พุทธประวัติ ตอน ๙
โปรด ๓ คณาจารย์ใหญ่แห่งเมืองราชคฤห์
อยู่ในราชตระกูลแห่งราชวงศ์โกศล
ต่างคนต่างพาภรรยาของตน ๆ มาหาความสำราญ
บังเอิญสหายคนหนึ่งไม่มีภรรยา
สหายเหล่านั้นจึงไปหาหญิงโสเภณีคนหนึ่งมาให้เป็นเพื่อนร่วมความสำราญ
ครั้นเผลอไป ไม่ระแวดระวัง หญิงโสเภณีคนนั้น
ได้ลักเอาเครื่องแต่งกายและสิ่งของอันมีค่าหนีไป
มานพทั้ง 30 คนนั้น จึงออกเที่ยวติดตาม
มานพทั้ง 30 คนนั้น จึงออกเที่ยวติดตาม
มาพบพระบรมศาสดาที่ไร่ฝ้ายนั้น
มานพเหล่านั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา
ทูลถามว่าพระองค์ได้ทรงเห็นหญิงผู้นั้นมาทางนี้หรือไม่
พร้อมกับได้ทูลถึงพฤติการณ์ของหญิงนั้นให้ทราบด้วย
พระบรมศาสดาได้ทรงตรัสว่า
พระบรมศาสดาได้ทรงตรัสว่า
“ภัททวัคคีย์ ท่านทั้งหลายจะแสวงหาหญิงผู้นั้นดี หรือจะแสวงหาตนของตนดี”
ครั้นสหายเหล่านั้นกราบทูลว่า แสวงหาตนดีกว่า
จึงรับสั่งว่าถ้าเช่นนั้นจงตั้งใจฟัง เราจะแสดงธรรมแก่ท่านทั้งหลาย
แล้วทรงแสดง อนุปุพพกถา และ อริยสัจ 4 ให้ภัททวัคคีย์มานพทั้ง 30 นั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม
ประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ แล้วทรงสั่งสอนให้บรรลุอริยผลเบื้องสูง
ทรงส่งไปประกาศพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสาวก 60 องค์ก่อนนั้น
พระอริยสงฆ์คณะนี้ได้กราบทูลลาเดินทางไปยังเมืองปาวา
ข้างใต้แห่งแว่นแคว้นโกศลชนบท
ครั้นพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกเหล่าภัททวัคคีย์ไปแล้ว
ก็เสด็จตรงไปยังอุรุเวลาประเทศ อันตั้งอยู่ในเขตเมืองราชคฤห์มหานคร
ซึ่งเป็นที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปอาจารย์ใหญ่ของชฎิล 500
ราชคฤห์นครนั้น เป็นเมืองหลวงแห่งมคธรัฐ ซึ่งเป็นมหาประเทศ
กรุงราชคฤห์..เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ
ราชคฤห์นครนั้น เป็นเมืองหลวงแห่งมคธรัฐ ซึ่งเป็นมหาประเทศ
พระเจ้าพิมพิสารมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองโดยสิทธิขาด
เป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ ตลอดการค้าขาย
เป็นที่รวมอยู่แห่งบรรดาคณาจารย์ เจ้าลัทธิมากในสมัยนั้น
ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้น
ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้น
ท่านอุรุเวลกัสสป เป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นอันมาก
ท่านอุรุเวลกัสสป เป็นนักบวชจำพวกชฎิล
ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปะโคตร
ท่านอุรุเวลกัสสปเป็นพี่ชายใหญ่ มีชฎิล 500 เป็นบริวาร
ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา
ต้นแม่น้ำเนรัญชรานที ตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า อุรุเวลกัสสป
น้องคนกลาง มีชฎิลบริวาร 300 ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสป
ส่วนน้องคนเล็ก มีชฎิลบริวาร 200
ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่คุ้งใต้แห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้นต่อไปอีกตำบลหนึ่ง
ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะประเทศ จึงได้นามว่า คยากัสสป
ชฎิลคณะนี้ทั้งหมดมีทิฏฐิหนักในการบูชาเพลิง
พระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอาศรมสถานของท่านอุรุเวลกัสสปในเวลาเย็น
โปรดพระอุรุเวลกัสสปะ
พระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอาศรมสถานของท่านอุรุเวลกัสสปในเวลาเย็น
จึงเสด็จตรงไปพบอุรุเวลกัสสปทันที ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสัก 1 ราตรี
อุรุเวลสสปรังเกียจทำอิดเอื้อน ไม่พอใจให้พัก
เพราะเห็นพระบรมศาสดาเป็นนักบวชต่างจากลัทธิของตน
พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก ครั้นพระบรมศาสดาตรัสขอพักที่โรงไฟ
ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเพลิงของชฎิล ด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย
ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปได้ทูลว่า
พระองค์อย่าพอใจพักที่โรงไฟเลย
ด้วยเป็นที่อยู่ของพระยานาคมีพิษร้ายแรงทั้งดุร้ายที่สุดอาศัยอยู่
จะได้รับความเบียดเบียนจากนาคราชนั้น ให้ถึงอันตรายแก่ชีวิต
เมื่อพระบรมศาสดารับสั่งยืนยันว่า
นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย
ถ้าท่านอุรุเวลกัสสปอนุญาตให้เข้าอยู่
ท่านอุรุเวลกัสสปจึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ก็เสด็จเข้าไปยังโรงไฟนั้น
ทรงปราบพระยานาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ก็เสด็จเข้าไปยังโรงไฟนั้น
ประทับนั่งดำรงพระสติ ต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพระยานาคเห็นพระบรมศาสดาเสด็จเข้ามาประทับในที่นั้นก็มีจิตคิดขึ้งเคียด
จึงพ่นพิษตลบไป ในลำดับนั้น
พระบรมศาสดาก็ทรงพระดำริว่า
ควรที่ตถาคตจะแสดงอิทธานุภาพให้เป็นควันไปสัมผัสมังสฉวีและเอ็นอัฎฐิแห่งพระยานาคนี้
ระงับเดชพระยานาคให้เหือดหายแล้วก็ทรงสำแดงอิทธาภิสังขารดังพระดำรินั้น
พระยานาคมิอาจจะอดกลั้นซึ่งความพิโรธได้ ก็บังหวนพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น
พระบรมศาสดาก็สำแดงเตโชกสิณสมสบัติบันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ
และเพลิงทั้งสองฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสง แดงสว่าง ดุจเผาผลาญซึ่งโรงไฟให้เป็นเถ้าธุรี
ส่วนชฎิลทั้งหลายก็แวดล้อมรอบโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้มีสิริรูปงามยิ่งนัก
เสียดายที่เธอมาวอดวายเสียด้วยพิษแห่งพระยานาคในที่นั้นครั้นล่วงสมัยราตรีรุ่งเช้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็กำจัดฤทธิ์เดชพระยานาคให้อันตรธานหาย บันดาลให้นาคนั้นขดกายลงในบาตร
แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป ตรัสบอกว่า
พระยานาคนี้สิ้นฤทธิเดชแล้ว
อุรุเวลกัสสปเห็นดังนั้นก็ดำริว่า พระสมณะนี้มีอานุภาพมาก
ระงับเสียซึ่งฤทธิ์พระยานาคให้อันตรธานพ่ายแพ้ไปได้
ถึงดังนั้นไซร้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา มีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์
จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิด
ข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหารให้ฉันทุกวันเป็นนิต
พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง
พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง
ใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปชฎิลนั้น
ครั้นสมัยราตรีเป็นลำดับท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมโลกนาถ
ถวายอภิวาทและประดิษฐานยืนอยู่ใน 4 ทิศ มีทิพยรังสีสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง 4 ทิศ
ครั้นเวลาเช้า อุรุเวลกัสสปจึงเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลว่า
นิมนต์พระสมณะไปฉันภัตตาหารเถิดข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว
แต่เมื่อคืนนี้เห็นรัศมีสว่างไปทั่วพนัสมณฑลสถาน
บุคคลผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง 4
พระบรมศาสดาจึงตรัส บอกว่า
ดูกรกัสสปนั้นคือ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม
อุรุเวลกัสสปได้สดับดังนั้น ก็ดำริว่า พระมหาสมณะองค์นี้มีอานุภาพมาก
ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก
ถึงกระนั้นก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
ท้าวสักกะเข้าอุปัฎฐากพระศาสดา
พระบรมศาสดา เสด็จมากระทำภัตตกิจ
เสวยภัตตาหารของอุรุเวลกัสสปเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับมาสู่ทิวาวิหารในพนาสณฑ์นั้น
ครั้นรัตติกาลสมัย ท้าวสหัสสนัยก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา
ถวายนมัสการแล้วยืนอยู่ที่ควรข้างหนึ่ง
เปล่งรัศมีสว่างดุจกองอัคคีใหญ่ไพโรจน์ยิ่งกว่าราตรีก่อน
ครั้นเพลารุ่งเช้า กัสสปชฎฎิลไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหาร
แล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน
ตรัสบอกว่า ดูกรกัสสป เมื่อคืนนี้ท้าวโกสีย์สักกเทวราชลงมาสู่สำนักตถาคต
เพื่อจะฟังธรรม ชฎิล ได้สดับดังนั้น ก็ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจนัยก่อน
พระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของกัสสปดาบส
พระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของกัสสปดาบส
แล้วก็กลับมาอยู่ทิวาวิหารยังพนัสฐานที่นั้น
ครั้นเข้าสมัยราตรีท้าวสหัมบดีมหาพรหม
ก็ส่งมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปกว่าสองราตรีนั้น
ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปก็ไปทูลอาราธนาฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามอีก
ตรัสตอบว่า คืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหมลงมาสู่สำนักตถาคต
กัสสปดาบสก็ดำริดุจนัยก่อนพระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของอุรุเวลชฎิล แล้วก็กลับมาสู่สำนัก
ในวันรุ่งขึ้น มหายัญญลาภบังเกิดขึ้นแก่อุรุเวลชฎิล
คือชนชาวอังครัฐทั้งหลาย จะนำเอาขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมาก
มาถวายแก่อุรุเวลชฎิล ๆ จึงดำริแต่ในราตรีว่า
รุ่งขึ้นพรุ่งนี้มหาชนจะนำเอาเอนกนานาหารมาสู่สำนักอาตมา
หากพระสมณะรูปนี้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์
ลาภสักการะก็จะบังเกิดแก่เธอเป็นอันมาก
อาตมาจักเสื่อมสูญจากสรรพสักการบูชา
ทำไฉน ณ วันพรุ่งนี้อย่าให้เธอมาสู่ที่นี้ได้
สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบความดำริของชฎิลด้วยเจโตปริญาณ
สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบความดำริของชฎิลด้วยเจโตปริญาณ
ครั้นเพลารุ่งเช้าก็เสด็จไปสู่อุตตรกุรุทวีป
ทรงบิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้ว ก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต
แล้วทรงยับยั้งอยู่ ณ ทิวาวิหารในที่นั้น ต่อเพลาสายัณหสมัยจึงเสด็จมาสู่วนสณฑ์สำนัก
ครั้นรุ่งเช้า กัสสปชฎิลไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหารและทูลถามว่า
“วานนี้พระองค์ไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ๆ ระลึกถึงพระองค์อยู่”
จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสบอกวาระน้ำจิตของชฎิลที่วิตกนั้นให้แจ้งทุกประการ
อุรุเวลกัสสปได้สดับ ตกใจ ดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีอานุภาพมากแท้
เธอล่วงรู้จิตอาตมาถึงดังนั้น ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ดังอาตมา
ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระบรมศาสดา
พระองค์เสด็จพระพุทธดำเนินไปซักผ้าบังสุกุล
ซึ่งห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในอามกสุสานะป่าช้าผีดิบ
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นกษัตริย์อุภโตสุชาติ
เสด็จจากขัตติยราชสกุลอันสูงด้วยเกียรติศักดิ์ ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ
เป็นพระสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นโมลีของโลกเห็นปานนี้แล้ว
ยังทรงลดพระองค์ลงมาซักผ้าขาวที่ห่อศพนางปุณณทาสี
ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้
เป็นกรณียะที่สุดวิสัยของเทวดาและมนุษย์ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้
มหาปฐพีใหญ่ก็กัมปนาทหวั่นไหวเป็นมหาอัศจรรย์ถึง 3 ครั้ง
ตลอดระยะทางทรงพระดำริว่า ตถาคตจะซักผ้าบังสุกุลนี้ในที่ใด ?
ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัยอมรินทราธิราชทรงทราบในพุทธปริวิตก
จึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา
สำเร็จด้วยเทวฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยอุทกวารี
แล้วกราบทูลพระชินศรีให้ทรงซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น ขณะที่ทรงซัก ก็ทรงดำริว่า
จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวโกสีย์ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่เข้าไปถวายทรงขยำด้วยพระหัตถ์
จนหายกลิ่น 4 อสุภ แล้วก็ทรงพระดำริว่าจะห้อยตากผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี
ลำดับนั้นรุกขเทพยดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก
ก็น้อมกิ่งไม้นั้นลงมาถวายให้ทรงห้อยตากจีวร
ครั้นทรงห้อยตากแล้วก็ทรงพระจินตนาว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าวสหัสสนัยก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่มาทูลถวายให้แผ่พับผ้ามหาบังสุกุลนั้น
3 ฤษีแสดงตนเป็นสาวกและประกาศศาสนา
เพลารุ่งเช้าอรุณขึ้น อุรุเวลกัสสปไปเฝ้าพระบรมศาสดา
เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้ปรากฏมีในที่นั้นมาก่อน
และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถามพระบรมศาสดา
ตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่อกัสสปได้ฟังก็สดุ้งตกใจ
ดำริว่า พระสมณะองค์นี้มีเดชานุภาพมากยิ่งนัก
แม้ท้าวมัฆวาน ยังลงมากระทำการไวยาวัจจกิจถวาย
แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของชฎิล
สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จไปเสวยภัตตาหารของชฎิล
แล้วก็กลับมาสถิตยังพนาสณฑ์ตำบลที่อาศัย
ครั้นรุ่งขึ้นในวันเป็นลำดับ กัสสปชฎิลไปทูลนิมนต์ฉันภัตตกิจ จึงตรัสว่า
“ท่านจงไปก่อนเถิด ตถาคตจะตามไปภายหลัง”
เมื่อส่งชฎิลไปแล้ว จึงเสด็จเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีป ในป่าหิมพานต์มาแล้ว
ก็เสด็จมาถึงโรงไฟก่อนหน้าชฎิล ครั้นชฎิลมาถึงจึงทูลถามว่า
พระองค์มาทางใดจึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสบอกประพฤติเหตุแล้ว
ตรัสว่า “ดูกรกัสสป ผลหว้าประจำทวีปนี้ มีวรรณสันฐานสุคันธรสเอมโอช
ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา”
อุรุเวลกัสสปก็ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจหนหลัง
ครั้นพระศาสดาทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับไปยังพนาสณฑ์ที่สำนัก
ในวันต่อมา ได้ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เช่นนั้นอีก 4 ครั้ง คือ
ในวันต่อมา ได้ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เช่นนั้นอีก 4 ครั้ง คือ
ทรงส่งอุรุเวลกัสสปมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง
เก็บผลมะขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง
เสด็จขึ้นไปดาวดึงส์เทวโลก นำเอาผลไม้ปาริฉัตตกครั้งหนึ่ง
เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปอยู่ที่โรงไฟ
ให้ชฎิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง
วันหนึ่ง ชฎิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟ ก็มิอาจผ่าฟืนออกได้
วันหนึ่ง ชฎิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟ ก็มิอาจผ่าฟืนออกได้
จึงดำริว่าที่เป็นทั้งนี้ เพราะฤทธิ์พระมหาสมณะทำโดยแท้
พระบรมศาสดาจึงตรัสถาม ครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า
ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิด ในทันใดนั้น ชฎิลก็ผ่าฟืนออกได้ตามประสงค์
วันหนึ่ง ชฎิลทั้ง 500 ปรารถนาจะบูชาเพลิง ก่อเพลิงก็ไม่ติด
วันหนึ่ง ชฎิลทั้ง 500 ปรารถนาจะบูชาเพลิง ก่อเพลิงก็ไม่ติด
จึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว
ก็ทรงอนุญาตให้ก่อเพลิงได้ เพลิงก็ติดขึ้นทั้ง 500 กอง พร้อมกันในขณะเดียว
ชฎิลทั้งหลายบูชาเพลิงสำเร็จแล้ว จะดับเพลิง ๆ ก็ไม่ดับ จึงดำริดุจหนหลัง
พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้วก็ทรงอนุญาตให้ดับเพลิง ๆ ก็ดับพร้อมกันถึง 500 กอง
วันหนึ่ง ในเวลาหนาว ชฎิลทั้งหลายลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลงในแม่น้ำเนรัญชรานที
วันหนึ่ง ในเวลาหนาว ชฎิลทั้งหลายลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลงในแม่น้ำเนรัญชรานที
สมเด็จพระชินสีห์ ผู้ทรงพระกรุณาแก่ชฎิล ทรงดำริว่า
เมื่อชฎิลขึ้นจากน้ำแล้วจะหนาวมาก จึงทรงนิรมิตเชิงกราณประมาณ 500 อัน
มีเพลิงติดทั้งสิ้นไว้ในที่นั้น ครั้นชฎิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราณ
แล้วก็คิดสันนิษฐานว่า พระมหาสมณะคงทรงนิรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก.
วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาล ให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก
วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาล ให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก
กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ไหลท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น
ธรรมดาว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จสถิตอยู่ ณ ประเทศใด
แม้ที่นั้นน้ำท่วม ก็ทรงอธิษฐานมิให้น้ำท่วมเข้าไปในที่นั้นได้
และในครั้งนั้นก็ทรงดำริว่า ตถาคตจะยังน้ำนั้นให้เป็นขอบสูงขึ้นไป
ในทิศโดยรอบที่หว่างกลางนั้นจะมีพื้นภูมิภาคจะราบเรียบขึ้นปกติ
ตถาคตจะจงกรมอยู่ในที่นั้น แล้วก็ทรงอธิษฐานบันดาลให้เป็นดังพุทธดำรินั้น
ฝ่ายอุรุเวลกัสสปนั้น คิดว่าพระมหาสมณะนี้ น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด
หรือจะหลีกไปสู่ประเทศอื่น จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลทั้งหลาย รีบพายไปดูโดยด่วนถึง
ประเทศที่พระองค์ทรงสถิต ก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงล้อมอยู่โดยรอบ
แลเห็นพระบรมศาสดา เสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ
จึงส่งเสียงร้องเรียก พระพุทธเจ้าขานรับว่า “กัสสป ! ตถาคตอยู่ที่นี่”
แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศเลื่อนลอยลงสู่เรือของกัสสปชฎิล ๆ ก็ดำริว่า
พระมหาสมณะนี้มีอิทธิฤทธิเป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้น
ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่าอิสิปตนะมิคทายวัน
แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่าอิสิปตนะมิคทายวัน
ในวันแรมค่ำหนึ่ง เดือนกัตติมาส ( เดือน 12 ) มาประทับอยู่ที่อุรุเวลาประเทศ
จนตราบเท่าถึงวันเพ็ญ เดือน 2 เป็นเวลาสองเดือน
ทรงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ทรมานอุรุเวลกัสสป โดยเอนกประการ
อุรุเวลกัสสปก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อย่างนั้น
ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะยังชฎิลให้สลดจิตคิดสังเวชตนเอง
จึงมีพระวาจาตรัสแก่ อุรุเวลกัสสปว่า “กัสสป ตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์
อรหัตทั้งทางปฏิบัติของท่านก็ยังห่างไกลมิใช่ทางมรรคผลอันใด
ไฉนเล่าท่านจึงถือตนว่า เป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตัวเอง
ทั้ง ๆ ท่านเองก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใด
ยังทำตนลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก
กัสสป ! ถึงเวลาอันควรแล้ว ที่ท่านจะสารภาพแก่ตัวของท่านเองว่า
ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย
กัสสป ! แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ในกาลไม่นาน”
เมื่ออุรุเวลกัสสปได้สดับพระโอวาทก็รู้สึกตัว ละอายแก่ใจ
ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบท
ในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์และพระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
“กัสสป ! ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่ เป็นประธานแก่หมู่ชฎิล ๕๐๐ ท่านจงชี้แจง
ให้ชฎิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคตจึงจะให้บรรพชาอุปสมบท”
อุรุเวลกัสสปก็กราบถวายบังคมลามายังอาศรม
แล้วก็บอกชฎิลอันเป็นศิษย์ ๆ ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชา ในสำนักพระบรมครูสิ้น
แล้วชฎิลทั้งหลายก็ชวนกันลอยดาบบส บริขาร และเครื่องตกแต่งผม ชฏา สาแหรก คาน
เครื่องบูชาเพลิง ทั้งน้ำเต้า หนังสือ ไม้สามง่าม ในแม่น้ำทั้งสิ้น
แล้วก็พากันมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสทบท
พระบรมศาสดาก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน
ครั้งนั้น ท่านนทีกัสสปดาบส ผู้เป็นน้องกลาง
ครั้งนั้น ท่านนทีกัสสปดาบส ผู้เป็นน้องกลาง
เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอย น้ำมาก็ดำริว่า
ชะรอยอันตรายจะมีแก่ดาบสผู้พี่ชาย จึงใช้ให้ชฎิลสองสามคนอันเป็นศิษย์ไปสืบดู
รู้เหตุแล้ว นทีกัสสปดาบสก็พาดาบสทั้ง 300 อันเป็นศิษย์
มาสู่สำนักของท่านอุรุเวล กัสสป ถามเหตุนั้น
ครั้นทราบความแล้วก็เลื่อมใสชวนกันลอยเครื่องดาบสบริขารลงในแม่น้ำนั้น
พากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา
พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้นดุจชฎิลพวกก่อนนั้น
ฝ่ายคยากัสสปดาบส ผู้เป็นน้องน้อย
เห็นเครื่องดาบสบริขารของพี่ชายลอยน้ำลงมาจำได้ ก็คิดดุจนทีกัสสปชฎิลผู้เป็นพี่นั้น
แล้วพาดาบสทั้ง 200 อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักพระอุรุเวลกัสสป
ไต่ถามทราบความแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขารลงในกระแสชล ดุจหนหลัง
แล้วก็เข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาดังกล่าวแล้ว
พระพุทธเจ้า ทรงทรมานชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น กับทั้งชฎิลบริวาร 1,000
ให้สละเสียซึ่งทิฐิแห่งตน แล้วโปรดประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น
เสร็จแล้วก็ทรงพาพระภิกษุสงฆ์พวกนั้นไปสู่คยาสีสะประเทศ
ตรัสพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุ 1,000 นั้น ให้บรรลุพระอรหัตด้วยกันทั้งสิ้น
พระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม โดยสำราญ พอสมควรแก่กาลแล้ว
ทรงพระประสงค์จะประดิษฐานพระศาสนาให้มั่นคงที่พระนครราชคฤห์
และทรงพระประสงค์จะเปลื้องปฏิญญาที่ทรงประทานแก่พระเจ้าพิมพิสารไว้แต่แรก
จึงชวนพระอริยสาวก 1,000 องค์ มีพระอุรุเวลากัสสปเป็นประธานเสด็จไปยังมคธรัฐ
ประทับอยู่ที่ลัฏฐิวัน ใกล้พระนครราชคฤห์
จบตอน โปรด ๓ คณาจารย์ใหญ่แห่งเมืองราชคฤห์
พระพุทธพจน์ที่เกี่ยวข้อง
อาทิตตปริยายสูตร
ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
คะยายัง วิหาระติ คะยาสีเส, เสด็จประทับ ณ ตำบลคยาสีสะใกล้แม่น้ำคยา
สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ ฯ พร้อมด้วยภิกษุ ๑,๐๐๓ รูป
ตัตฺระ โข ภะคะวา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ภิกขู อามันเตสิ ฯ ทั้งหลายให้สดับเนื้อความพระพุทธภาษิตนี้ว่า
สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง ฯ ก็อะไรเล่า ที่ชื่อว่าเป็นของร้อน
จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง, ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นของร้อน
รูปา อาทิตตา, รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน
จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง. วิญญาณที่เกิดจากตา+รูป เป็นอารมณ์ร้อน
จักขุสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางตา เป็นของร้อน
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา ความรู้สึกเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, การสัมผัสทางตา เป็นตัวปัจจัย แม้อันใด
สุขัง วา ทุกขัง วา จะรู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟคือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน ฯ
โสตัง อาทิตตัง, หู เป็นของร้อน
สัททา อาทิตตา, เสียง เป็นของร้อน
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง, อารมณ์เกิดขึ้นทางหู+เสียง เป็นของร้อน
โสตะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางหู เป็นของร้อน
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นได้
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยหูสัมผัสเสียงเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา จะรู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตังฯ ร้อนเพราะอะไรเล่า ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟ คือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟ คือโทสะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟ คือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร้ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า นี้เป็นของร้อน ฯ
ฆานัง อาทิตตัง, จมูก เป็นของร้อน
คันธา อาทิตตา, กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง, อารมณ์เกิดขึ้นทางจมูก+กลิ่นเป็นของร้อน
ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางจมูก เป็นของร้อน
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์เกิดขึ้นได้
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไปคือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน
ชิวหา อาทิตตา, ลิ้นเป็นของร้อน
ระสา อาทิตตา, รสทั้งหลายเป็นของร้อน
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง, การเสวยอารมณ์ทางลิ้นเป็นของร้อน
ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางลิ้นเป็นของร้อน
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา เวทนา ความรู้สึกเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟคือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เรากล่าวว่า นี้เป็นของร้อน
กาโย อาทิตโต, กายเป็นของร้อน
โผฏฐัพพา อาทิตตา, สิ่งที่มาถูกต้องกายเป็นของร้อน
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง, การเสวยอารมณ์ทางกายเป็นของร้อน
กายะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางกายเป็นของร้อน
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟโทสะ ไฟเพราะไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า นี้เป็นของร้อน
มะโน อาทิตโต, ใจเป็นของร้อน
ธัมมา อาทิตตา, อารมณ์ที่เกิดกับใจเป็นของร้อน
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง, การเสวยอารมณ์ทางใจเป็นของร้อน
มะโนสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางใจ เป็นของร้อน
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟโทสะ ไฟเพราะไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า นี้เป็นของร้อน
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับฟังแล้ว
สุตฺวา อะริยะสาวะโก ฯ, ย่อมเห็นอยู่อย่างนี้
จักขุสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ตา
รูเปสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย รูปทั้งหลาย
จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในการเสวยอารมณ์ทางตา
จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในการสัมผัส ด้วยตา
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางตา เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
โสตัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย หู
สัทเทสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายใน เสียงทั้งหลาย
โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย อารมณ์ทีเกิดขึ้น ทางหู
โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในการสัมผัส ทางหู
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางหู เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
ฆานัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย จมูก
คันเธสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกลิ่น
ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ทางจมูก
ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัสทางจมูก
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
ชิวหายะปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ลิ้น
ระเสสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน รส
ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางลิ้น
ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางลิ้น
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางลิ้น เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
กายัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ในกาย
โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในสิ่งที่ถูกต้องทางกาย
กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางกาย
กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางกาย
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางกาย เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
มะนัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ใจ
ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในธัมมารมณ์ที่เกิดกับใจ
มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางใจ
มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางใจ
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปฺปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ไม่ยินดี
วิราคา วิมุจจะติ ฯ เพราะสิ้นกำหนัดไม่ยินดี จิตก็หลุดพ้น
วิมุตตัสฺมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง เมื่อจิตหลุดพ้น ญาณก็หยั่งรู้ว่าจิตพ้นแล้ว
โหติ ฯ
ขีณา ชาติ, อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
วุสิตัง พฺรัหฺมะจะริยัง, พรหมจรรย์บริสุทธิ์หมดจด อยู่จบแล้ว
กะตัง กะระณียัง, กิจที่ควรกระทำ ได้กระทำสำเร็จแล้ว
นาปะรัง อิตถัตตายาติ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ก็ไม่มีอีกแล้ว
ปะชานาตีติ ฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมอันเป็น
เหตุให้ใจเร่าร้อน โดยปริยายอันนี้แล้ว
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภิกษุเหล่านั้น ต่างก็มีใจยินดี ชื่นชมใน
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมัสฺมิญจะ ปะนะ ก็เมื่อตรัส เวยยากรณ์ภาษิต ละเอียดพิศดาร
เวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน, ในธรรมอันเป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน ขณะนั่นแล
ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ, ภิกษุหนึ่งพันรูปนั้นก็พ้นจากอุปาทาน
อะนุปาทายะ, ทั้งหลาย
อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ จิตหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง เพราะไม่
ยึดมั่นถือมั่น ดังนี้แล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น