธนาให้เสด็จขึ้นพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์
ทรงอังคาสด้วยอาหารบิณฑบาตอันประณีต
วันรุ่งขึ้น พระบรมศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินไปรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์เป็นวันที่สอง
วันรุ่งขึ้น พระบรมศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินไปรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์เป็นวันที่สอง
ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนาโปรดพระนางมหาปชาบดีและพระเจ้าสุทโธทนะ
พระพุทธบิดา เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระนางมหาปชาบดีได้บรรลุโสดาปัตติผล
พระพุทธบิดาได้บรรลุสกิทาคามีผล
วันรุ่งขึ้นอีก พระบรมศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินไปรับภัตตาหารบิณฑบาต
วันรุ่งขึ้นอีก พระบรมศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินไปรับภัตตาหารบิณฑบาต
ในพระราชนิเวศน์เป็นวันที่สาม
ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว ตรัสเทศนามหาธรรมปาลชาดกโปรดพระพุทธบิดา ให้สำเร็จพระอนาคามีผล.
พระเจ้าสุทโธนะกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระนางพิมพาเทวี เป็นชนปทกัลยาณี มีความจงรักภักดีต่อพระองค์
สุดจะหาสตรีที่ใดเสมอได้ นับแต่พระองค์เสด็จจากพระนครไป สิ่งอันใดที่ก่อให้เกิดราคี
เสื่อมศรีเสียเกียรติยศแล้ว พระนางจะห่างไกลไม่กระทำ เฝ้าแต่รำพันถึงคุณสมบัติของพระองค์
แล้วก็โศกเศร้าอาดูร มิได้ใส่ใจถ่อยคำของผู้ใดจะช่วยแนะนำให้บรรเทาความเศร้าโศก
ไม่สนใจในการตกแต่งกายทุกอย่าง เลิกเครื่องสำอางค์ทุกชนิด
เมื่อได้ทราบว่าพระองค์ทรงผ้ากาสาวพัสตร์
พระนางก็จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์มาใช้ตามพระองค์ตลอดจนทุกวันนี้
ได้ทราบข่าวว่าพระองค์อดพระกระยาหาร ทรมานกาย
พระนางก็พอใจอดพระกระยาหารตามเสด็จตลอดเวลา จะหาสตรีที่มีความจงรักภักดีเช่นนี้ เห็นสุดหา”
“อนึ่ง นับแต่พระองค์เสด็จมาสู่พระราชนิเวศน์เข้า 3 วันนี้
พระนางพิมพาก็มิได้มาเฝ้า เศร้าโศกอยู่แต่ในห้องผทม
ตั้งใจอยู่ว่าพระองค์คงจะเสด็จเข้าไปหายังห้องที่เคยเสด็จประทับในกาลก่อน
หากพระองค์จะไม่เสด็จไปยังห้องของพระนางแล้ว
พระนางคงจะเสียพระทัยถึงแก่วายชีวิตเป็นแน่แท้
หม่อมฉันขออาราธนาพระองค์เสด็จไปโปรดพระนางพิมพาเทวี
ขอให้ทรงพระกรุณาประทานชีวิตแก่พระนางผู้มีความจงรักภักดีในครั้งนี้ด้วยเถิด”
“ดูกรพระราชสมภาร อันพระนางพิมพาเทวีมารดาราหุลกุมาร
มีความจงรักภักดีต่อตถาคต สมจริงดังพระองค์รับสั่งทุกประการ
และก็สมควรที่ตถาคตจะไปอนุเคราะห์พระนางให้สมมโนรถ
เพื่อบรรเทาความเศร้าโศก ให้ได้รับความสดชื่น สุขใจ ในอมตธรรมตามควรแก่วาสนา
ด้วยพระนางมีคุณแก่ตถาคตมามากยิ่งนัก ในอดีตกาล
ได้ช่วยตถาคตบำเพ็ญมหาทานบารมีมากกว่าแสนชาติ ”
ครั้นแล้วก็รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายรออยู่ที่ปราสาทราชนิเวศน์
ให้ตามเสด็จแต่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ อัครสาวก 2 องค์ เป็นปัจฉาสมณะ
แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปยังปราสาทของพระนางพิมพาเทวี พลางมีพระวาจารับสั่งแก่อัครสาวกว่า
“พระมารดาราหุลนี้ มีคุณแก่ตถาคตเป็นอันมาก
ผิว่านางจะจับบาทตถาคตลูบคลำสัมผัส และโศกเศร้าอาดูรพิลาปร่ำไห้ ด้วยกำลังเสน่หา
ท่านทั้งสองอย่าได้ห้ามปราม ปล่อยตามอัธยาศัย ให้พระนางพิไรรำพันปริเวทนาจนกว่าจะสิ้นโศก
ผิว่าไปห้ามเข้า นางก็ยิ่งเพิ่มความเศร้าเสียพระทัยถึงชีวิต ไม่ทันได้สดับพระธรรมเทศนา
ตถาคตยังเป็นหนี้พิมพามิได้เปลื้องปลด จะได้แทนทดใช้หนี้แก่พิมพาในกาลบัดนี้”
ครั้นตรัสบอกอัครสาวกทั้งสองแล้ว
ก็เสด็จพระพุทธลีลาเข้าไปในห้องแห่งประสาท
ขึ้นสถิตบนรัตนบัลลังก์อาสน์อันงามวิจิตร
ฝ่ายนางสนมทั้งหลาย ครั้นได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่บนปราสาท
ฝ่ายนางสนมทั้งหลาย ครั้นได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่บนปราสาท
จึงรีบไปทูลความแด่พระนางพิมพาว่า
“บัดนี้ พระสิทธัตถะราชสวามีของพระนางเจ้า
ได้เสด็จมาประทับยังห้องแห่งปราสาทของพระนางแล้ว”
เมื่อพระนางพิมพาเทวีทรงสดับ ก็ลุกจากที่ประทับ
จูงหัตถ์พระราหุล ราชโอรสกลั้นความกำสรดโศก
แล้วก็เสด็จคลานออกจากพระทวารสถานที่สิริไสยาสน์
ตรงเข้ากอดบาทพระบรมศาสดา แล้วซบพระเศียรลงถวายนมัสการ
พลางทรงพิลาปกราบทูลสารว่า
“โทษกระหม่อมฉันนี้มีมาก เพราะเป็นหญิงกาลกิณี
พระองค์จึงเสด็จหนีให้อาดูรด้วยเสน่หา แต่เวลายังดรุณภาพ
พระองค์มิได้ตรัสบอกให้ทราบ แสร้งทรงสละข้าพระบาทไว้ไม่มีอาลัย
ดุจก้อนเขฬะบนปลายพระชิวหา อันถ่มออกจากพระโอฐมิได้โปรดปราน
เสด็จบำราศร้างจากนิวาสน์สถานไปบรรชา
ถึงมาตรว่า ข้าพระบาทพิมพานี้มีโทษแล้ว ส่วนลูกแก้วราหุลราชกุมาร
เพิ่งประสูติจากพระครรภ์ในวันนั้น ยังมิทันได้รู้ผิดชอบประการใด
นั้นมีโทษสิ่งไรด้วยเล่า พระผ่านเกล้าจึงแกล้งทอดทิ้งไว้ให้ร้างพระปิตุรงค์”
“ประการหนึ่ง ข้าพระบาทของพระองค์นี้
โหราจารย์ญาณเมธีได้ทำนายไว้แต่ยังเยาว์วัยว่า
ยโสธราพิมพาราชกุมารี มีบุญญาธิการใหญ่ยิ่ง
ควรเป็นมิ่งมเหษีอดุลกษัตริย์จักรพรรดิราช
คำทำนายนั้นก็เคลื่อนคลาดเพี้ยนผิด
พิมพากลับวิปริตเป็นหญิงหม้ายชายร้างสิ้นราคา”
เมื่อพระนางพิมพาเทวีปริเวทนามาฉะนี้ แล้วก็กลิ้งเกลือกพระอุตมางคโมลีเหนือหลังพระบาทพระศาสดา ดูเป็นที่เวทนา
ส่วนสมเด็จพระพุทธบิดา ก็ได้กราบทูลพรรณนาถึงความดีของพระนางพิมพาเทวีศรีสะไภ้ว่า
“จะหาสตรีคนใดเสมอได้ยากยิ่ง มีความจงรักภักดีต่อพระองค์จริงประจักษ์ตา
ทราบว่าพระองค์ผทมเหนือพื้นพสุธา พระนางก็ประพฤติตามเสด็จ
โดยผทมยังภาคพื้นเมธนีดล ครั้นทราบว่า พระองค์เว้นเครื่องสุคนธ์ลูบไล้
ตลอดดอกไม้บุบผชาติ พระนางก็เว้นขาดจากเครื่องประดับทุกประการ
ทั้งเครื่องลูบไล้สุมามาลย์ก็เลิกหมด เฝ้าแต่รันทดถึงพระองค์อยู่ไม่ขาด
แม้บรรดาพระประยูรญาติของพระนาง ในเทวหะนคร ส่งข่าวสารมาทูลวอนว่า
จะรับกลับไปบำรุงเลี้ยงรักษาปฎิบัติ พระนางก็บอกปัด
มิได้เล็งแลดูหมู่กษัตริย์ศากยะวงศ์พระองค์ใด
ตั้งพระทัยภักดีมีสัตย์ซื่อเสน่หาเฉพาะพระองค์ดำรงมา ดังพรรณนามาฉะนี้ ”
เมื่อพระชินสีห์ได้ทรงเสวนาการ จึงมีพระพุทธบรรหารดำรัสว่า
เมื่อพระชินสีห์ได้ทรงเสวนาการ จึงมีพระพุทธบรรหารดำรัสว่า
“ดูกรบรมบพิตร พระนางพิมพาเทวี จะได้มีจิตจงรักภักดี
ซื่อสัตย์ต่อสามีแต่ในชาตินี้เท่านั้น ก็หาไม่
พระมารดาราหุลนี้นั้น น้ำใจเป็นหนึ่งแน่ไม่แปรผันในสวามีแม้ในอดีตกาล
ครั้งเสวยชาติเป็นเดรัจฉานกินนรี ก็มีจิตจงรักภักดีเลิศคุณดิลก”
แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงจันทกินนรชาดกโดยพิสดาร
บันเทาความโศกเศร้าปริเวทนาการของพระนางพิมพาให้เสื่อมหายคลายกำสรด
เสมือนหนึ่งหลั่งน้ำอมตรสลงตรงดวงจิตของพระนาง
ซึ่งเร่าร้อนด้วยเพลิงพิษคือกิเลสให้พลันดับ กลับให้ความสดชื่นเกษมสานต์
ส่วนพระนางพิมพาราชกัญญา ครั้นสร่างโศกสิ้นทุกข์ มีใจผ่องแผ่ว
เบิกบานตั้งพระทัยสดับพระธรรมที่พระศาสดาทรงพระกรุณาประทานสืบไป
ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทพระศาสดา
ด้วยความทราบซึ้งในพระมหากรุณา ที่ทรงอุตสาห์เสด็จมาประทานชีวิตให้สดชื่นรื่นรมย์
ทั้งประทานอมตธรรมให้ชื่นชม สมกับที่พระนางได้จงรักภักดีตั้งแต่ต้นมา
แล้วสมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จพระพุทธลีลา พร้อมด้วยพระสงฆ์ 2 หมื่น
เสด็จคืนสู่พระนิโครธมหาวิหาร.
จันทกินนรชาดก
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกินนร ในหิมวันตประเทศ
ภรรยาของเธอนามว่าจันทา ทั้งคู่เล่าก็อยู่ที่ภูเขาเงินชื่อว่า จันทบรรพต
ครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสีมอบราชสมบัติแก่หมู่อำมาตย์ ทรงผ้าย้อมฝาดสองผืน
ทรงสอดพระเบญจาวุธ เข้าสู่ป่าหิมพานต์ลำพังพระองค์เดียวเท่านั้น
ท้าวเธอเสวยเนื้อที่ทรงล่าได้เป็นกระยาหาร
เสด็จท่องเที่ยวไปถึงลำน้ำน้อย ๆ สายหนึ่ง โดยลำดับ ก็เสด็จขึ้นไปถึงต้นสาย
ฝูงกินนรที่อยู่ ณ จันทบรรพต นั้นปกติในเวลาฤดูฝน ก็ไม่ลงมา พากันอยู่ที่ภูเขานั่นแหละ
ฝูงกินนรที่อยู่ ณ จันทบรรพต นั้นปกติในเวลาฤดูฝน ก็ไม่ลงมา พากันอยู่ที่ภูเขานั่นแหละ
ถึงฤดูแล้งจึงพากันลงมา ครั้งนั้น จันทกินนรลงมากับภรรยาของตน
เที่ยวเก็บเล็มของหอมในที่นั้น ๆ กินเกสรดอกไม้ นุ่งห่มด้วยสาหร่ายดอกไม้
เหนี่ยวเถาชิงช้าเป็นต้น เล่นพลางขับร้องไปพลาง
ด้วยเสียงจะแจ้วเจื้อยจนถึงลำน้ำน้อยสายนั้น หยุดลงตรงที่เป็นคุ้งแห่งหนึ่ง
โปรยปรายดอกไม้ลงในน้ำ ลงเล่นน้ำแล้วนุ่งห่มสาหร่ายดอกไม้
จัดแจงแต่งที่นอนด้วยดอกไม้ เหนือหาดทรายซึ่งมีสีเพียงแผ่นเงิน
ถือขลุ่ยเลาหนึ่ง นั่งเหนือที่นอน ต่อจากนั้น
จันทกินนรก็เป่าขลุ่ยขับร้องด้วยเสียงอันหวานฉ่ำ
จันทกินรีก็ฟ้อนหัตถ์อันอ่อนยืนอยู่ในที่ใกล้สามีฟ้อนไปบ้าง ขับร้องไปบ้าง
พระราชานั้นทรงสดับเสียงของกินนรกินรีนั้น
พระราชานั้นทรงสดับเสียงของกินนรกินรีนั้น
ก็ทรงย่องเข้าไปค่อย ๆ ยืน แอบในที่กำบัง ทรงทอดพระเนตรกินนรเหล่านั้น
ก็ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ในกินรี ทรงดำริว่า จักยิงกินนรนั้นเสียให้ถึงสิ้นชีวิต
ถึงสำเร็จการอยู่ร่วมกินรีนี้ แล้วทรงยิงจันทกินนร เธอเจ็บปวดรำพันกล่าวคาถา 4 คาถาว่า
[๑๘๘๓] ดูกรนางจันทา ชีวิตของพี่ใกล้จะขาดอยู่แล้ว พี่กำลังเมาเลือด จันทาเอ๋ย พี่เห็นจะละชีวิตไปแม้ในวันนี้ ลมปราณของพี่กำลังจะดับ ชีวิตของพี่กำลังจะจม ความทุกข์กำลังเผาผลาญหัวใจพี่ พี่ลำบากยิ่งนัก ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่ง
เจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้ พี่จะเหี่ยวแห้ง เหมือนต้นหญ้าที่ถูกทิ้งไว้บนแผ่นหินร้อน เหมือนต้นไม้มีรากอันขาด พี่จะเหือดหายเหมือนแม่น้ำที่ขาดห้วง ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้ น้ำตาของพี่ไหลออกเรื่อยเหมือนน้ำฝนที่ตกลงที่เชิงบรรพต ไหลไปไม่ขาดสาย ฉะนั้น ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้
[๑๘๘๓] ดูกรนางจันทา ชีวิตของพี่ใกล้จะขาดอยู่แล้ว พี่กำลังเมาเลือด จันทาเอ๋ย พี่เห็นจะละชีวิตไปแม้ในวันนี้ ลมปราณของพี่กำลังจะดับ ชีวิตของพี่กำลังจะจม ความทุกข์กำลังเผาผลาญหัวใจพี่ พี่ลำบากยิ่งนัก ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่ง
เจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้ พี่จะเหี่ยวแห้ง เหมือนต้นหญ้าที่ถูกทิ้งไว้บนแผ่นหินร้อน เหมือนต้นไม้มีรากอันขาด พี่จะเหือดหายเหมือนแม่น้ำที่ขาดห้วง ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้ น้ำตาของพี่ไหลออกเรื่อยเหมือนน้ำฝนที่ตกลงที่เชิงบรรพต ไหลไปไม่ขาดสาย ฉะนั้น ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้
พระมหาสัตว์คร่ำครวญด้วยคาถาสี่เหล่านี้ นอนเหนือที่นอนดอกไม้นั่นเอง ชักดิ้นสิ้นสติ
ฝ่ายพระราชายังคงยืนอยู่ จันทากินรีเมื่อพระมหาสัตว์รำพัน
กำลังเพลิดเพลินเสียด้วยความรื่นเริงของตน มิได้รู้ว่าเธอถูกยิง
แต่ ครั้นเห็นเธอไร้สัญญานอนดิ้นไป ก็ใคร่ครวญว่า ทุกข์ของสามีเราเป็นอย่างไรหนอ
พอเห็นเลือดไหลออกจากปากแผล ก็ไม่อาจสะกดกลั้นความโศกอัน
มีกำลังที่เกิดขึ้นในสามีที่รักไว้ได้ ร่ำไห้ด้วยเสียงดัง
พระราชาทรงดำริว่า กินนรคงตายแล้ว ปรากฏพระองค์ออกมา
จันทาเห็นท้าวเธอก็หวั่นใจว่า โจรผู้นี้คงยิงสามีที่รักของเรา
จึงบินหนีไปอยู่บนยอดเขา พลางบริภาษพระราชา ได้กล่าวคาถา 5 คาถา ดังนี้
[๑๘๘๔] พระราชบุตรใด ยิงสามีผู้เป็นที่ปรารถนาของเรา เพื่อให้เป็นหม้ายที่ชายป่า พระราชบุตรนั้นเป็นคนเลวทรามแท้ สามีของเรานั้นถูกยิงแล้วนอนอยู่บนพื้นดิน พระราชบุตรเอ๋ย มารดาของท่านจงได้รับสนองความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้ ชายาของท่านจงได้รับสนองความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้ พระราชบุตรเอ๋ย ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเราขอมารดาของท่านอย่าได้พบเห็นบุตร และสามีเลย ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา ขอชายาของท่านจงอย่าได้พบเห็นบุตร และสามีเลย
พระราชาเมื่อจะตรัสปลอบนางผู้ยืนร่ำไห้เหนือยอดภูเขาด้วย 5 คาถา จึงตรัสคาถาว่า
[๑๘๘๕] ดูกรนางจันทา ผู้มีนัยน์ตาบานดังดอกไม้ในป่า เธออย่าร้องไห้ อย่าเศร้าโศกเลย เธอจักได้เป็นอัครมเหสีของฉัน มีเหล่านารีในราชสกุลบูชา
นางจันทากินรี ฟังคำของท้าวเธอแล้วกล่าวว่า ท่านพูดอะไร
[๑๘๘๔] พระราชบุตรใด ยิงสามีผู้เป็นที่ปรารถนาของเรา เพื่อให้เป็นหม้ายที่ชายป่า พระราชบุตรนั้นเป็นคนเลวทรามแท้ สามีของเรานั้นถูกยิงแล้วนอนอยู่บนพื้นดิน พระราชบุตรเอ๋ย มารดาของท่านจงได้รับสนองความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้ ชายาของท่านจงได้รับสนองความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้ พระราชบุตรเอ๋ย ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเราขอมารดาของท่านอย่าได้พบเห็นบุตร และสามีเลย ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา ขอชายาของท่านจงอย่าได้พบเห็นบุตร และสามีเลย
พระราชาเมื่อจะตรัสปลอบนางผู้ยืนร่ำไห้เหนือยอดภูเขาด้วย 5 คาถา จึงตรัสคาถาว่า
[๑๘๘๕] ดูกรนางจันทา ผู้มีนัยน์ตาบานดังดอกไม้ในป่า เธออย่าร้องไห้ อย่าเศร้าโศกเลย เธอจักได้เป็นอัครมเหสีของฉัน มีเหล่านารีในราชสกุลบูชา
นางจันทากินรี ฟังคำของท้าวเธอแล้วกล่าวว่า ท่านพูดอะไร
เมื่อจะบันลือสีหนาทจึงกล่าวคาถาต่อไปว่า
[๑๘๘๖] พระราชบุตร ถึงแม้ว่าเราจักต้องตาย แต่เราจักไม่ขอยอมเป็นของท่านผู้ฆ่ากินนรสามีของเราผู้มิได้ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา
[๑๘๘๖] พระราชบุตร ถึงแม้ว่าเราจักต้องตาย แต่เราจักไม่ขอยอมเป็นของท่านผู้ฆ่ากินนรสามีของเราผู้มิได้ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา
ท้าวเธอฟังคำของนางแล้วหมดความรักใคร่ ตรัสคาถาต่อไปว่า
[๑๘๘๗] แนะนางกินนรีผู้ขี้ขลาด มีความรักใคร่ต่อชีวิต เจ้าจงไปสู่ป่าหิมพานต์เถิด มฤคอื่นๆ ผู้บริโภคกฤษณาและกะลำพัก จักยังรักใคร่ยินดีต่อเจ้า
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้วก็เสด็จหลีกไปอย่างหมดเยื่อใย
[๑๘๘๗] แนะนางกินนรีผู้ขี้ขลาด มีความรักใคร่ต่อชีวิต เจ้าจงไปสู่ป่าหิมพานต์เถิด มฤคอื่นๆ ผู้บริโภคกฤษณาและกะลำพัก จักยังรักใคร่ยินดีต่อเจ้า
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้วก็เสด็จหลีกไปอย่างหมดเยื่อใย
นางทราบว่า ท้าวเธอไปแล้วก็ลงมากอดพระมหาสัตว์
อุ้มขึ้นสู่ยอดภูเขา ให้นอนเหนือยอดภูเขา ยกศีรษะวางไว้เหนือขาของตน
พลางพร่ำไห้เป็นกำลัง จึงกล่าวคาถา 12 คาถาว่า
[๑๘๘๘] ข้าแต่กินนร ภูเขาเหล่านั้น ซอกเขาเหล่านั้น และถ้ำเหล่านั้นตั้งอยู่ ณ ที่นั้น ฉันไม่เห็นท่านในที่นั้นๆ จะกระทำอย่างไร?
[๑๘๘๘] ข้าแต่กินนร ภูเขาเหล่านั้น ซอกเขาเหล่านั้น และถ้ำเหล่านั้นตั้งอยู่ ณ ที่นั้น ฉันไม่เห็นท่านในที่นั้นๆ จะกระทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่เทือกเขา ซึ่งเราเคยร่วมอภิรมย์กันจะกระทำอย่างไร
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่แผ่นผาอันลาดด้วยใบไม้เป็นที่น่ารื่นรมย์ พวกมฤคร้ายไม่กล้ำกลาย จะทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่แผ่นผาอันลาดด้วยดอกไม้เป็นที่น่ารื่นรมย์ พวกมฤคร้ายไม่กล้ำกลาย จะทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ลำธารอันมีน้ำใสไหลอยู่เรื่อย ๆ มีกระแสเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกโกสุม จะกระทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีเขียวน่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร
ข้าแต่กินนรฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์มีสีเหลืองอร่ามน่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีแดงน่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันสูงตระหง่านน่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีขาวน่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันงามวิจิตรน่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่เขาคันธมาทน์ อันดารดาษไปด้วยยาต่างๆ เป็นถิ่นที่อยู่ของหมู่เทพเจ้า จะกระทำอย่างไร?
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ภูเขาคันธมาทน์ อันดารดาษไปด้วยโอสถทั้งหลายจะกระทำอย่างไร?
นางร่ำไห้ด้วยคาถาสิบสองบทด้วยประการฉะนี้แล้ว
วางมือลงตรงอุระพระมหาสัตว์ รู้ว่ายังอุ่นอยู่
ก็คิดว่า พี่จันท์ยังมีชีวิตเป็นแน่ เราต้องกระทำการเพ่งโทษเทวดา
ให้ชีวิตของเธอคืนมาเถิด แล้วได้กระทำการเพ่งโทษเทวดาว่า
เทพเจ้าที่ได้นามว่าท้าวโลกบาลน่ะ ไม่มีเสียหรือไรเล่า
หรือหลบไปเสียหมดแล้ว หรือตายหมดแล้ว ช่างไม่ดูแลผัวรักของข้าเสียเลย
ด้วยแรงโศกของนาง พิภพท้าวสักกะเกิดร้อน
ท้าวสักกะทรงดำริทราบเหตุนั้น
แปลงเป็นพราหมณ์ถือกุณฑีน้ำมาหลั่งรดพระมหาสัตว์
ทันใดนั้นเองพิษก็หายสิ้น แผลก็เต็ม แม้แต่รอยที่ว่าถูกยิงตรงนี้ก็มิได้ปรากฏ
พระมหาสัตว์สบายลุกขึ้นได้ จันทาเห็นสามีที่รักหายโรค แสนจะดีใจ
ไหว้แทบเท้าของท้าวสักกะ กล่าวคาถาเป็น ลำดับว่า
[๑๘๘๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ผู้เป็นเจ้า ฉันขอไหว้เท้าทั้งสองของท่าน ผู้มีความเอ็นดู มารดาสามีผู้ที่ดิฉันซึ่งเป็นกำพร้าปรารถนายิ่งนักด้วยน้ำอมฤต ดิฉันได้ชื่อว่า เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสามีผู้เป็นที่รักยิ่งแล้ว
[๑๘๘๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ผู้เป็นเจ้า ฉันขอไหว้เท้าทั้งสองของท่าน ผู้มีความเอ็นดู มารดาสามีผู้ที่ดิฉันซึ่งเป็นกำพร้าปรารถนายิ่งนักด้วยน้ำอมฤต ดิฉันได้ชื่อว่า เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสามีผู้เป็นที่รักยิ่งแล้ว
ท้าวสักกะได้ประทานโอวาทแก่กินนรทั้งคู่นั้นว่า
ตั้งแต่บัดนี้เธอทั้งสอง อย่าลงจากจันทบรรพตไปสู่ถิ่นมนุษย์เลย
จงพากันอยู่ที่นี้เท่านั้นนะ ครั้นแล้ว ก็เสด็จไปสู่สถานที่ของท้าวเธอ
ฝ่ายจันทากินรีก็กล่าวว่า พี่เจ้าเอ๋ย เราจะต้องการอะไร
ฝ่ายจันทากินรีก็กล่าวว่า พี่เจ้าเอ๋ย เราจะต้องการอะไร
ด้วยสถานที่อันมีภัยรอบด้านนี้เล่า มาเถิดค่ะ เราพากันไปสู่จันทบรรพตเลยเถิดคะ
แล้ว กล่าวคาถาสุดท้ายว่า
[๑๘๙๐] บัดนี้ เราทั้งสองจักไปเที่ยวสู่ลำธาร อันมีกระแสสินธุ์อันเกลื่อนกล่นด้วยดอกโกสุม ดารดาษไปด้วยบุปผชาติต่างๆ เราทั้งสองจะกล่าววาจาเป็นที่รักแก่กันและกัน
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนนางก็ไม่ได้เอาใจออกห่างเรา มิใช่หญิงที่ผู้อื่นจะนำไปได้เหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาใน ครั้งนั้นได้มาเป็นเทวทัต ท้าวสักกะได้มาเป็นอนุรุทธะ จันทากินรี ได้มาเป็นมารดาเจ้าราหุล ส่วนจันทกินนรได้มาเป็นเราตถาคตแล
จบจันทกินนรชาดก
[๑๘๙๐] บัดนี้ เราทั้งสองจักไปเที่ยวสู่ลำธาร อันมีกระแสสินธุ์อันเกลื่อนกล่นด้วยดอกโกสุม ดารดาษไปด้วยบุปผชาติต่างๆ เราทั้งสองจะกล่าววาจาเป็นที่รักแก่กันและกัน
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนนางก็ไม่ได้เอาใจออกห่างเรา มิใช่หญิงที่ผู้อื่นจะนำไปได้เหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาใน ครั้งนั้นได้มาเป็นเทวทัต ท้าวสักกะได้มาเป็นอนุรุทธะ จันทากินรี ได้มาเป็นมารดาเจ้าราหุล ส่วนจันทกินนรได้มาเป็นเราตถาคตแล
จบจันทกินนรชาดก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น