ประวัติพระเทวทัต
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปประทับ ณ เมืองโกสัมพี
ครั้งนั้น ลาภสักการะบังเกิดแก่พระองค์กับทั้งภิกษุสงฆ์สาวกเป็นอันมาก
คนทั้งหลายถือสักการะ มีจีวร บิณฑบาต เภสัช อัฎฐบาน เป็นต้น เข้ามาสู่วิหาร
ถวายแก่พระสงฆ์สาวกเป็นเนืองนิตย์
ส่วนมากทุก ๆ คนที่มา ย่อมถามถึงแต่พระอัครสาวกทั้งสอง
และพระสาวกองค์อื่น ๆ ว่า ท่านอยู่ ณ ที่ใด
แล้วพากันไปเคารพนบไหว้สักการะบูชา ไม่มีใครถามถึงพระเทวทัตแม้แต่ผู้เดียว
พระเทวทัตเกิดความโทมนัสน้อยใจ
พระเทวทัตเกิดความโทมนัสน้อยใจ
ตามวิสัยของปุถุชนจำพวกที่มากด้วยความอิจฉา ฤษยา
คิดว่า เราเป็นกษัตริย์ศากยะราชสกุลเหมือนกัน
ออกบรรพชากับด้วยกษัตริย์ขัตติวงศ์นั้น ๆ แต่ไม่มีใครนับถือ ถามหา น่าน้อยใจ
เมื่อคิดดังนี้แล้ว ก็เกิดตัณหาในลาภสักการะ เข้าครอบงำจิต
คิดใคร่จะได้ลาภสักการะ สัมมานะ เคารพนับถือ
แล้วก็คิดต่อไปว่า เราจะทำบุคคลผู้ใดให้เลื่อมใส กราบไหว้บูชาดีหนอ
จึงจะบังเกิดลาภสักการะ ครั้นคิดต่อไปก็มองเห็นอุบายทันทีว่า
พระอชาตศัตรูราชกุมาร พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารนั้น ยังทรงพระเยาว์
ยังไม่รอบรู้คุณและโทษแห่งบุคคลใด ๆ ควรจะไปคบหาด้วยพระราชกุมารนั้นเถิด
ลาภสักการะก็จะพลันบังเกิดเป็นอันมาก
ครั้นดำริดังนั้นแล้ว ก็หลีกจากเมืองโกสัมพีไปสู่เมืองราชคฤห์
ครั้นดำริดังนั้นแล้ว ก็หลีกจากเมืองโกสัมพีไปสู่เมืองราชคฤห์
แล้วนิรมิตกายเป็นกุมารน้อย เอาอสรพิษ ๔ ตัว ทำเป็นอาภรณ์ประดับมือและเท้า
ขดทำเป็นเทริดบนศรีรษะ ๑ ตัว ทำเป็นสังวาลย์พันกาย ๑ ตัว
สำแดงปาฎิหาริย์ปุถุชนฤทธิ์ของตนเหาะไปยังพระราชนิเวศน์
ลอยลงจากอากาศ ปรากฎกายอยู่เฉพาะหน้าพระอชาตศัตรูราชกุมาร
ครั้นพระราชกุมารตกพระทัยกลัว ก็ทูลว่า “อาตมา คือพระเทวทัต”
แล้วเจรจาเล้าโลมให้พระราชกุมารหายกลัว
สำแดงกายเป็นพระทรงไตรจีวรและบาตร ยืนอยู่ตรงพระพักตร์พระราชกุมาร
เมื่อพระราชกุมารเห็นปาฎิหาริย์เช่นนั้น ก็ทรงเลื่อมใส เคารพนับถือ
ถวายลาภสักการะบูชาเป็นอันมาก
ภายหลัง พระเทวทัตเกิดบาปจิตคิดใฝ่สูงด้วยอำนาจตัณหา
ภายหลัง พระเทวทัตเกิดบาปจิตคิดใฝ่สูงด้วยอำนาจตัณหา
มานะครอบงำจิตคิดผิดไปว่า เราสมควรจะเป็นผู้ครองพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง
พอดำริดังนั้น ปุถุชนฤทธิ์ของตนก็เสื่อมสูญพร้อมกับจิตตุบาท
ครั้นคิดดังนั้นแล้ว ก็เดินทางมาเฝ้าพระพระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร ณ เมืองราชคฤห์
ในเวลาที่พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่มวลพุทธบริษัท
ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารมหาราชประทับเป็นประธานอยู่ เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว
พระเทวทัตได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้พระองค์ทรงชราภาพแล้ว
จงเสวยทิฎฐธรรมสุขวิหารสำราญพระกมล
มีความขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จะรับภาระธุระช่วยว่ากล่าวครอบครองภิกษุสงฆ์ทั้งปวง
ขอพระองค์จงมอบเวรพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งสิ้นให้แก่ข้าพระองค์เถิด
ข้าพระองค์จะได้ว่ากล่าวสั่งสอนแทนพระองค์สืบไป”
พระเทวทัตคิดการณ์ใหญ่ อยากเป็นประมุขสงฆ์
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับ จึงตรัสห้ามว่า “ไม่ควร”
ไม่ทรงอนุญาตให้เป็นไปตามความปรารถนาของพระเทวทัต ๆ ก็โทมนัส
ผูกอาฆาตในพระบรมศาสดา จำเดิมแต่นั้นมา
พระบรมศาสดาได้ทรงประกาศความประพฤติอันไม่ดีอันไม่งามของพระเทวทัต
ซึ่งเกิดขึ้นด้วยจิตลามกให้พระสงฆ์ทั้งหลายทราบ
เพื่อให้ภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ จะได้สังวรระวังจิตมิให้วิปริตไปตาม
ต่อมาพระเทวทัตคิดการใหญ่ ปรารถนาจะทำอันตรายแก่พระผู้มีพระภาค
จึงเข้าไปเฝ้าพระอชาตศัตรูราชกุมาร แล้วด้วยอุบายทูลว่า
แต่ก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน บัดนี้อายุของมนุษย์น้อยถอยลง
หากพระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อนพระราชบิดา
แต่เวลายังหนุ่มอยู่แล้ว ไฉนพระองค์จะได้รับราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์
เสวยพระราชสมบัติสมดังพระทัยที่ปรารถนาไว้เล่า
ฉะนั้น พระองค์จงปลงพระชนม์ชีพพระราชบิดา
จัดการสถาปนาพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ เสวยราชสมบัติเสียตั้งแต่บัดนี้เถิด
แม้อาตมาก็จะฆ่าพระสมณะโคดมเสีย
จะได้เป็นพระบรมศาสดา ปกครองพระสงฆ์ทั้งปวงเช่นเดียวกัน.
เมื่อพระอชาตศัตรูราชกุมาร ยังเยาว์พระวัย พระทัยเบา
เมื่อพระอชาตศัตรูราชกุมาร ยังเยาว์พระวัย พระทัยเบา
หลงเชื่อถ้อยคำของพระเทวทัต จึงทำปิตุฆาต
ปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์พระเจ้าพิมพิสาร
พระชนกนาถ ให้อภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สำเร็จดังปราถนา
พระเทวทัตได้พยายามทำร้ายพระบรมศาสดา
พระเทวทัตลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าด้วยวิธีต่าง ๆ
พระเทวทัตได้พยายามทำร้ายพระบรมศาสดา
โดยคบคิดกับพระเจ้าอชาติศัตรูเป็นการใหญ่ ครั้งที่หนึ่ง
ได้ใช้ให้นายขมังธนูทั้งหลาย เข้าไปทำอันตรายยิงพระบรมศาสดา
ครั้งที่สอง พระเทวทัตลอบขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฎ กลิ้งก้อนหินศิลาใหญ่ลงมาหวังจะให้ประหารพระบรมศาสดา
ขณะเสด็จขึ้น ถึงสะเก็ดศิลาได้กระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต
นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ที่พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นนาถะของโลก
เป็นพระบรมครูขอเทพยดาและมวลมนุษย์
ครั้งที่สาม พระเทวทัตให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี
ช้างพระที่นั่งกำลังซับมันดุร้าย
เพื่อให้ทำอันตรายพระชนม์ชีพพระบรมศาสดา
ในเวลาเสด็จออกบิณฑบาต แต่ช้างนาฬาคีรีก็ไม่ทำร้ายพระองค์
ครั้งนั้น พระอานนท์เถระเจ้า มากด้วยความกตัญญู สละชีวิตถวายเป็นพุทธบูชา
ครั้งนั้น พระอานนท์เถระเจ้า มากด้วยความกตัญญู สละชีวิตถวายเป็นพุทธบูชา
โดยกลัวว่าช้างนาฬาคีรีจะทำร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ออกไปยืนกั้นหน้าช้างนาฬาคีรีไว้ เพื่อให้ช้างทำลายชีวิตท่าน
ปรารถนาจะป้องกันพระบรมศาสดา
ในทันใดนั้น พระบรมศาสดาได้ทรงช้างนาฬาคีรีให้หมดพยศอันร้ายกาจ
หมอบยอบกายเข้าไปถวายบังคมพระบรมศาสดา
ฟังพระบรมศาสดาตรัสสอนแล้วเดินกลับเข้าสู่โรงช้าง ด้วยอาการอันสงบ
ครั้นพระผู้มีพระภาค พาพระสงฆ์เสด็จกลับยังพระเวฬุวันวิหาร
มหาชนก็พากันแซ่ซ้องร้องสาธุการ ติดตามไปยังพระเวฬุวันวิหาร
จัดมหาทานถวายครั้นเสร็จภัตตกิจแล้วพระบรมศาสดาได้ตรัสอนุปุพพิกกถาอนุโมทนา
เมื่อได้ทรงสดับคำพรรณนาถึงคุณของพระอานนท์เถระเจ้าที่ได้สละชีวิตออกไปยืนกั้นช้างนาฬาคีรี
สมเด็จพระชินสีห์ จึงประทานพระธรรมเทศนามหังสชาดก และจุลลหังสชาดก
ยกคุณของพระอานนท์เถระเจ้าที่ได้สละชีวิตถวายพระองค์แม้ในอดีตชาติ
แท้จริง การที่พระเทวทัตเกิดมีจิตบาปหยาบช้าลามก
แท้จริง การที่พระเทวทัตเกิดมีจิตบาปหยาบช้าลามก
ทำร้ายพระบรมศาสดามาก่อนนั้นก็ดี
แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารก็ดี
มิสู้จะปรากฎแพร่หลายนัก
ต่อเมื่อปล่อยช้างนาฬาคีรี ให้ประทุษร้ายพระบรมศาสดาครั้งนั้นแล้ว
ความชั่วร้ายแต่หนหลังของพระเทวทัตก็ปรากฎทั่วไป
ชาวพระนครราชคฤห์พากันโพนทนากันโกลาหลว่า
พระเทวทัตคบคิดด้วยพระเจ้าอชาติศัตรูปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร
ทำร้ายพระสัมมาพุทธเจ้า ทำกรรมชั่วช้าลามกสิ้นดี
ครั้นพระเจ้าอชาติศัตรูได้ทรงสดับข่าวติฉินร้ายแรงเช่นนั้น ก็ละอายพระทัย
ครั้นพระเจ้าอชาติศัตรูได้ทรงสดับข่าวติฉินร้ายแรงเช่นนั้น ก็ละอายพระทัย
จึงเลิกโรงทานที่จัดอาหารบำรุงพระเทวทัตและศิษย์เสียสิ้น
ทั้งไม่เสด็จไปหาพระเทวทัตเหมือนแต่ก่อน
แม้ชาวเมืองทั้งหลายก็ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ไม่พอใจให้การบำรุง
แม้พระเทวทัตไปสู่บ้านเรือนใด ๆ ก็ไม่มีใครต้อนรับ
เพียงแต่อาหารทัพพีหนึ่งก็ไม่ได้ พระเทวทัตได้เสื่อมเสียจากลาภสักการะทั้งปวง.
การหลอกลวงสืบไป เพื่อจะเเสดงว่าตนเป็นผู้เคร่งครัด
ได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
เพื่อให้พระบรมศาสดาบัญญัติให้ภิกษุทั้งหลายปฎิบัติโดยเคร่งครัด คือ…
ในวัตถุทั้ง ๕ ภิกษุรูปใด จะปฎิบัติข้อใด ให้ถือข้อนั้นโดยเคร่งครัด
- ให้อยู่ในเสนาสนะป่า เป็นวัตร
- ให้ถือบิณฑบาต เป็นวัตร
- ให้ทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร
- ให้อยู่โคนไม้ เป็นวัตร
- ให้งดฉันมังสาหาร เป็นวัตร
ในวัตถุทั้ง ๕ ภิกษุรูปใด จะปฎิบัติข้อใด ให้ถือข้อนั้นโดยเคร่งครัด
คือให้สมาทานเป็นวัตร ปฎิบัติโดยส่วนเดียว
พระบรมศาสดาไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า “ไม่ควร ควรให้ปฎิบัติได้ตามศรัทธา”
พระบรมศาสดาไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า “ไม่ควร ควรให้ปฎิบัติได้ตามศรัทธา”
ด้วยทรงเห็นว่า ยากแก่การปฎิบัติ เป็นการเกินพอดีไม่เป็นทางสายกลางสำหรับบุคคลทั่วไป
พระเทวทัตโกรธแค้น ไม่สมประสงค์ กล่าวยกโทษพระบรมศาสดา ประกาศว่า
คำสอนของตนประเสริฐกว่า ทำให้ภิกษุที่บวชใหม่ มีปัญญาน้อยหลงเชื่อ ยอมทำตนเข้าเป็นสาวก
ครั้นพระเทวทัตได้ภิกษุยอมเข้าเป็นบริษัทของตนแล้ว
ก็พยายามทำสังฆเภท แยกจากพระบรมศาสดา
เมื่อพระบรมศาสดาทรงทราบ
เมื่อพระบรมศาสดาทรงทราบ
ก็โปรดให้หาพระเทวทัตมาเฝ้า รับสั่งถาม พระเทวทัตก็ทูลตามความสัตย์
จึงทรงตรัสพระพุทธโอวาทห้ามปรามว่า
“ดูก่อนเทวทัต ท่านอย่าพึงทำเช่นนั้น อันสังฆเภทนี้เป็นครุกรรมใหญ่หลางนัก”
พระเทวทัตมิได้เอื้อเฟื้อในพระโอวาท ไปจากที่นั้น พบพระอานนท์ ในพระนครราชคฤห์
ได้บอกความประสงค์ของตนว่า
“ท่านอานนท์ จะเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าเลิกจากพระบรมศาสดา
ข้าพเจ้าเลิกจากหมู่สงฆ์ทั้งปวง ข้าพเจ้าจะทำอุโบสถสังฆกรรมเป็นการภายในแต่พวกของเราเท่านั้น”
พระอานนท์ได้นำความนั้นมากราบทูลพระบรมศาสดา เมื่อทรงทราบแล้วก็บังเกิดธรรมสังเวช
ทรงพระดำริว่า
“พระเทวทัตจะกระทำอนันตริยกรรม อันจะนำตัวให้ไปทนทุกข์อยู่ในอเวจีมหานรก”
แล้วทรงอุทานว่า
“กรรมใดไม่ดีด้วย ไม่เป็นประโยชน์ด้วย กรรมนั้นทำได้ง่าย
ส่วนกรรมใดดีด้วย มีประโยชน์ด้วย กรรมนั้นทำได้ยากยิ่งนัก”
พระเทวทัตทำสังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน)
ในที่สุด พระเทวทัตก็ประชุมภิกษุ ส่วนมากเป็นชาววัชชี บวชใหม่ ในโรงอุโบสถ
ประกาศทำสังฆเภท จักระเภท แยกออกจากหมู่สงฆ์ทั้งปวง
แล้วพาภิกษุเหล่านั้นไปยังตำบลคยาสีสะประเทศ
ครั้นพระบรมศาสดาได้ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว
ครั้นพระบรมศาสดาได้ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว
ทรงดำรัสให้พระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานะเถระ
ไปนำภิกษุพวกนั้นกลับ อัครสาวกทั้งสองรับพระบัญชาแล้วไปที่คยาสีสะประเทศนั้น
แนะนำพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้น ให้กลับใจ
ด้วยอำนาจเทศนาปาฎิหาริย์และอิทธิปาฎิหาริย์ต่างๆ ให้ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอมตธรรม
กล่าวโทษแก่พระเทวทัต ที่ไปคบค้าด้วยพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
ให้พระอัครสาวกทั้งสองพาภิกษุทั้งหลายกลับไปหมดสิ้น
แล้วประหารพระเทวทัตที่ทรงอก ด้วยเท้าอย่างแรงด้วยกำลังโทสะ เป็นเหตุให้พระเทวทัตเจ็บปวดอย่างสาหัส ถึงอาเจียนเป็นโลหิต ได้รับทุกข์เวทนากล้า
พระเทวทัตอาพาธและสำนึกผิด
เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจากพระนครราชคฤห์
ไปประทับยังพระเชตวันวิหารพระนครสาวัตถีแล้ว
ต่อมาพระเทวทัตก็อาพาธหนักลง ไม่ทุเลาถึง ๙ เดือน
กลับหวลคิดถึงพระบรมศาสดา ใคร่จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย
ด้วยแน่ใจในชีวิตสังขารของตนคงจะดับสูญในกาลไม่นานนั้นเป็นแน่แท้
จึงได้ขอร้องให้ภิกษุที่เป็นสาวกของตนให้ช่วยพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุพวกนั้นกล่าวว่า
“ท่านอาจารย์เป็นเวรอยู่กับพระบรมศาสดาหนักนัก
ข้าพเจ้าทั้งหลาย หาอาจพาไปเฝ้าได้ไม่”
พระเทวทัตจึงกล่าวว่า
“ท่านทั้งปวงอย่าให้เราพินาศฉิบหายเสียเลย
แม้เราจะได้ทำเวรอาฆาตในพระผู้มีพระภาค แต่พระผู้มีพระภาคจะได้อาฆาตตอบเราแม้แต่น้อยหนึ่งก็มิได้มี
เราจะไปขมาโทษ ขอให้พระองค์อดโทษให้สิ้นโทษ
ด้วยน้ำพระทัยพระผู้มีพระภาคเปี่ยมด้วยพระกรุณา
ทรงพระการุญในพระเทวทัตก็ดี ในองคุลีมาลโจรก็ดี
ในช้างนาฬาคีรีก็ดี ในพระราหุลผู้เป็นพระโอรสก็ดี เสมอกัน”
เหตุนั้น พระเทวัตจึงขอร้อง วิงวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ
ให้ภิกษุผู้เป็นศิษย์ ช่วยนำตัวไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
บรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์มีความสงสาร
จึงพร้อมกันยกพระเทวทัตขึ้นนอนบนเตียงแล้วช่วยกันหามมา
พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตได้ทำกรรมหนัก
ไม่อาจเห็นตถาคตในอัตตภาพนี้ได้เลย”
แม้ภิกษุทั้งหลายจะได้เข้ากราบทูลให้ทรงทราบเป็นระยะ ๆ หลายหน
ถึงครั้งสุดท้าย พระเทวทัตได้ถูกหามมาใกล้พระเชตวันวิหารแล้ว
พระผู้มีพระภาค ก็ยังทรงรับสั่งเช่นเดิมอยู่อย่างนั้นอีกว่า
“ภิกษุทั้งหลาย แม้พระเทวทัต จะเข้ามาในพระเชตวัน
พระเทวทัตก็จะไม่ได้เห็นตถาคตเป็นแน่แท้”
พระเทวทัตโดนแผ่นดินสูบในวาระสุดท้าย
เมื่ออันเตวสิกทั้งหลาย หามพระเทวทัตมาถึงสระโบกขรณี
ซึ่งอยู่นอกพระเชตวันวิหาร จึงวางเตียงลงในที่ใกล้สระ
แล้วก็ชวนลงอาบน้ำในสระนั้น ส่วนพระเทวทัตก็ลุกขึ้นนั่งอยู่บนเตียง
ห้อยเท้าทั้งสองถึงพื้นดิน ประสงค์จะเหยียบยันกายขึ้นบนพื้นปฐพี
ในขณะนั้น พื้นปฐพีก็แยกออกเป็นช่อง
สูบเอาเท้าทั้งสองของพระเทวทัตลงไปในแผ่นดินโดยลำดับ
พระเทวทัตได้จมหายไปในภาคพื้น ตราบเท่าถึงคอ และกระดูกคาง วางอยู่บนพื้นปฐพี
ในเวลานั้น พระเทวทัตได้กล่าวคาถาสรรเสริญบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ในเวลานั้น พระเทวทัตได้กล่าวคาถาสรรเสริญบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“พระผู้มีพระภาค เป็นอัครบุรุษ ยอดแห่งมนุษย์และเทพดาทั้งหลาย
พระองค์เป็นสารถีฝึกบุรุษอันประเสริฐ พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยบุญญลักษณ์ถึงร้อย
และบริบูรณ์ด้วยสมันตจักษุญาณ หาที่เปรียบมิได้ ข้าพระองค์
ขณะนี้ มีเพียงกระดูกคางและศรีษะ กับลมหายใจเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว
ร่างพระเทวทัตก็จมหายลงไปในแผ่นพื้นปฐพีไปบังเกิด ในอเวจีมหานรก
ด้วยบาปไม่เคารพในพระรัตนตรัย ประทุษร้ายในพระบรมศาสดา
ทำสังฆเภทอันเป็นอนันตริยกรรม ข่าวพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ
เป็นข่าวใหญ่เกรียวกราว ได้แพร่สะพัดไปในชาวนครสาวัตถี
ไม่นานก็รู้กันทั่วกรุง โจษจันกันไปทั่วชุมนุมชน
ด้วยเพิ่งจะรู้จะได้ยิน เพิ่งจะปรากฎ ผู้หนักในธรรมก็สังเวชสลดใจ
คนใจบุญก็สดุ้งต่อปาบ เห็นบาปเป็นภัยใหญ่หลวง
คนที่เกลียดชังพระเทวทัต ก็พากันดีใจ โลดเต้นสาปแช่ง สมน้ำหน้าพระเทวทัตหนักขึ้น
ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“บัดนี้ พระเทวทัตไปบังเกิดในที่ไหน?”
พระบรมศาสดาตรัสว่า ไปบังเกิดในอเวจีมหานรก
ภิกษุทั้งหลาย คนทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
เมื่อละจากโลกนี้ไป ก็ย่อมทวีความเดือดร้อนยิ่งขึ้น
ภายหลัง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้สึกในความผิดของพระองค์
ภายหลัง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้สึกในความผิดของพระองค์
ทรงเดือดร้อนพระทัย โปรดให้หมอชีวกโกมารภัจจ์
พาพระองค์เฝ้าพระผู้มีพระภาค ซึ่งประทับอยู่ที่พระวิหารกลม
ในชีวกัมพวนาราม
ครั้นสดับพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาแล้วทรงเลื่อมใส
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ กุฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครไพศาลี
ทรงทราบว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา
ซึ่งประทับอยู่กบิลพัสดุ์นคร ทรงประชวรหนัก
อาศัยที่ทรงสมบูรณ์ด้วยพระกตัญญูกตเวทีตาธรรม
จึงเสด็จไปเยี่ยมพระพุทธบิดา พร้อมด้วยพระสาวกเป็นอันมาก
ทรงบำเพ็ญปิตุปัฏฐานธรรมถวายการพยาบาลตามพุทธวิสัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น