วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธประวัติตอน ๑๖ พุทธปรินิพพาน

พุทธปรินิพพาน 
การปรินิพพานดับขันธ์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า



ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด 
คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ 
มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน

บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ 
(อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้)

ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น 
ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ 
นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า 
แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี

ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย 
เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา"

เมื่อพระพุทธองค์ได้คิดว่าจะสมควรแก่การประกาศพระธรรมของพระองค์แล้ว 
และในพรรษาที่ ๔๔ พระอัครสาวกทั้งสองคือ 
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ได้นิพพานไปแล้ว 
และในพรรษาที่ ๔๕ นั้นพระพุทธองค์ก็ได้มีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษาพอดี 
พระพุทธองค์ก็ทรงเห็นว่าวันเวลาสำหรับการ 
จาริกสั่งสอนพระธรรมของพระองค์จวนจะสิ้นสุดลงแล้ว 
พระพุทธองค์ได้รู้สึกว่าชีวิตของพระองค์จะ ไม่ตั้งอยู่นานอีกต่อไปแล้ว 
และทรงตั้งพระทัยว่าจะเสด็จไปทางทิศเหนือ แถบตีนเขาหิมาลัยอันเป็น 
สถานที่ ที่พระพุทธองค์ทรงคุ้นเคยเป็นอย่างดีในวัยหนุ่ม 
พระพุทธองค์มีจุดประสงค์จะเสด็จพระปริ นิพพานในที่นั้น 
จึงได้เสด็จจาริกไปจากพระเวฬุวันมหาวิหารที่กรุงราชคฤห์ 
พร้อมทั้งพระอานนท์และ พระสาวกจำนวนมากมายตามเสด็จ
และเสด็จมุ่งหน้าไปยังสถานที่ที่พระพุทธองค์กำหนดไว้ว่าจะปรินิพพาน 
ซึ่งเป็นสถานที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง

ในระหว่างทาง พระพุทธองค์ได้เสด็จผ่านเมือง ปาฏลีบุตร ( ปัจจุบันเรียกว่า เมืองปัตนา) 
จากนั้นพระ พุทธองค์ก็เสด็จผ่านไปยังทิศเหนือ ผ่านเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี 
ในเมืองนี้ได้มีหญิงคณิกา (นางโสเภณี) คนหนึ่งชื่อ อัมพปาลี 
ได้ถวายสวนอัมพปาลีให้เป็นพระอาราม
โดยมีการแข่งขันกันสร้างอารามถวาย 
ระหว่างทางมีพวกหญิงคณิกาและบรรดาเจ้าชายจำนวนหนึ่งภายในนครนั้น 
จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ เสด็จต่อไปยัง หมู่บ้านเวฬุคาม ใกล้กับเมืองเวสาลี 
และพระพุทธองค์รับสั่งให้พระสาวกทั้งหลาย 
พำนักจำพรรษาจนตามความพอใจอยู่ที่นั้น 
ส่วนพระพุทธองค์เองได้ตัดสินใจ ประทับจำพรรษาใน หมู่บ้านนั้นเอง 
พร้อมทั้งพระอานนท์ อันเป็นวาระสำคัญ 
และพระองค์รู้อยู่ในพระทัยของพระองค์เอง

ในระหว่างพรรษานี้ พระพุทธองค์ทรงประชวรอย่างหนัก 
มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงจนถึงกับจะปรินิพพาน 
แต่พระพุทธองค์ทรงระงับความเจ็บปวดทรมาน 
ด้วยการเข้า เจโตสมาธิอันไร้นิมิต 
เมื่อพระพุทธองค์ทรงทุเลาจากการประชวรนั้นแล้ว 
ได้เสด็จประทับนั่งอยู่ในเงาพระวิหารแห่งหนึ่ง 
ซึ่งเป็นเวลาเที่ยงวัน บนอาสนะซึ่งพระอานนท์ได้จัดถวาย 
พระอานนท์ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า 
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มีความปลาบปลื้มยินดีหาอันเปรียบไม่ได้ 
เพราะได้เห็นพระผู้มี พระภาคเจ้ากลับทรงมีพระวรกายดีขึ้นดังเดิม 
เมื่อเวลาข้าพระองค์เห็นอาการของพระพุทธองค์ 
ในเวลา นั้น จิตใจของข้าพระองค์มืดมนแปดด้านแทบจะสิ้นสติไป 
แต่ข้าพระองค์ก็ยังคิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า 
จะยังไม่เสด็จปรินิพพานเป็นแน่ 
จนกว่าจะได้ตรัสคำแนะนำสั่งสอนอันถึงที่สุดแก่พระสาวกทั้งหลายได้ 
ถือเป็นหลักประพฤติปฏิบัติในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จล่วงลับไปแล้ว

นับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ 
พระองค์ได้เสด็จประกาศพระพุทธศาสนา ตามสถานที่ต่าง ๆ 
เป็นเวลา ๔๕ พรรษาและอายุของพระพุทธองค์ได้ ๘๐ พรรษาพอดี 
ในเวลาที่พระองค์จำพรรษาที่ ๔๕ ที่เวฬุคาม 
และจวนที่พระองค์จะปลงพระชนมายุนั้น 
พระองค์ยังเป็นห่วงแต่พระอานนท์ที่ยังไม่เห็นธรรมบรรลุเป็น พระอรหันต์เท่านั้น 
ในวันหนึ่ง พระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ได้เสด็จไปยังป่าแห่งหนึ่ง 
แล้วพระองค์ทรง แสดง นิมิตโอภาส อิทธิบาท ๔ 
( ชื่อของพระธรรมบทนี้ มีสี่ข้อ ถ้าภาวนาเป็นประจำจะสามารถต่ออายุ ยืนยาวก่อนเวลาจะหมด) 
ส่วนนิมิตโอภาส แปลว่า พระพุทธเจ้ามีพระชนม์สิ้นสุดลงในปีนี้ 
จึงบอกให้ พระอานนท์ทูลขออาราธนานิมนต์ต่ออายุยืน 
แต่พระอานนท์นึกไม่ออก ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสถึง สามครั้ง 
ผลสุดท้ายพระพุทธองค์จึงสั่งให้พระอานนท์หลบไปข้างนอกร่มไม้ แล้วพยายาม 
จึงได้เข้ามา อาราธนา นิมนต์ไม่ให้พระพุทธองค์ปรินิพพาน 
และพระพุทธองค์ก็รับนิมนต์ ต่อมาจึงได้ตรัสต่อพระอานนท์ว่า ยัง 
อีกสามเดือนข้างหน้า วันเพ็ญในกลางเดือนหก ปีจอ 
พระพุทธองค์จะปรินิพพานที่เมือง กุสินารา

พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
ดูก่อน อานนท์ ภิกษุสงฆ์จะต้องการหวังสิ่งใดอีกจากเราพระองค์ 
เราพระองค์ได้ บัญญัติไว้ในพระธรรมพระวินัยหมดสิ้นแล้ว 
ข้อประพฤติปฏิบัติ สิ่งใดที่พระสงฆ์ควรจะรู้เพื่อการปฏิบัติ 
ให้บรรลุและรู้ถึงพระนิพพานนั้น 
เราพระองค์ก็ไม่ได้ปกปิดหรือซุกช่อนไว้เอาไว้ในข้อใดข้อหนึ่งเลย 
เราพระองค์มีความหวังดีกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอย่างแท้จริง 
เราได้เทศน์มาสั่งสอนทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ภิกษุสงฆ์ควรจะรู้ให้ถึงที่สุดแล้ว" 



"ดูก่อน อานนท์ บัดนี้เราพระองค์เป็นคนชรา และถอยหลังแล้ว 
กาลเวลาของเราพระองค์จวนจะถึงเวลาอันสมควรแล้ว 
เราพระองค์มีอายุสังขาร ๘๐ พรรษาแล้ว 
เพราะฉะนั้น พวกท่านจงได้เป็นที่พึ่งของตนเอง 
มีตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จงเอาธรรมเป็นที่พึ่งและเป็นหลักไว้ในใจ 
อย่าได้มีสิ่งอื่นเจือปนเลย ในที่สุดพระพุทธองค์ได้ตรัสเพิ่มอีกว่า 
ดูก่อน อานนท์ ภิกษุใดเป็นผู้ตั้งใจศึกษา 
ภิกษุนั้นจักเป็นผู้เจริญไปกว่าหมู่คณะและมีสติปัญญา

รุ่งอรุณของวันใหม่ ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือนสาม ปีจอ 
พระพุทธองค์ทรงรู้สึกสบายพระวรกายจนสามารถ 
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีได้ 
หลังจากเสด็จกลับจากบิณฑบาตและได้เสวยอาหารเที่ยง (ฉันเพล)แล้ว 
พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้พระอานนท์นำผ้าสำหรับรองนั่งตามเสด็จไปยัง ปาวาลเจดีย์ 
เพื่อทรงสมาธิพักผ่อน ในเวลาเที่ยงวัน 
ขณะประทับอยู่ใต้ร่มพฤกษาตามลำพังโดยพระองค์เดียว 
พระพุทธองค์ได้ตัดสินพระทัยว่าจะเข้าปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนหก (วิสาขะ) 
ในสามเดือนข้างหน้า นับแต่วันตัดสินพระทัยเช่นนี้ เรียกว่า ปลงพระชนมายุสังขาร 
( ในวันเพ็ญเดือนสาม ภายหลังพรรษานั้น 
พระอานนท์บอกว่า พระพุทธองค์ได้ตัดสินพระทัยจะปรินิพพานในเวลา ๓ เดือนข้างหน้านี้เอง )

พระอานนท์ได้กราบทูลวิงวอนว่า 
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่าปรินิพพานก่อนเลย 
ขอพระพุทธองค์ ทรงอยู่โปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์อีกต่อไป 
พระพุทธองค์ทรงตรัสต่อพระอานนท์ว่า 
ดูก่อน อานนท์ สิ่งใดที่ ตถาคตพ้นแล้ว คายออกแล้ว ตรัสแล้ว สิ่งนั้นคือ อายุสังขาร 
ตถาคตปลงแล้ว กล่าวตรัสแล้ว ตถาคตจะ ปรินิพพานเมื่อครบสามเดือนต่อจากนี้ 
ตรัสไปแล้วจะไม่คืนคำ เป็นสิ่งที่เป็นไปแล้ว 
อานนท์ สิ่งที่ล่วงไป แล้ว อย่าคิดถึงอีกเลย 
เราพระองค์จะไปยังป่าสาละวัน 
และท่านจงไปป่าวประกาศบอกพระภิกษุสงฆ์ 
ทั้งหลายที่อยู่ในเมืองเวสาลีให้ไปประชุมกันในที่นั้น
พระอานนท์ก็ได้ทำตามคำสั่งของพระพุทธองค์เพื่อ 
ไปป่าวประกาศแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย 
เมื่อพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้ทราบแล้วก็มาประชุมพร้อมกันที่ป่า สาละวัน 
ตามความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า 
อานนท์จึงได้เข้ากราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงทราบ 
พระสงฆ์ได้มาพร้อมแล้ว

พระพุทธองค์ได้เสด็จไปยังที่ประชุม 
เพื่อประทานพระโอวาทเป็นครั้งสุดท้าย 
พระพุทธองค์ได้ตรัสให้ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย 
ซึ่งเป็นการเตือนครั้งสุดท้ายว่า 
สิ่งสำคัญยิ่งและเป็นการแสดงถึงความหวังครั้ง 
สุดท้ายของบุคคลที่จะจากไปอย่างแท้จริง 
เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นให้พากันประพฤติปฏิบัติตาม แนวทางที่ถูกต้อง 
ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้อย่างเคร่งครัด 
เพื่อเห็นแก่ชาวโลกให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 
เพื่อประโยชน์ ความดี และเกื้อกูลสัตว์โลก ผู้หวังอันที่จะประพฤติปฏิบัติตาม 
ตัวอย่างในการประพฤติพรหมจรรย์อันสมบูรณ์ และบริสุทธิ์ ในที่สุด 
พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสเตือนอีกว่า 
ทุกอย่างที่อยู่ในวิสัยโลก ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ตั้งอยู่ทนนาน ( อนิจจัง วัตสังขารา ) 
ความบากบั่น พากเพียร เพื่อก้าวไปข้างหน้าและการทำจิตของตนให้อยู่ในทางที่ถูกต้องนั้น 
จะเป็นทางหลุดพ้น ผลสำเร็จจากการเวียนว่ายตายเกิด 
และการเป็นทุกข์ทั้งปวงของโลกมนุษย์นี้จะไม่สิ้นสุด
ถ้าไม่รู้ทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ไม่ได้

ในวันต่อมาพระพุทธองค์พร้อมกับพระอานนท์ก็ได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย 
และพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า 
ดูก่อน อานนท์ นี้เป็นการทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้ายของเราตถาคต 
เราจะเสด็จไปยังบ้านภัณฑุคาม 
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จออกาจากเมืองเวสาลีไปแสดงพระธรรมตามที่ต่าง ๆ เช่น 
หมู่บ้านภัณฑุคาม ทรงพักผ่อนบำเพ็ญ ประโยชน์แก่ประชาชนพอสมควร
แล้วเดินทางต่อไปยังบ้าน หัตถิคาม อัมพคาม ชัมพุคาม เป็นลำดับจน 
ถึงนครโภคะ ประทับพักที่อานันทเจดีย์ 
แล้วทรงแสดงมหาปเทสสี่ 
ให้เป็นหลักสำหรับพิจารณาตัดสินพระธรรมวินัยแก่ภิกษุสงฆ์ 
ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือนหก 
เหลืออีกเพียง ๑ วันจะครบรอบ ๓ เดือน 
พระพุทธ องค์เสด็จถึงเมืองปาวา 
ประทับอยู่สวนมะม่วงของนายจุนทะ 
บุตรชายของนายช่างตีทอง 
ทรงแสดงพระ ธรรมโปรดนายจุนทะ จนได้บรรลุโสดาปัตติผล 
และนายจุนทะได้อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วย 
พระสาวกไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น 
และพระพุทธองค์ก็ได้รับคำอาราธนานั้น

รุ่งอรุณของวันใหม่ ตรงกับวันเพ็ญเดือนหก ปีจอ 
เสด็จไปฉันภัตตาหารที่บ้านของนายจุนทะซึ่งเป็น 
การรับบิณฑบาตเป็นครั้งสุดท้าย พระพุทธองค์ทรงฉัน สุกรมัทวะ (หมูปั้น) 
ที่นายจุนทะทำถวาย พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งห้ามไม่ให้สาวกทุกๆ รูปฉันสุกรมัทวะนั้น 
หลังจากอนุโมทนาแล้ว เสด็จออก จากบ้านนายจุนทะ 
ในระหว่างทางทรงประชวรหนักขึ้น ถึงกับอุจจาระเป็นโลหิต 
แต่ทรงบรรเทา ทุกขเวทนานั้นด้วยกำลัง อทิวาสนักขันติ และญาณสมาบัติ

เสด็จเดินทางต่อไป ทรงพักเหนื่อยเป็นระยะ ๆ จนใกล้เมืองกุสินารา 
พระพุทธองค์ได้แวะพักเอาแรง ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง 
ในที่นั้น พระพุทธองค์ได้พบกับราชโอรสของมัลละกษัตริย์ผู้หนึ่ง ซื่อ ปุกกุสะ 
ซึ่งเคย เป็นลูกศิษย์ของอาฬารดาบส 
อาจารย์เก่าในสมัยที่พระพุทธองค์ไม่ทันได้ตรัสรู้ 
ซึ่งได้ออกเดินทางจาก เมืองกุสินาราจะไปเมืองปาวาผ่านมาพบเข้า 
จึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แสดงธรรมสันติวิหารธรรม 
โปรดปุกกุสะจนบรรลุเป็นโสดาปัตติผล แสดงตนเป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธศาสนา 
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไปตลอดชีวิต 
และได้น้อมถวายผ้าเนื้อดี มีสีทองทั้งสองผืน พระพุทธองค์ 
รับไว้ผืนหนึ่งและอีกผืนหนึ่งให้ถวายแก่พระอานนท์
ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จข้ามแม่น้ำกกุธานทีทรงพักผ่อนชั่วคราวหนึ่ง
แล้วเสด็จต่อไปถึงแม่น้ำหิรัญญวดี เขตเมืองกุสินารา



ในตอนบ่ายของวันเพ็ญเดือนหก ปีจอ 
พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ ก็ได้เข้าถึงเขตเมืองกุสินาราแล้ว 
เสด็จเข้าไปในดงไม้สาละ ที่ชานเมืองกุสินารา 
พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งให้พระอานนท์จัดแท่นบรรทม 
ในระหว่างต้นไม้ ๒ ต้นคือ ต้นไม้รัง 
เพื่อพระพุทธองค์จะบรรทมไสยยาสน์ เรียกว่า อนุฏฐานไสยาสน์
 แปลว่าไม่คิดจะลุกขึ้นอีก 
เวลานั้น ต้นสาละทั้งคู่ได้ออกดอกสะพรั่งเต็มต้น 
โปรยดอกตกถูก พระพุทธศิระ 
ดังประหนึ่งจะถวายบูชาพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นการผิดปรกติ 
เพราะเวลานั้นไม่ใช่เวลาที่ต้นสาละจะออกดอก 
พระพุธเจ้าได้ทรงตรัสต่อพระอานนท์ว่า 
"ดูก่อน อานนท์ เราพระองค์สรรเสริญการบูชาเช่นนี้ 
แต่ไม่ถือว่าเป็นการบูชาอันประเสริฐ 
เป็นการดีถ้าหากพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา 
ได้ประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยให้สมควรแก่ธรรมที่เราพระองค์ได้ตรัสไว้แล้วนั้น
เราพระองค์สรรเสริญว่า เป็นการบูชาที่ประเสริฐสุด" 
ขณะประทับอยู่ในอิริยาบทเช่นนั้น 
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตลอดเวลา 
และทรงแนะนำพระอานนท์ให้ปฏิบัติต่อพุทธสรีระ
เช่นเดียวกับการปฏิบัติพระบรมศพของเจ้าจักรพรรดิ์ทั้งหลาย



บัดนี้ พระอานนท์รู้สึกว่าพระพุทธองค์กำลังจะลาจากท่านไปโดยแท้จริงแล้ว 
ก็มีความโศกเศร้าเป็น อย่างยิ่งจนไม่สามารถจะอดกลั้นได้ จึงได้หลบตัวไปแอบอยู่ 
เพื่อร้องไห้ในที่แห่งหนึ่ง รำพันว่า 
เรายัง ไม่เป็นเช่นภิกษุทั้งหลาย เรายังต้องศึกษาต่อไปอีก 
เรายังไม่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ 
บัดนี้ พระศาสดาของเรากำลังจะล่วงลับไปโดยทิ้งเราไว้อยู่เบื้องหลัง 
เราจักอยู่แต่ผู้เดียวโดยปราศจากพระศาสดา ผู้ซึ่งมีเมตตาต่อเราตลอดมา 
น้ำตาอุ่น ๆ ได้ไหลนองเต็มหน้าของพระอานนท์ในขณะนั้น



เมื่อพระพุทธองค์ทรงลืมตาขึ้นไม่เห็นพระอานนท์อยู่ในที่นั้น 
ก็ได้ตรัสถามพระภิกษุอื่นๆ พระพุทธองค์ ถามว่า อานนท์ไปไหน 
ภิกษุทูลตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า 
อานนท์ได้หลบไปร้องไห้อยู่ในที่แห่งหนึ่งตามลำพัง 
ว่าท่านยังเป็นผู้ต้องศึกษา ยังไม่บรรลุธรรม ธรรมอันสูงสุด 
และพระศาสดาทรงมีพระ เมตตาอยู่ตลอดเวลานั้นกำลังจะล่วงลับไป 
พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า 
"ดูก่อน ภิกษุท่านจงไปตามพระ อานนท์มาเถิด 
และบอกว่าพระศาสดารับสั่งให้มาเฝ้า" 
ภิกษุนั้นได้ไปบอกให้เข้ามาเฝ้าแล้ว 
พระผู้มีพระ ภาคเจ้าได้ตรัสปลอบแก่พระอานนท์ด้วยพระทัยที่กรุณาเป็นอย่างยิ่ง

พระองค์ได้ทรงสรรเสริญพระอานนท์โดยตรัสว่า 
พระภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อน 
ล้วนแต่มีผู้อุปัฏฐากที่ประเสริฐ แต่ก็ไม่ยิ่งไปกว่าพระอานนท์ที่ได้กระทำแก่เรา 
ในกาลบัดนี้ พระพุทธ เจ้าทั้งหลายอันจะมีในอนาคตล้วนแต่จะมีอุปัฏฐากอันประเสริฐ 
แต่จะไม่ยิ่งไปกว่าพระอานนท์ที่ได้ทำแก่เราแล้ว 
ในขณะนี้พระอานนท์เป็นผู้อุปัฏฐากที่ดีที่สุด และเฉลียวฉลาดของเรา
พระอานนท์ย่อมรู้จัก กาลเวลาอันเหมาะสมที่จะให้แขกผู้มาเยี่ยมเยียนเข้ามาเฝ้า 
พระอานนท์ปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้นด้วย ถ้อยคำที่น่าปลาบปลื้มปิติยิ่งหนักหนา 
แขกทุกคนได้รับความพอใจอย่างสูงสุดจากการต้อนรับของพระอานนท์เสมอ 
เมื่อพระอานนท์กล่าวถึงเรื่องราวใดๆ คนเหล่านั้นพากันสนใจฟัง 
ที่พระอานนท์ตั้งใจ กล่าว พระอานนท์ได้เป็นผู้อุปัฏฐากที่ดีเลิศของเราพระองค์เช่นนี้ตลอดมา

ต่อจากนั้นพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า 
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระผู้มีพระภาค 
เจ้า พระองค์อย่าได้ด่วนเสด็จปรินิพพานในเขตเมืองป่าเมืองดอยที่ไม่สมควรเช่นนี้เลย 
นครใหญ่ ๆ เช่น กรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี เมืองเวสาลีและเมืองอื่นๆ ก็มีอยู่ 
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงพอพระทัย 
ที่จะเสด็จปรินิพพานในเมืองใดเมืองหนึ่งในบรรดาเมืองเหล่านั้น 
ผู้มีอำนาจวาสนาซึ่งเป็นสาวกของ พระองค์มีอยู่มากมาย 
เขาเหล่านั้นจะเอาภาระในการจัดพระศพของ พระผู้มีพระภาคเจ้าให้สมบูรณ์ ทุกประการ

ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันเพ็ญเดือนหก ปีจอ ตอนหัวค่ำ
พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่พระสงฆ์ 
ถึงเวลาใกล้พระองค์จะเสด็จพระปรินิพพาน 
พระองค์ได้ตรัสสั่งให้พระอานนท์ไปแจ้งข่าวปรินิพพานให้ บรรดากษัตริย์ทราบ 
พุทธบริษัท เหล่าประชาชนชาวเมืองให้ได้ทราบโดยทั่วถึงกัน 
ให้จัดเตรียม ดอกไม้ ธูป เทียน ไปยังป่าสาละวัน 
พระอานนท์ก็ได้จัดให้มัลละกษัตริย์เหล่านั้น พร้อมด้วยบริวารเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า

เมื่อบรรดามัลละกษัตริย์ และประชาชนเมืองกุสินาราได้ฟังข่าวพระปรินิพพานจากพระอานนท์ดังนั้น
ก็ พากันเศร้าโศก และคร่ำครวญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จปรินิพพานไวเกินไปเสียแล้ว 
ดวงประทีป ของโลกดับไวเกินไปเสียแล้ว 
ชาวเมืองกุสินาราทั้งหญิงและชาย พร้อมเด็กน้อยต่างก็พากันโศกเศร้า 
คร่ำครวญออกมาสู่ดงไม้สาละ อันเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ในขณะนั้น 
เพื่อจะได้เข้าเฝ้า และแสดงความอาลัยอาวรณ์ 
ได้กล่าวคำอำลาเป็นครั้งสุดท้ายกับพระพุทธองค์ 
ชาวเมืองกุสินาราคณะ หนึ่งๆ โดยมีผู้นำคนหนึ่งๆ 
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตามลำดับ 
และได้กล่าวถวายอาลัยใน พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกันทุกๆ คน

สุภัททะปริพาชกได้คิดในใจว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว ในคืนวันนี้ 
และเกิด ความสังหรณ์ใจขึ้นมาว่า คำที่ว่า สัมมาสัมพุทธเจ้า 
นี้เราไม่เคยได้ยินมาก่อนในโลกนี้ 
พระสมณโคดม องค์นี้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
และเป็นผู้ได้ตรัสรู้แจ้งธรรม โดยไม่มีครูบาอาจารย์ได้สอนจริงหรือ 
และพระสมณโคดมองค์นี้จะได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในคืนวันนี้ด้วย 
เราสมควรที่จะไปทูลถามข้อข้องใจ ทั้งหลายที่ค้างคาอยู่ในใจของเรากับพระองค์ 
ถ้าหากว่าเราปล่อยให้ชักช้าให้เวลาผ่านไปเราก็จะเสียใจไปตลอดชีวิตเป็นแน่ 
คิดได้ดังนั้นแล้ว จึงรีบมุ่งหน้าออกไปยังป่าสาละวันที่ชานเมืองกุสินารา 
พอไปถึงก็ เห็นพุทธบริษัททั้ง ๔ เหล่าเต็มไปในบริเวณแห่งนั้น 
สุภัททะปริพาชกพยายามหาทางเข้าไปเฝ้าให้ใกล้ 
แต่ถูกพระอานนท์ห้ามเอาไว้ 
เพราะเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จพระปรินิพพานแล้ว



ถึงแม้นว่าสุภัททะปริพาชกจะถูกห้ามจากพระอานนท์ปานใดก็ตาม 
แต่เขาก็พยายาม ร้องขอ อ้อนวอน ต่อพระอานนท์เพื่อจะขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ 
แต่พระอานนท์ก็ไม่อนุญาต
พระพุทธองค์รู้ว่า สุภัททะปริพาชกผู้ได้อุตสาหะเดินทางมาไกลและเต็มไปด้วยความเหนื่อยยากนั้น 
เวลานี้ได้เข้ามาอยู่ใน สถานที่นี้แล้วและกำลังถูกพระอานนท์ห้ามไว้อยู่ 
พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งให้พระอานนท์ไปนำเอาตัวของสุภัททะปริพาชกมาเข้าเฝ้าทันที 
เพื่อให้เขาได้ทูลถามข้อสงสัย 
พอสุภัททะทะปริพาชกเข้ามาถึง
และแสดงความคารวะตามสมควรแล้วสุภัททะปริพาชกได้ทูลถามขึ้นว่า

สุภัททะปริพาชกทูลถามว่า

ครูทั้ง ๖ คือ 
๑. ปูรณะกัสสปะ 
๒. มักขลิโคศาล 
๓. อชิตเกสกัมพล 
๔. ปกุทธะกัจจายนะ 
๕. สัญชัย เวลัฏฐบุตร 
๖. นิครนธ์นาฏบุตร 
พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้น 
ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แล้วหรือยัง 
คำถาม เหล่านี้ถูกพระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้

พระพุทธองค์ตอบ

พระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมว่า 
มรรคมีองค์ ๘ ไม่มีอยู่ในธรรม สมณะ ๔ เหล่านี้ คือ 
พระโสดา พระสกิทา พระอนาคา และพระอรหันต์ย่อมมีอยู่ด้วย



สุภัททะปริพาชกได้ฟังเพียงเท่านั้นก็หายความสงสัยในใจและได้ดวงตาเห็นธรรม
บรรลุโสดาบันแล้ว ขออุปสมบท 
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า 
ท่านเป็นคนนอกพระพุทธศาสนาต้องได้ไปอยู่ปริวาสธรรม ๔ ปีก่อน
จึงสามารถเข้ามาบวชได้ สุภัททะปริพาชกทูลตอบพระพุทธองค์ว่า 
ให้อยู่ ๔ ปีก็ได้ บัดนั้น 
พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งให้พระอานนท์รีบนำเอาสุภัททะปริพาชกไปบรรพชาเป็นสามเณรก่อน 
แล้วจึงนำเอา สามเณรสุภัททะ 
เข้าเฝ้าเพื่อพระองค์จะได้อุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ 
และพระพุทธองค์ได้อุปสมบทสามเณรสุภัททะให้เป็นโดยพิธีเอหิภิกขุ ท่านจงเป็นภิกษุเถิด

พระพุทธเจ้าได้บอกคำถามให้พระภิกษุสุภัททะ ดังนี้

เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ

เอาไปปฏิบัติ พิจารณา เมื่อพระภิกษุสุภัททะพิจารณาแล้วก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทันที 
พระสุภัททะ ได้เป็น พระสาวกและพระอรหันต์รูปสุดท้ายของพระศาสดา 
อันนี้ได้เป็นหลักฐานยืนยันว่าพระพุทธองค์ 
ทรงบำเพ็ญพุทธกิจจนถึงนาทีสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระพุทธองค์

พระพุทธเจ้าประทานโอวาทเป็นครั้งสุดท้ายแก่พระสาวกของพระพุทธองค์ว่า 
พระอรหันต์ก็ดี พระวินัย ก็ดี ที่เราตถาคตได้บัญญัติไว้แล้ว 
พระธรรมวินัยนั้นจะเป็นครูอาจารย์ของท่าน 
ในเวลาที่เราตถาคต ปรินิพพานไปแล้ว 
พระพุทธเจ้าได้ทรงเปล่งวาจาอันเป็นพระปัจฉิมโอวาทว่า 
เราขอเตือนท่านทั้ง หลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นของธรรมดา พวกท่านจงประกอบกิจทั้งปวงให้เป็น ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นด้วย ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด 
สิ้นพระสุรเสียงนี้ พระพุทธองค์ ก็สงบไปและไม่ได้ตรัสอะไรอีก 
พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์สู่พระปรินิพพานในเวลาสุดท้ายแห่งคืน 
พระจันทร์เต็มดวงของคืนวันเพ็ญเดือนหก (วิสาขะ) 
นี่เป็นการแสดงว่าพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติพุทธกิจ 
อันหนักหน่วงเป็นเวลา ๔๕ พรรษา 
โดยไม่ได้พักผ่อนจนถึงวินาทีสุดท้าย 
เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้วางสมบัติอันล้ำค่า คือ 
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ไว้ในมนุษย์โลก 
ขอให้ท่านทั้งหลายจงหมั่นเพียรปฏิบัติต่อไปเถิด สาธุ อนุโมทนามิ

การเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้านั้นเป็นไปตามลำดับ 
คือเข้าฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๒ โดยลำดับ 
ตอนนี้พระอานนท์ได้ถามพระอนุรุธว่า 
พระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานหรือยัง 
วาทะ ยิตะ นิโรธะ นี้แล้วก็กลับมาเข้าฌานที่ ๑ เข้าฌานที่ ๒ เป็นลำดับ
จนเข้าฌานที่ ๓ ที่ ๔ แล้วจึง เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน 
การที่พระอานนท์ถามเช่นนั้นก็เพราะพระอานนท์ยังไม่ทันได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ 
พระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน ภายใต้ต้นสาละ (ไม้รัง) ในวันเพ็ญเดือนหก 
ตรัสรู้กลางดิน ภายใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ในวันเพ็ญเดือนหก 
และปรินิพพานกลางดิน ภายใต้ต้นสาละในวันเพ็ญเดือนหก 
ฉะนั้น ในเดือนวิสาขะ ( เดือนหกเพ็ญ ) 
จึงเป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว 
บรรดาพระสาวกที่เป็นพระอรหันต์ทั้งหลายต่างก็เกิดธรรมสังเวช 
บรรดาพระสาวกที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลต่างก็มีความเศร้าโศกเสียใจอาลัยถึงพระบรมศาสดา 
บรรดา มัลละกษัตริย์ พระราชาทั้งหลาย 
เมื่อได้ทราบข่าวพระปรินิพพานของพระพุทธเจ้าต่างก็นำผ้าไหมสีขาว บริสุทธิ์อย่างดี ๕๐๐ 
ชุดนำมาสักการะพระบรมศพ พร้อมด้วยดอกไม้ของหอมนานาชนิดมาสักการะบูชา
พระบรมศพอยู่เป็นเวลา ๗ วัน 
พอถึงวันที่ ๘ วันอัตถะ เดือนหก แรม ๘ ค่ำ 
จึงได้เชิญพระบรมศพแห่ไป ประดิษฐานไว้ที่มกุฎพันธนเจดีย์
แล้วเตรียมการถวายพระเพลิง

การตกแต่งพระบรมศพ พระอานนท์ได้แจ้งข่าวให้ชาวมัลละกษัตริย์ทรงทราบ คือ 
ห่อพระบรมศพด้วย ผ้าขาวซับด้วยสำลี ๒ ชั้น แล้วเอาฝ้ายมัด 
เอาผ้าหุ้มห่อพระบรมศพโดยอย่างเดียวกันถึง ๕๐๐ ชั้น 
แล้ว เชิญพระบรมศพใส่โลงในพระหีบทองคำ
เชิญพระบรมศพขึ้นสู่พระสุเมรุที่ทำด้วยแก่นจันทน์สูงประมาณ ๑๖๐ ศอก 
ได้เวลาถวายพระเพลิง 
กษัตริย์มัลละ ๔ พระองค์ก็ได้นำเพลิงเข้าบรรจุ 
แต่เพลิงก็ไม่ได้ ลุกไหม้ 
จึงได้ตรัสถามพระอนุรุทธแล้วได้ความว่า 
เทพยดาที่รักษาพระบรมศพมีความปรารถนาจะให้รอพระมหากัสปปะ 
ซึ่งเป็นพระสาวกผู้ใหญ่ก่อน 
ในวันนั้นเอง พระมหากัสสปปะพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธองค์ 
พอมาถึงระหว่างกลางทางก็ได้ทราบข่าวจากอาชีวกว่า 
สมเด็จพระ บรมศาสดาได้เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานไปได้ ๗ วันแล้ว 
บรรดาพระภิกษุที่เป็นปุถุชนเมื่อได้ฟังคำ 
บอกกล่าวของอาชีวกตนนั้น ต่างล้มกลิ้งเกลือกร้องไห้ร่ำไรรำพันว่า 
โอ้ พระศาสดามาด่วนปรินิพพาน 

เสียแล้ว ดวงประทีปส่องโลกดับสูญสิ้นแล้ว 
ฝ่ายพระสาวกที่เป็นขีณาสพก็บังเกิดธรรมสังเวช 
ในขณะ นั้น ภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อ สุภัททะ กล่าวห้ามพระภิกษุสงฆ์ว่า 
ท่านทั้งหลายจะเศร้าโศกร้องไห้ร่ำไรไป ทำไม 
บัดนี้ เราพ้นจากอำนาจพระมหาสมณะแล้ว 
พระมหาสมณะเมื่อยังมีพระชนม์อยู่ย่อมกล่าวว่า 
ตักเตือนจู้จี้ บัดนี้พระมหาสมณะปรินิพพานไปแล้ว 
พวกเราปรารถนาจะทำสิ่งใดก็ได้ตามใจ ไม่มีผู้ใด ที่จะมาบังคับบัญชา ห้ามพวกเราแล้ว 

ส่วนพระมหากัสปปะได้กล่าว พระธรรมคาถา 
อนิจจัง วัตตะ สังขารา (สังขารเป็นสิ่งที่ไม่ที่ยง) 
เพื่อระงับความโศกเศร้าของพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง 
แล้วรีบพากันไปยัง มกุฎพันธนเจดีย์ ใกล้เมืองกุสินารา เข้าไปยังพระสุเมรุ 
น้อมนมัสการประกอบพิธีประทักษิณ (เวียน) พระสุเมรุอยู่ ๓ รอบ
เสร็จแล้วเขาไปยืนทางขวาเบื้องพระบาทของพระบรมศพแล้วน้อมอภิวาท กราบทูลว่า 
ข้าแต่พระบรมครู ข้าพระองค์ชื่อพระมหากัสสปะเป็นสาวกของพระองค์ 
พระองค์ทรงได้ตั้ง ข้าพระพุทธเจ้าไว้ในที่เลิศ ฝ่ายธุดงค์การปฏิบัติ 
ข้าพระองค์มีความเคารพต่อพระองค์อย่างสูงสุด 
ด้วยคำสัตย์ของข้าพระองค์นี้ 
ขอให้พระบาทยุคลจงเหยียดยื่นออกมาจากพระหีบทองคำ เพื่อรับพระหัตถ์ ทั้งสองของข้าพระองค์ 
ผู้ชื่อ กัสสปะนบน้อมอภิวาทอยู่ในบัดนี้ ( ขอนิมนต์ลอดพระบาทออกมานอก พระหีบทองคำ) 
ทันใดนั้น พระบาททั้งคู่ได้สอดออกจากผ้า ๒ ชั้นซึ่งห่อหุ้มพระวรกายอยู่ถึง ๕๐๐ ชั้น 
ออกมาปรากฎภายนอกให้เห็น 
พระมหากัสสปะก็ยื่นพระหัตถ์ทั้งสองข้างออกรับพระพุทธบาท แล้วกราบทูลว่า 
ข้าแต่พระบรมครูตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าดำรงอยู่ในอริยภูมิ 
ข้าพระพุทธบาทไม่ได้ล่วงพุทธ โอวาท 
ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ตลอดมา 
วันนี้พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ข้าพระบาทอย่างล้นเหลือ 
แต่ข้าพระบาทก็ไม่ได้อยู่ปรนนิบัติพระองค์ ขอพระองค์ทรงพระมหากรุณา 
โปรดอภัยแก่ข้าพระพุทธเจ้าในบัดนี้เถิด เมื่อพระมหากัสสปะกล่าวเสร็จแล้ว
ก็น้อมนมัสการแก่ พระบาท 
ทันใดนั้นพระบาททั้งสอง ก็กลับคืนเข้าสู่พระหีบทองคำดังเก่า 
พระเพลิงก็อภินิหารติดไหม้ขึ้น บนพระสุเมรุทันที 
เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพได้ ๗ วันแล้ว 
มัลละกษัตริย์ทั้งหลายก็นำเอาพระบรมสารีริกธาตุ 
อัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นหลังช้างแห่เข้าสู่พระนคร 
ประดิษฐาน ณ รัตนบัลลังก์ภายใต้เศวต ฉัตร 
แล้วได้จัดให้มีพิธีมหรสพสมโภชพระบรมสารีริกธาตุอยู่นานเป็นเวลา ๗ วัน เป็นอันจบพิธี

วันอัตถะมี คือ วันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีจอ 
หรือเรียกกันว่า วันถวายพระเพลิง 
ได้เป็นวันหนึ่งที่สำคัญ สืบต่อมาในทางพระพุทธศาสนามาถึงทุกวันนี้

จากนั้นได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 
คือมีมัลละกษัตริย์ ๗ พระนครยก
พลเสนามาแย่งชิงเอาพระบรมสารีริก ธาตุของพระศาสดาเจ้าเอาไปเป็นกรรมสิทธิ์ของตน 
จึงได้มีเหตุการณ์ต่อมาคือ
๑.กษัตริย์แห่งนคร กบิลพัสดุ์ 
๒.พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งนครราชคฤห์ 
๓.กษัตริย์ลิจฉวี แห่งนครเวสาลี 
๔. พูลิราชกษัตริย์ แห่งนครอัลลกัปปะ 
๕.กษัตริย์โกลิยวงศ์แห่งรามคาม 
๖.มหาพราหมณ์ แห่งเวฏฐทีปกะ 
๗.มัลละกษัตริย์ แห่งนครปาวา 
ทั้ง ๗ นครนั้น อันเป็นที่มาของพุทธมามกะ 
มัลละกษัตริย์ผู้ถึงพร้อมด้วยพระศรีรัตนตรัย 
อันเป็นที่พึ่งของตน แต่หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ปรินิพพานไปแล้ว 
ต่างก็ถือมานะทิฐิ ไม่ได้อยู่ในหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาอันควรอย่างยิ่ง 
กษัตริย์ทั้ง ๗ นั้นอันเป็นพุทธมามกะ 
ควรจะ ต้องปรองดองกันอุ้มชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป 
แต่ตรงกันข้ามในความมักใหญ่ใฝ่สูง และเห็นแก่ตัว 
จึงได้เกิดสงครามญาติชิงพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมา

ด้วยเหตุนั้นได้มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า โทณะ 
ได้กล่าวคำอธิบายต่อมัลละกษัตริย์ทั้ง ๗ นครว่า 
ดูก่อน ท่านทั้งหลาย 
เราล้วนแต่เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา 
มีพระบรมศาสดาเจ้าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันเป็นมหาบุรุษของชาวโลก 
พระองค์ได้ตรัสสั่งสอนไว้แล้วคือ ธรรมค้ำจุนโลก 
เราควรอยู่อย่างมีธรรม เคารพธรรม บูชาธรรม ปฏิบัติธรรม 
ธรรมนั้นจะนำความเจริญมาให้แก่ชาวโลก 
แต่เราเป็นผู้ทำลาย ธรรม ควรแล้วหรือ ? 
ขอท่านจงดำริพิจารณาให้ถ้วนถี่เสียก่อน 
อย่าได้ประหัตประหารกันเลย 
เพราะเราเป็นชาวพุทธเหมือนกัน 
เมื่อพราหมณ์ได้อธิบายต่อมัลละกษัตริย์ทั้งหลาย 
ทั้ง ๗ นครจึงได้ตกลงเห็นพ้องกันสามัคคีปรองดองกัน เทิดทูน 
แบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เอาไปประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพสักการะบูชา สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

1 ความคิดเห็น: