พุทธประวัติ ตอน ๑๐ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอบรมปุราณชฎิล
จนได้อุปสมบทและได้ฟังธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว
ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะนั้นตามพระพุทธอัธยาศัยแล้ว
ก็ได้ทรงนำภิกษุทั้งหมดนั้นเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมคธรัฐ
มคธรัฐ ปรากฏตามหลักฐานต่าง ๆ ว่า ในเวลานั้นเป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมีอำนาจมาก
เมืองหลวงเรียกกันโดยมากว่า ราชคหะ
แต่ในภาษาไทยเรียกว่า ราชคฤห์
ในสมัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอุบัติขึ้นนั้น
พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พิมพิสาร
ในบาลีให้คำเรียกว่า ราชา มาคโธ เป็นคำยกย่อง
เท่ากับเป็นมหาราชแห่งแคว้นมคธ
และได้คำนำพระนามว่า เสนิโย คือมีคำต่อไปว่า เสนิโย พิมฺพิสาโร
เป็นคำไทยว่า พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นจอมทัพ
ปรากฏเรื่องว่า กรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นนครหลวงนั้น
ตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา ๕ ลูก คือ เขาคิชฌกูฏ เขาเวภาระ เขาเวปุลละ เขาอิสิคิลิ และ เขากาลกูฏ
ล้อมรอบคล้ายเป็นคอก
เพราะฉะนั้น จึงมีคำเรียกอีกคำหนึ่งว่า คิริพพชะ แปลว่า คอกเขา
เมืองหลวงเดิมว่าตั้งอยู่บนเนินเขา แต่ว่าถูกไฟไหม้บ่อย ๆ
พระเจ้าพิมพิสารจึงย้ายลงมาตั้งที่เชิงเขาข้างล่างซึ่งเป็นที่ราบ
แต่ก็ยังอยู่ในระหว่างภูเขาทั้ง 5 นั้น
ต่อมาปลายสมัยพุทธกาล
พระเจ้าอชาติศัตรูจึงได้ไปสร้างเมืองใหม่อีกเมืองหนึ่ง
ภายนอกจากวงล้อมของเขาทั้ง 5 ลูกนั้นทางทิศเหนือ
กรุงราชคฤห์เจริญมีคนมาก คณาจารย์เจ้าลัทธิไปอาศัยอยู่มาก
และก็ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทรงอุปถัมภ์ลัทธิต่าง ๆ ตามควร
หรือไม่อุปถัมภ์ก็ไม่ทรงเบียดเบียน
ปล่อยให้มีความสะดวกในการที่จะแสดงลัทธิของตน ๆ
ในสมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงได้แคว้นกาสิกคามเป็นของขวัญจากแคว้นโกศล
ในคราวทรงอภิเษกกับพระราชกนิษฐภคินีของพระเจ้าปเสนทิแห่งแคว้นโกศล
พระพุทธเจ้าได้เสด็จมุ่งไปสู่กรุงราชคฤห์ก่อน
พระพุทธเจ้าได้เสด็จมุ่งไปสู่กรุงราชคฤห์ก่อน
อย่างหนึ่งว่า เพื่อทรงเปลื้องปฏิญญา ในขณะที่เสด็จไปลองทรงศึกษาบ้าง
ทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เองบ้าง เพื่อประสบโมกขธรรม คือธรรมเป็นเครื่องพ้นทุกข์นั้น
ก่อนที่จะเสด็จไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ซึ่งเป็นสถานที่ทรงทำความเพียรจนตรัสรู้ ก็ได้ทรงผ่านกรุงราชคฤห์
และประทับอยู่ที่เขา ปัณฑวะ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงทราบ ก็ได้เสด็จไปเพื่อทรงพบ
และตามเรื่องเล่าว่า พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสถามถึงเหตุที่ทรงออกผนวช
เมื่อได้ทรงตอบแล้ว พระเจ้าพิมพิสารก็ได้รับสั่งชวนให้ทรงลาผนวช
จะทรงแบ่งราชสมบัติให้ครอบครองครึ่งหนึ่ง
พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับ เมื่อเป็นเช่นนี้
พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงขอให้เสด็จกลับมาแสดงธรรมในเมื่อได้ทรงประสบพบธรรมนั้นแล้ว
ฉะนั้น เมื่อได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
จึงได้เสด็จมายังกรุงราชคฤห์ก่อนประเทศหรือนครอื่น
อีกอย่างหนึ่ง ทรงมุ่งจะมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในที่ที่มีความเจริญก่อน
อีกอย่างหนึ่ง ทรงมุ่งจะมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในที่ที่มีความเจริญก่อน
เพราะวิธีประกาศพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้านั้น
จะเห็นได้ว่า ได้ทรงประกาศแก่นักบวช ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมา
มุ่งดีมา และเป็นผู้คงแก่เรียนมาแล้ว
ในฝ่ายคฤหัสถ์ก็ทรงมุ่งประกาศแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าคน
เช่น พระเจ้าแผ่นดิน มหาอำมาตย์ และแก่พราหมณ์คฤหัสถ์ ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียนต่าง ๆ
เมื่อบุคคลเหล่านี้ได้ดวงตาเห็นธรรม รับนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว
คนอื่น ๆ ก็นับถือตามไปด้วยเป็นอันมาก หรือไม่เช่นนั้นก็เกิดความสนใจ
ตั้งใจที่จะสำเหนียกศึกษาปฏิบัติ
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงได้แพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว
และพระพุทธเจ้าเองก็ทรงปลอดภัยจากบรรดาผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเป็นต้น
เพราะว่าได้ทรงให้บรรดาผู้มีอำนาจเหล่านั้นยอมรับนับถือ
ทั้งได้ทรงปฏิบัติพระองค์เองไม่ทรงข้องแวะกับการบ้านการเมืองทุก ๆ อย่าง
ทรงมุ่งประกาศพระพุทธศาสนาไปโดยส่วนเดียว
ดั่งจะพึงเห็นได้จากพระพุทธประวัติ
เมื่อเสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์นั้น ไม่ได้เสด็จเข้าไปทีเดียว
เมื่อเสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์นั้น ไม่ได้เสด็จเข้าไปทีเดียว
ได้ประทับพักที่ ลัฏฐิวัน อันแปลว่า สวนตาลหนุ่ม
น่าจะเป็นสถานที่สำหรับปลูกเพาะต้นตาล
พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงทราบกิตติศัพท์ คือเสียงที่พูดเล่าลือกันว่า
พระสมณโคดม ผู้ศักยบุตร ออกผนวชจากศักยตระกูล ได้เสด็จมายังกรุงราชคฤห์
เวลานี้ได้พักอยู่ที่ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม
กิตติศัพท์คือเสียงที่พูดกันระบือถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ได้ฟุ้งขจรไปว่า พระองค์เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ศาสนา
พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริบูรณ์บริสุทธิ์ทั้งหมด ฉะนั้น
การที่จะได้พบได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นกิจที่ดีที่ชอบ
ครั้นนายอุทยานบาลได้เห็นพระบรมศาสดา
พร้อมด้วยพระขีนาสพ 1,000 เป็นบริวาร ก็มีใจชื่นบานเลื่อมใส
รีบนำเรื่องเข้าไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงทราบแล้ว
ก็ทรงโสมนัสเสด็จออกจากพระนคร
พร้อมด้วยพราหมณ์และคหบดี 12 หมื่นเป็นราชบริพาร
เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังลัฏฐิวันสถาน
ถวายความเคารพในพระรัตนตรัยด้วยพระราชศรัทธา
ส่วนพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายนั้น
มีอัธยาศัยแตกต่างกัน บางพวกถวายนมัสการแล้วก็นั่ง
บางพวกก็กล่าวสัมโมทนียกถาถวายความยินดี ในการที่พระบรมศาสดาเสด็จมาสู่พระนครราชคฤห์
บางพวกถวายความยินดีที่มีโอกาสมาเข้าเฝ้า ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บางพวกก็ประกาศชื่อและโคตรของตน
บางพวกก็นั่งเฉยอยู่
บางพวกบางหมู่ก็ปริวิตกจิตคิดไปต่าง ๆ ว่า
พระสมณะโคดมบวชในสำนักท่านอุรุเวลกัสสป
หรือท่านอุรุเวลกัสสปบวชในสำนักพระสมณะโคดม
หรือใครเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กัน
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา ทรงทราบด้วยพระญาณ
ทรงพระประสงค์จะบรรเทาทิฏฐิของราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสาร
จึงทรงพระดำรัสแก่อุรุเวลกัสสปว่า
“เธอเห็นโทษในการบูชาไฟอย่างไร จึงได้เลิกละการบูชาไฟเสีย”
พระอุรุเวลกัสสปได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นว่า การบูชายัญญ์ทั้งหลายมีความใคร่ในกาม
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่พอใจ น่าปรารถนา เป็นสมุฏฐาน
เป็นเหตุแห่งความเร่าร้อนเพราะความไม่สมปรารถนาบ้าง
เพราะอารมณ์เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงบ้าง
เพราะอารมณ์เหล่านั้นไม่เป็นไปตามอำนาจบ้าง
ไม่เป็นทางให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
ข้าพระองค์จึงได้ละยัญญ์เหล่านั้นเสีย”
ครั้นพระอุรุเวลกัสสปได้กราบทูลดังนั้นแล้ว
มีความประสงค์จะสำแดงตนให้พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงกระทำจีวรเฉวียงบ่า ถวายบังคมพระบรมศาสดา กราบทูลด้วยเสียงอันดังด้วยอาการคารวะว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เป็นศาสดาของข้าพระองค์
ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า”
และกระทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 7 ชั่วลำตาล
แล้วลงมาถวายบังคมแทบพระยุคลบาท
ประกาศตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการนี้ถึง 7 ครั้ง
ยังความสงสัยของพราหมณ์และคหบดีเป็นราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารทั้ง
หมดในที่นั้น ให้เสื่อมสิ้นไป
พร้อมกับได้ความเลื่อมใสและความอัศจรรย์ในพระบรมศาสดา
ตั้งใจสดับธรรมโดยคารวะ
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงจตุราริยสัจ
โปรดพระเจ้าพิมพิสารและราชบริพาร 11 หมื่น
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล อีก 1 หมื่น
ให้ได้ความเลื่อมใสมั่นคงอยู่ในพระรัตนตรัย
เป็นอุบาสกในพระศาสนา
เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลถวายความยินดีเลื่อมใสแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันยังเป็นขัตติยราชกุมาร อยู่นั้น
หม่อมฉันได้ตั้งความปรารถนาเป็นมโนปณิธานไว้ 5 ข้อ คือ
บัดนี้ มโนปณิธานทั้ง 5 ประการ ที่หม่อมฉันตั้งไว้นั้น ได้สำเร็จแล้วทุกประการ
หม่อมฉันมีความโสมนัสเบิกบาน ในพระธรรมเทศนาเป็นอย่างยิ่ง
หม่อมฉันขออาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า
กับทั้งพระสงฆ์สาวกทั้งปวงจงรับภัตตาหารของหม่อมฉันในวันพรุ่งนี้
พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณีย์
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่า พระบรมศาสดา ทรงรับอาราธนาแล้ว
ก็ถวายอภิวาททูลลา พาราชบริพารเสด็จกลับคืนเข้าพระนคร
ครั้นวันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก 1,000
โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
ครั้นนายอุทยานบาลได้เห็นพระบรมศาสดา
พร้อมด้วยพระขีนาสพ 1,000 เป็นบริวาร ก็มีใจชื่นบานเลื่อมใส
รีบนำเรื่องเข้าไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงทราบแล้ว
ก็ทรงโสมนัสเสด็จออกจากพระนคร
พร้อมด้วยพราหมณ์และคหบดี 12 หมื่นเป็นราชบริพาร
เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังลัฏฐิวันสถาน
ถวายความเคารพในพระรัตนตรัยด้วยพระราชศรัทธา
ส่วนพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายนั้น
มีอัธยาศัยแตกต่างกัน บางพวกถวายนมัสการแล้วก็นั่ง
บางพวกก็กล่าวสัมโมทนียกถาถวายความยินดี ในการที่พระบรมศาสดาเสด็จมาสู่พระนครราชคฤห์
บางพวกถวายความยินดีที่มีโอกาสมาเข้าเฝ้า ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บางพวกก็ประกาศชื่อและโคตรของตน
บางพวกก็นั่งเฉยอยู่
บางพวกบางหมู่ก็ปริวิตกจิตคิดไปต่าง ๆ ว่า
พระสมณะโคดมบวชในสำนักท่านอุรุเวลกัสสป
หรือท่านอุรุเวลกัสสปบวชในสำนักพระสมณะโคดม
หรือใครเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กัน
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา ทรงทราบด้วยพระญาณ
ทรงพระประสงค์จะบรรเทาทิฏฐิของราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสาร
จึงทรงพระดำรัสแก่อุรุเวลกัสสปว่า
“เธอเห็นโทษในการบูชาไฟอย่างไร จึงได้เลิกละการบูชาไฟเสีย”
พระอุรุเวลกัสสปได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นว่า การบูชายัญญ์ทั้งหลายมีความใคร่ในกาม
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่พอใจ น่าปรารถนา เป็นสมุฏฐาน
เป็นเหตุแห่งความเร่าร้อนเพราะความไม่สมปรารถนาบ้าง
เพราะอารมณ์เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงบ้าง
เพราะอารมณ์เหล่านั้นไม่เป็นไปตามอำนาจบ้าง
ไม่เป็นทางให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
ข้าพระองค์จึงได้ละยัญญ์เหล่านั้นเสีย”
ครั้นพระอุรุเวลกัสสปได้กราบทูลดังนั้นแล้ว
มีความประสงค์จะสำแดงตนให้พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงกระทำจีวรเฉวียงบ่า ถวายบังคมพระบรมศาสดา กราบทูลด้วยเสียงอันดังด้วยอาการคารวะว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เป็นศาสดาของข้าพระองค์
ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า”
และกระทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 7 ชั่วลำตาล
แล้วลงมาถวายบังคมแทบพระยุคลบาท
ประกาศตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการนี้ถึง 7 ครั้ง
ยังความสงสัยของพราหมณ์และคหบดีเป็นราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารทั้ง
หมดในที่นั้น ให้เสื่อมสิ้นไป
พร้อมกับได้ความเลื่อมใสและความอัศจรรย์ในพระบรมศาสดา
ตั้งใจสดับธรรมโดยคารวะ
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงจตุราริยสัจ
โปรดพระเจ้าพิมพิสารและราชบริพาร 11 หมื่น
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล อีก 1 หมื่น
ให้ได้ความเลื่อมใสมั่นคงอยู่ในพระรัตนตรัย
เป็นอุบาสกในพระศาสนา
พร ๕ ประการของพระเจ้าพิมพิสาร
เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลถวายความยินดีเลื่อมใสแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันยังเป็นขัตติยราชกุมาร อยู่นั้น
หม่อมฉันได้ตั้งความปรารถนาเป็นมโนปณิธานไว้ 5 ข้อ คือ
- ขอให้ได้รับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เสวยราชสมบัติในราชอาณาจักรนี้
- ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จมาสู่แคว้นของหม่อมฉัน
- ขอให้หม่อมฉันได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
- ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระกรุณาประทานธรรมเทศนาแด่หม่อมฉัน และ
- ขอให้หม่อมฉันได้รู้ทั่วถึงในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทาน
บัดนี้ มโนปณิธานทั้ง 5 ประการ ที่หม่อมฉันตั้งไว้นั้น ได้สำเร็จแล้วทุกประการ
หม่อมฉันมีความโสมนัสเบิกบาน ในพระธรรมเทศนาเป็นอย่างยิ่ง
หม่อมฉันขออาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า
กับทั้งพระสงฆ์สาวกทั้งปวงจงรับภัตตาหารของหม่อมฉันในวันพรุ่งนี้
พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณีย์
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่า พระบรมศาสดา ทรงรับอาราธนาแล้ว
ก็ถวายอภิวาททูลลา พาราชบริพารเสด็จกลับคืนเข้าพระนคร
กำเนิดวัดแรกในพระพุทธศาสนา (เวฬุวันมหาวิหาร)
ครั้นวันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก 1,000
เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังพระนครราชคฤห์ เสด็จสู่พระราชนิเวศน์
ขึ้นประทับยังพระบวรพุทธาอาสน์
พระเจ้าพิมพิสารมหาราช พร้อมด้วยราชบริพารทรงถวายมหาทาน
อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระหัตถ์
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสร็จการเสวยแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“ลัฏฐิวัน ที่ทรงประทับอยู่นั้นเล็ก ทั้งไกลจากชุมนุมชนเกินพอดี
ไม่สะดวกแก่ผู้มีศรัทธา มีกิจจะพึงไป หม่อมฉันขอถวายพระราชอุทยานเวฬุวันให้เป็นสังฆาราม
ด้วยเป็นสถานที่กว้างใหญ่ มีเสนาสนะเรียบร้อย ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไกลจากชุมนุมชน เงียบสงัด
ไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน ผู้มีกิจจะพึงไปถึงได้ไม่ลำบาก สมเป็นพุทธาธิวาสอันพระองค์จะทรงประทับ”
กราบทูลแล้ว ก็ทรงจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก
ให้ตกลงที่พระหัตถ์พระบรมศาสดา ถวายพระราชอุทยาน เวฬุวันเป็นสังฆาราม
เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา
พระบรมศาสดาทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆารามแล้ว
ทรงอนุโมทนา พาพระสงฆ์สาวกเสด็จกลับประทับยังพระเวฬุวันวิหาร
เป็นที่ประดิษฐานพระศาสนาอันมโหฬารทั้งงามตระการและมั่นคง
ควรแก่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งมาแต่จตุรทิศจะพึงเข้าพำนักอยู่อาศัย
เป็นความสะดวกสบายแก่สมณะเพศ ที่โลกยกย่องว่าเป็นบุญญเขตควรแก่การบูชา
มหาชนมีรัศมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
หลั่งไหลกันมาสดับธรรมเทศนาเป็นอันมากเป็นอันว่า
พระบรมศาสดาได้เริ่มประดิษฐานพระศาสนา
เป็นหลักฐานลงที่พระเวฬุวันวิหาร ณ พระนครราชคฤห์
เกียรติศักดิ์เกียรติคุณแห่งพระพุทธศาสนา ได้เริ่มแพร่ไป
ในประชุมชนตามตำบลน้อยใหญ่เป็นลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น