พุทธประวัติ ตอน ๖ ตรัสรู้
ทรงตั้งสัตยาธิฐาน
ส่วนพระมหาบุรุษ เสด็จลุกจากที่ประทับ
ทรงถือถาดข้าวปายาส เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ประทับบ่ายพระพักตรสู่บุรพาทิศแล้ว
ทรงปั้นข้าวปายาสเป็นปั้น ๆ ได้ 49 ปั้น เสวยจนหมด
แล้วทรงถือถาดลงสู่แม่น้ำ ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า
ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเสกสัมโพธิญาณแล้ว
ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป
แล้วทรงลอยถาดทองนั้นลงในแม่น้ำเนรัญชรา
ขณะนั้นอานุภาพพระบารมีของพระองค์ซึ่งทรงบำเพ็ญมาบริบูรณ์ดีแล้ว
ได้แสดงให้เห็นอัศจรรย์ ถาดทองนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำเนรัญชราขึ้นไปประมาณ 1 เส้น
แล้วถาดทองนั้นก็จมลงตรงนาคภพพิมาน แห่งพญากาฬนาคราช
ครั้นพระมหาบุรุษได้ทอดพระเนตรเห็นเป็นนิมิตอันดีเช่นนั้น
ก็เพิ่มความแน่พระทัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า
โดยหาความสงสัยมิได้ ก็ทรงโสมนัสเสด็จมายังสาลวัน ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ประทับพักที่ภายใต้ร่มไม้สาลพฤกษ์ พอเวลาสายันห์ตะวันบ่าย
ก็เสด็จออกจากหมู่ไม้สาละ ที่พักกลางวัน เสด็จดำเนินไปสู่ควงไม้อสัตถะโพธิพฤกษ์มณฑล
พบโสตถิยะพราหมณ์ในระหว่างทาง โสตถิยะพราหมณ์เลื่อมใส น้อมถวายหญ้าคา 8 กำ
พระมหาบุรุษรับหญ้าคาแล้ว เสด็จไปร่มไม้อสัตถนั้น ณ ด้านปราจินทิศ
ทรงอธิษฐานว่า ถ้าอาตมาจะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ขอจงเกิดเป็นรัตนบัลลังก์แก้วขึ้นรองรับพระสัพพัญญุตญาณในที่นี้
ทันใดนั้น บัลลังก์แก้วอันวิจิตรงามตะการ
ก็บรรดาลผุดขึ้นสมดังพระทัยประสงค์ ควรจะอัศจรรย์ยิ่งนัก
พระมหาบุรุษเสด็จขึ้นประทับรัตนบัลลังก์แก้ว ขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ตรงไปยังปราจินทิศ หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ไปทางลำต้นโพธิ์พฤกษ์ ก่อนที่จะเริ่มทำความเพียรโดยสมาธิจิต ได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานในพระทัยว่า ถ้าอาตมายังมิได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด แม้พระโลหิตและพระมังสะจะเหือดแห้งไป จะเหลือแต่พระตจะ(หนัง) พระนหาลุ(เอ็น) และพระอัฏฐิ (กระดูก) ก็ตามที จะไม่เลิกละความเพียร โดยเสด็จลุกไปจากที่นี้
ครั้งนั้น เทพยดาทั้งหลายพากันชื่นชมโสมนัส
มีหัตถ์ทรงซึ่งเครื่องสักการะบูชาบุบผามาลัยมีประการต่าง ๆ
พากันมาสโมสรสันนิบาตห้อมล้อม โห่ร้องซ้องสาธุการบูชาพระมหาบุรุษ
สุดที่จะประมาณ เต็มตลอดมงคลจักรวาฬนี้.
ขณะนั้น พญาวัสวดีมาราธิราช ได้สดับเสียงเทพเจ้าบันลือเสียงสาธุการ
ทรงปราบมารด้วยบารมี ๓๐ ทัศ
ขณะนั้น พญาวัสวดีมาราธิราช ได้สดับเสียงเทพเจ้าบันลือเสียงสาธุการ
ก็ทราบชัดในพระทัยว่า พระมหาบุรุษจะตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ
ทำลายบ่วงมารที่เราวางขึงรึงรัดไว้ แล้วหลุดพ้นไปได้
ก็น้อยใจ คิดฤษยา เคียดแค้น ป่าวประกาศเรียกพลเสนามารมากกว่ามาก
พร้อมด้วยสรรพาวุธและสรรพวาหนะที่ร้ายแรงเหลือที่จะประมาณเต็มไปในท้องฟ้า
พญาวัสวดีขึ้นช้างพระที่นั่งคีรีเมขล์ นิรมิตมือพันมือ ถืออาวุธพร้อมสรรพ
นำกองทัพอันแสนร้าย เหาะมาทางนภาลัยประเทศ
เข้าล้อมเขตบัลลังก์ของพระมหาบุรุษเจ้าไว้อย่างแน่นหนา
ทันใดนั้นเอง บรรดาเทพเจ้าที่พากันมาห้อมล้อมถวายสักการะบูชาสาธุการพระมหาบุรุษอยู่
เมื่อได้เห็นพญามารยกพหลพลมารมาเป็นอันมาก ต่างมีความตกใจกลัวอกสั่นขวัญหาย
พากันหนีไปยังขอบจักรวาฬ ทิ้งพระมหาบุรุษเจ้าให้ต่อสู้พญามารแต่พระองค์เดียว
เมื่อพระมหาบุรุษไม่ทรงแลเห็นผู้ใด ใครที่ไหนจะช่วยได้
ก็ทรงระลึกถึงบารมีธรรมทั้ง ๓๐ ประการ ซึ่งเป็นดุจทหารที่แก่นกล้า มีศัตราวุธครบครัน
สามารถผจญกับหมู่มาร ขับไล่ให้ปราชัยหนีไปให้สิ้นเชิงได้
และพร้อมกันมารับอาสาอยู่พร้อมมูลเช่นนั้น ก็ทรงโสมนัส ประทับนิ่งอยู่ โดยมิได้สะทกสะท้านแต่ประการใด
ฝ่ายพญามารวัสวดีเห็นพระมหาบุรุษประทับนั่งนิ่ง
มิได้หวั่นไหวแต่ประการใดก็พิโรธร้องประกาศก้อง
ให้เสนามารรุกเข้าทำอันตรายหลายประการจนหมดฤทธิ์
บรรดาสรรพาวุธศัตรายาพิษที่พุ่งซัดไป
ก็กลับกลายเป็นบุบผามาลัยบูชาพระมหาบุรุษจนสิ้น ครั้งนั้นพญามารตรัสแก่พระมหาบุรุษด้วยสันดานพาลว่า
“ ดูกรสิทธัตถะ บัลลังก์แก้วนี้ เกิดเพื่อบุญเรา เป็นของสำหรับเรา
ท่านเป็นคนไม่มีบุญ ไม่สมควรจะนั่ง จงลุกไปเสียโดยเร็ว ”
พระมหาบุรุษหน่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ก็ตรัสตอบว่า
“ดูกรพญามาร บัลลังก์แก้วนี้ เกิดขึ้นด้วยบุญของอาตมา
ที่ได้บำเพ็ญมาแต่อสังไขยยกัปป์ จะนับจะประมาณมิได้
ดังนั้น อาตมาผู้เดียวเท่านั้น สมควรจะนั่ง ผู้อื่นไม่สมควรเลย”
พญามารก็คัดค้านว่า ที่พระมหาบุรุษรับสั่งมานั้น ไม่เป็นความจริง
พญามารก็คัดค้านว่า ที่พระมหาบุรุษรับสั่งมานั้น ไม่เป็นความจริง
ให้พระองค์หาพยานมายืนยันว่า
พระองค์ได้บำเพ็ญกุศลมาจริง ให้ประจักษ์เป็นสักขีพยานในที่นี้
เมื่อพระมหาบุรุษไม่เห็นผู้อื่นใด ใครจะกล้ามาเป็นพยานยืนยันในที่นี้ได้
เมื่อพระมหาบุรุษไม่เห็นผู้อื่นใด ใครจะกล้ามาเป็นพยานยืนยันในที่นี้ได้
จึงตรัสเรียกนางวสุนธรา เจ้าแห่งธรณีว่า
“ดูกร วสุนธรา นางจงมาเป็นพยานในการบำเพ็ญกุศลของอาตมาในกาลบัดนี้ด้วยเถิด”
ลำดับนั้น วสุนธรา เจ้าแม่ธรณี ก็ชำแรกแทรกพื้นปฐพีขึ้นมาปรากฏกาย
ทำอัญชลีถวายอภิวาทพระมหาบุรุษเจ้าแล้ว ประกาศให้พญามารทราบว่า
พระมหาบุรุษ เมื่อเป็นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า
ได้บำเพ็ญบุญมามากมายตลอดกาล เหลือที่จะนับจะประมาณได้
แต่น้ำตรวจที่ข้าพเจ้าเอามวยผมรองรับไว้บนเศียรเกล้า
ก็มีมากพอจะถือไว้เป็นหลักฐานวินิจฉัยได้
นางวสุนธรากล่าวแล้วก็ประจงหัตถ์อันงามปล่อยมวยผม
บีบน้ำตรวจที่สะสมไว้ในอเนกชาติให้ไหลหลั่งออกมาเป็นทะเลหลวง
กระแสน้ำบ่าออกท่วมทับเสนามารทั้งปวงให้จมลงวอดวาย
กำลังน้ำได้ทุ่มซัดพัดช้างนาฬาคีรีเมขล์ให้ถอยล่นลงไปติดขอบจักรวาฬ
ครั้งนั้น พญามารตกตลึงเห็นเป็นอัศจรรย์ ด้วยมิได้เคยเห็นมาแต่กาลก่อน
ก็ประนมหัตถ์ถวายนมัสการ ยอมปราชัยพ่ายแพ้บุญบารมีของพระมหาบุรุษ
แล้วก็อันตรธานหนีไปจากที่นั้น
เมื่อพระมหาบุรุษทรงกำจัดมารและเสนามารให้ปราชัยด้วยพระบารมี
เมื่อพระมหาบุรุษทรงกำจัดมารและเสนามารให้ปราชัยด้วยพระบารมี
ตั้งแต่เวลาสายัณห์มิทันที่พระอาทิตย์จะอัศดงคต
ก็ทรงเบิกบานพระทัย ได้ปิติเป็นกำลังภายในสนับสนุน
เพิ่มพูนแรงปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้น
พระมหาบุรุษจึงมิได้ทรงพักให้เสียเวลา
ทรงเจริญสมาธิภาวนา ทำจิตให้แน่วแน่ ปราศจากอุปกิเลส
จนจิตสุขุมเข้าโดยลำดับ ไม่ช้าก็ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน
ซึ่งเป็นส่วนรูปสมาบัติ เป็นลำดับ จนถึงอรูปสมาบัติ ๔ บริบูรณ์
ทรงบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ต่อนั้น ก็ทรงเจริญฌาน อันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูงทั้ง ๓ ประการ
ยังองค์พระโพธิญาณให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ ตามระยะกาลแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรีนั้น คือ
ในปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ
สามารถระลึกชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้
ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ
บางแห่งเรียกว่า ทิพพจักษุ สามารถหยั่งรู้การเกิดการตาย ตลอดจนการเวียนว่ายของสัตว์ทั้งหลายอื่นได้หมด
ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ
ทรงปรีชาสามารถทำอาสวะกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปด้วยพระปัญญา
พิจารณาในปัจจยาการแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม
ก็ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในเวลาปัจจุบันสมัย รุ่งอรุโณทัย ทรงเบิกบานพระหฤทัยอย่างสูงสุดในการตรัสรู้
อย่างที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อนตลอดกาล ถึงกับทรงอุทาน เย้ยตัณหา
อันเป็นตัวการณ์ก่อให้เกิดสังสารวัฏฏทุกข์แก่พระองค์แต่เอนกชาติได้ว่า
“อเนกชาติ สํสารํ เป็นอาทิ ความว่า
นับแต่ตถาคตท่องเทียว สืบเสาะหาตัวนายช่างผู้กระทำเรือน คือ ตัวตัณหา
ตลอดชาติสงสารจะนับประมาณมิได้ ก็มิได้พบพาน
ดูกรตัณหา นายช่างเรือน บัดนี้ ตถาคตพบท่านแล้ว
แต่นี้สืบไป ท่านจะทำเรือนให้ตถาคตอีกไม่ได้แล้ว
กลอนเรือน เราก็รื้อออกเสียแล้ว ช่อฟ้า เราก็ทำลายเสียแล้ว
จิตของเราปราศจากสังขาร เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว
ได้ถึงความดับสูญสิ้นไปแห่งตัณหา อันหาส่วนเหลือมิได้โดยแท้”
ขณะนั้น อัศจรรย์ก็บังเกิดมี พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็หวั่นไหว
พฤษาชาติทั้งหลายก็ผลิตดอกออกช่องามตระการตา
เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าก็แซ่สร้องสาธุการ โปรยปรายบุบผามาลัยทำการสักการะบูชา
เปล่งวาจาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ด้วยปีติยินดี
เป็นอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีในกาลก่อน
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ก็ทรงประทับเสวยวิมุติสุขบนรัตนบัลลังก์นั้นสิ้น ๗ วัน ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว
จึงเสด็จลงจากรัตนบัลลังก์ ไปประทับอยู่ในทิศอิสานแห่งไม้มหาโพธิ์
จ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ถึง ๗ วัน สถานที่นั้นเรียกว่า “อนิมิสเจดีย์”
ต่อนั้น ทรงนิมิตรัตนจงกรมเจดีย์ เสด็จจงกรมในทิศอุดรแห่งไม้มหาโพธิ์
และทรงจงกรมอยู่ที่นี้อีก ๗ วัน
ต่อนั้นก็เสด็จไปประทับนั่งยังรัตนะฆระเจดีย์ เรือนแก้ว ในทิศปัจจิม หรือทิศพายัพ แห่งไม้มหาโพธิ์
ซึ่งเทพยดานิมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด ๗ วัน
ต่อนั้น จึงเสด็จไปประทับยังร่มไทร ซึ่งเป็นที่อาศัยพักร่มของคนเลี้ยงแพะ อันมีนามว่า อชปาลนิโครธ
ทรงขับนางมาร
ครั้งนั้น พญาวัสวดีมาร มีความน้อยใจ ที่ต้องปราชัยพ่ายแพ้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อับอายแก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ต้องยอมให้พระสิทธัตถะล่วงพ้นจากวิสัยของตนไปได้ มีใจโทมนัส จึงหนีออกจากเทวโลก ลงมานั่งในทางใหญ่แห่งหนึ่ง
ทรงขับนางมาร
ครั้งนั้น พญาวัสวดีมาร มีความน้อยใจ ที่ต้องปราชัยพ่ายแพ้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อับอายแก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ต้องยอมให้พระสิทธัตถะล่วงพ้นจากวิสัยของตนไปได้ มีใจโทมนัส จึงหนีออกจากเทวโลก ลงมานั่งในทางใหญ่แห่งหนึ่ง
ขณะนั้น นางมารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นาราคา นางอรดี
มิได้เห็นพญาวัสวดีมาร ผู้เป็นบิดาอยู่ในเทวโลก
ครั้นแลลงมาด้วยทิพพจักษุ ก็เห็นพระบิดาไปนั่งอยู่ที่ทางใหญ่ในมนุษย์โลก
นางทั้ง ๓ จึงพากันมาหาพญาวัสวดีมาร แล้วทูลถามว่า
พระบิดาทรงทุกข์ด้วยเหตุประการใด พญามารก็แจ้งความจริงใจแก่ธิดาทั้ง ๓ นั้น
นางมารธิดาทั้ง ๓ จึงทูลว่า พระบิดาอย่าทรงทุกข์ร้อนไปเลย
ข้าพเจ้าทั้ง ๓ จะรับอาสาไปทำพระสิทธัตถะให้อยู่ในอำนาจ
แล้วจะนำมาถวายพระองค์ให้จงได้
พญามารจึงตรัสว่า “ลูกเอ๋ย แต่นี้ไป ไม่มีผู้ใดจะสามารถทำพระสิทธัตถะให้อยู่ในอำนาจเสียแล้ว”
นางมารธิดาก็แย้งว่า ข้าพเจ้าทั้ง ๓ คงจะพันธนาการพระสิทธัตถะด้วยบ่วง มีราคะเป็นต้น ให้อยู่ได้
เพราะข้าพเจ้าเป็นสตรี จะพยายามไปผูกพระสิทธัตถะมาให้จงได้ในกาลบัดนี้
พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย
แล้วนางมารทั้ง ๓ ก็ทูลลาพระบิดามาสู่สำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ร่มไม้อชปาลนิโครธ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ
หม่อมฉันจะบำเรอพระยุคลบาทของพระองค์ถวาย
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มิได้ทรงเอาพระทัยใส่ในถ้อยคำของนางมารธิดาทั้ง ๓ นั้น
ทั้งมิได้ทรงลืมพระเนตรขึ้นทัศนาการดูทีท่าของธิดามารทั้ง ๓ ทรงดุษณียภาพนิ่งอยู่เป็นปกติ
นางมารก็ดำริว่า ธรรมดาบุรุษย่อมมีอัธยาสัยเสน่หาในสตรีที่มีสรีระรูปผิวพรรณสัณฐานต่าง ๆ กัน
แล้วต่างก็นิมิตเป็นนางงามต่าง ๆ แสดงท่าทางโดยมุ่งหมายจะให้เป็นที่ต้องพระทัยปรารถนา
เข้าทูลเล้าโลมดุจกาลก่อน ครั้นเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสประการใด
ก็แสดงมายาหญิง โดยอาการพิลาศ ชำเลืองเนตร ฟ้อนรำ ขับร้องมีประการต่าง ๆ
ทุกวิธีที่เห็นว่าจะคล้องน้ำพระทัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
แต่ก็ไม่สามารถจะทำให้น้ำพระทัยของพระองค์ผิดปกติ
ลำดับนั้น พระสัมพุทธเจ้าจึงออกพระโอฐขับมารธิดาว่า
“มารธิดาเอย เจ้าจงออกไปเสียให้พ้นจากที่นี้ เจ้าจะได้ประโยชน์อะไร
ในการที่มาพยายามเล้าโลมตถาคต ด้วยทุกสิ่งที่เจ้ามุ่งหมายนั้น
ตถาคตได้ทำลายเสียแล้ว เจ้าควรจะไปประเล้าประโลมบุรุษผู้มีราคะบริบูรณ์
เมื่อตถาคตไม่มีร่องรอยอะไรเลย แล้วจะนำตถาคตไปด้วยร่องรอยอะไร
ไม่เป็นผลที่มุ่งหมายอันใดแก่เจ้าดอก จงออกไปเสีย”
ในทันใดนั้นเอง ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บรรดาลให้ร่างกายอันงามของมารธิดาทั้ง ๓ นาง ซึ่งไม่เชื่อฟังพระโอวาท
พยายามออดอ้อนอิดเอื้อนอยู่อีก ได้กลับกลายร่างเป็นหญิงชรา น่าสังเวช
นางทั้ง ๓ เมื่อได้เห็นร่างกายของตนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นก็ตกใจ
พากันหนีออกจากที่นั้นโดยเร็ว และกล่าวกันว่า
เป็นความจริงดังพระบิดาของเราได้เตือนแล้วแต่แรกว่า
ไม่มีใครที่จะมาทำพระสิทธัตถะให้อยู่ในอำนาจได้แล้ว ก็อันตรธานไปจากที่นั้น
ต่อมามีพราหมณ์ผู้หนึ่ง มีนิสัยเป็นหุหุกชาติ ชอบตวาดข่มขี่ผู้อื่นด้วยวาจาว่า หึ หึ มายังที่นั้น
ได้ทูลถามถึงพราหมณ์และธรรม อันทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ว่า
“บุคคล ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่าไร และธรรมอะไร ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์”
พระองค์ตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ผู้ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึ หึ
เป็นคำหยาบ และไม่มีกิเลสอันย้อมจิตให้ติดแน่นดุจน้ำฝาด มีตนสำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวทแล้ว
มีพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว ผู้นั้น ไม่มีกิเลสเครื่องฟูในโลก แม้น้อยหนึ่ง
ควรกล่าวได้ว่าตนเป็นพราหมณ์ โดยธรรม”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสมณะว่า เป็นพราหมณ์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสมณะว่า เป็นพราหมณ์
และธรรมอันทำบุคคลให้เป็นสมณะว่า
เป็นธรรมอันทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา โดยโวหารพราหมณ์ ด้วยพระวาจานี้
พระพุทธเจ้าปางนาคปรก
ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิยังร่มไม้จิก อันมีนามว่า “มุจลินท์”
อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก ๗ วัน
ในกาลนั้นฝนตกพรำตลอด ๗ วัน พญานาคมีนามว่า “มุจลินท์นาคราช” มีอานุภาพมาก
อยู่ที่สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์พฤกษ์นั้น มีความเลื่อมใสในพระศิริวิลาศ
พร้อมด้วยพระรัศมีโอภาสอันงามล่วงล้ำเทพยดาทั้งหลาย จึงเข้าไปใกล้แล้วขดเข้าซึ่งขนดกาย
แวดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ๗ รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องปกเบื้องบนพระเศียร
มิให้ลมและฝนถูกต้องพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งล่วง ๗ วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนดจำแลงกายเป็นมานพ
เข้าไปถวายอัญชลีเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า
“ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง
ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด
คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ
คือความถือตัวออกให้หมดไปเป็นสุขอย่างยิ่ง”
ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว เสด็จออกจากร่มไม้มุจลินท์ ไปยังร่มไม้เกตุ อันมีนามว่า “ราชายตนะ”
อันอยู่ในทิศทักษิณ แห่งต้นมหาโพธิ์ เสวยวิมุติสุข ณ ที่นั้น สิ้น ๗ วัน เป็นอวสาน ในกาลนั้น
ท้าวสักกะอมรินทราธิราช ทรงดำริว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้เสวยพระกระยาหารนับแต่กาลตรัสรู้มาได้ ๔๙ วันแล้ว
จึงได้เสด็จลงมาจากเทวโลก น้อมผลสมออันเป็นทิพยโอสถเข้าไปถวาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผลสมอเสวย แล้วทรงสรีระกิจลงพระบังคม ทรงสำราญพระกายแล้ว
เสด็จเข้าประทับยังร่มไม้ราชายตนะพฤกษ์นั้น.
จบตอน ตรัสรู้
พระพุทธพจน์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
ปฐมสูตร สัมโพธิวรรค ตติยปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๓๓๒/๕๔๓.
ทรงเที่ยวแสวงเพื่อความตรัสรู้
บาลี ทุติยสูตร สัมโพธิวรรค ตติยปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๓๓๓/๕๔๔,
บาลีนี้และบาลีต่อไปที่ทรงเล่านี่เอง แสดงชัดเจนว่าทำไมจึงออกผนวช.
คือทรงเห็นว่าถ้าไม่ออก ก็ไม่มีโอกาสแสวงสิ่งที่ทรงประสงค์จะรู้.
ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้
.... อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.
ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้พยาปาทวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า พยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว, ก็พยาปาทวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่...ฯลฯ... อย่างนี้ พยาปาทวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทาพยาปาทวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.
ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็วิหิงสาวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่....ฯลฯ....อย่างนี้ วิหิงสาวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้วกระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.
ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงกามวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละเนกขัมมวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม. ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึงพยาปาทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอัพยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งพยาปาทวิตก, จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการทำสัตว์ให้ลำบาก.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝนคนเลี้ยงโคต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจากข้าวกล้านั้นด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษคือการถูกประหาร การถูกจับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ ข้อนี้ฉันใด, ภิกษุ ท.! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทรามเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย, เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้น... อัพยาปาทวิตกย่อมเกิดขึ้น....อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย, แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืน ก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดวัน, หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.
ภิกษุ ท.! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนักกายจะเมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ, เราจึงได้ดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้ ด้วยหวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการออกจากกาม. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอัพยาปาทวิตกมากก็เป็นอันว่าละพยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอัพยาปาทวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำบาก.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมดเขาขนนำไปในบ้านเสร็จแล้ว คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้งๆ พึงทำแต่ความกำหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด; ภิกษุ ท.! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท.! ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเราได้ดำรงไว้แล้วไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียวแล้ว. ภิกษุ ท.! เรานั้น เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. (คำต่อไปนี้เหมือนในตอนที่กล่าวด้วยการตรัสรู้ ข้างหน้า อันว่าด้วยรูปฌานสี่)
เทวธาวิตักกสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒, ตรัสที่เชตวัน.
เทวธาวิตักกสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒, ตรัสที่เชตวัน.
ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้
สมาธิเจ็ดอย่างในที่นี้ คงเป็นของแปลกและยากที่จะเข้าใจสำหรับนักศึกษาทั่วๆ ไป เพราะแม้แต่ในอรรถกถาของพระบาลีนี้ ก็แก้ไว้ไม่ละเอียด ท่านแก้ไว้ดังนี้ :- (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารท่านไม่แก้ เพราะได้แก่ปฐมฌานนั้นเอง จะโดยจตุกกนัยหรือปัญจกนัยก็ตาม). สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ได้แก่ ทุติยฌาน สมาธิในปัญจกนัย. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ได้แก่ฌานทั้งสามเบื้องปลายทั้งในจตุกกนัยและปัญจกนัย. สมาธิมีปีติ ได้แก่ทุกติกฌานสมาธิ. สมาธิไม่มีปีติ ได้แก่ทุกทุกฌานสมาธิ. สมาธิเป็นไปกับด้วยความยินดีได้แก่ ติกจตุกกฌานสมาธิ. สมาธิเป็นไปกับด้วยอุเบกขา ได้แก่จตุตถฌานแห่งจตุกกนัย หรือปัญจมฌานแห่งปัญจกนัย. --ปปัญจ. ภ. ๓. น. ๖๑๔.
ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียด พึงศึกษาจากตำราหรือผู้รู้สืบไป. สมาธิเหล่านี้ตามอรรถกถากล่าวว่าทรงเจริญในคืนวันตรัสรู้ที่มหาโพธิ.
บาลี อุปักกิเลสสูตร สุญญตวรรค อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๒/๔๕๒.
ตรัสแก่พระเถระ ๓ รูป คือ อนุรุทธะ นันทิยะ กิมพิละ,
ทรงอาลปนะว่า อนุรุทธทั้งหลาย ! พระบาลีตอนนี้ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญเป็นพิเศษ,
เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาสมาธิภาวนา.
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อนได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนก็จริง แต่โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่กามคุณเป็นอดีตนั้น, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต ดังนี้. ภิกษุ ท.! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่งซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทำให้เป็น เครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.
ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, แม้จิตของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อจะแล่น ก็คงแล่นไปในกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวน (เหมือนกัน) โดยมาก, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต. ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเธอผู้หวังประโยชน์แก่ตัวเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนนั้น.
บาลี จตุตถสูตร โลกกามคุณวรรค สฬา, สํ. ๑๘/๑๒๑/๑๗๓.
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความสงสัยเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเจริญแห่งอิทธิบาท?
มีข้อความอีกสูตรหนึ่ง (มหาวาร.สํ.๑๙/๓๓๙/๑๑๓๖) ซึ่งมีข้อความเหมือนกับสูตรนี้ตลอดเรื่อง, ผิดกันแต่ใช้คำว่า "เป็นเหตุ เป็นปัจจัย" แทนคำว่า "เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ" ดังที่ปรากฏอยู่ในสูตรนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า ภิกษุ นั้นๆ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ฉันทะของเราย่อมมีในลักษณะที่จักไม่ย่อหย่อน, ที่จักไม่เข้มงวดเกิน, ที่จักไม่สยบอยู่ในภายใน, ที่จักไม่ส่ายไปในภายนอก; และเราเป็นผู้มีความรู้สึกทั้งในกาลก่อนและกาลเบื้องหน้าอยู่ด้วย : ก่อนนี้เป็นเช่นใด
ต่อไปก็เช่นนั้น, ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น, เบื้องล่างเช่นใด เบื้องบนก็เช่นนั้น, เบื้องบนเช่นใดเบื้องล่างก็เช่นนั้น, กลางคืนเหมือนกลางวัน, กลางวันเหมือนกลางคืน : เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว ไม่มีอะไรพัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้.
(ข้อต่อไปอีก ๓ ข้อก็เหมือนกัน แปลกแต่ชื่อแห่งอิทธิบาท เป็น วิริยะ จิตตะ วิมังสา, เท่านั้นพระองค์ทรงพบการเจริญอิทธิบาท ด้วยวิธีคิดค้นอย่างนี้).
ภิกษุนั้น ๆ คือ นักบวชชนิดภิกษุนั้น มีอยู่ก่อนพระองค์อุบัติ.
ปฐมสูตร อโยคุฬวรรค มหาวาร. สํ.๑๙/๓๖๒/๑๒๐๕
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป, อะไรเป็นโทษของรูป, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป? อะไรหนอเป็นรสอร่อยของเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นโทษของเวทนา…สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ?
ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นแลเป็น รสอร่อยของรูป; รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทรมาน มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็นโทษของรูป; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปเสียได้ นั้นเป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้.
(ในเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ก็นัยเดียวกัน).
ภิกษุ ท.! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย ไม่รู้จักโทษว่าเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.
ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล เรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, เมื่อนั้น เราก็รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.
ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็น เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ มิได้มีอีก, ดังนี้.
นอกจากการคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์นี้แล้ว ยังมีการคิดค้นอีก ๓ เรื่อง ด้วยวิธีการณ์ที่บรรยายไว้เป็นคำพูดอย่างเดียวกันกับเรื่องนี้ ทุกระเบียบอักษร คือคิดค้นเรื่อง ธาตุสี่
บาลี อุปักกิเลสสูตร สุญญตวรรค อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๒/๔๕๒.
ตรัสแก่พระเถระ ๓ รูป คือ อนุรุทธะ นันทิยะ กิมพิละ,
ทรงอาลปนะว่า อนุรุทธทั้งหลาย ! พระบาลีตอนนี้ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญเป็นพิเศษ,
เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาสมาธิภาวนา.
ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้
บาลี จตุตถสูตร โลกกามคุณวรรค สฬา, สํ. ๑๘/๑๒๑/๑๗๓.
ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้
มีข้อความอีกสูตรหนึ่ง (มหาวาร.สํ.๑๙/๓๓๙/๑๑๓๖) ซึ่งมีข้อความเหมือนกับสูตรนี้ตลอดเรื่อง, ผิดกันแต่ใช้คำว่า "เป็นเหตุ เป็นปัจจัย" แทนคำว่า "เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ" ดังที่ปรากฏอยู่ในสูตรนี้.
ภิกษุนั้น ๆ คือ นักบวชชนิดภิกษุนั้น มีอยู่ก่อนพระองค์อุบัติ.
ปฐมสูตร อโยคุฬวรรค มหาวาร. สํ.๑๙/๓๖๒/๑๒๐๕
ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้
(นิทาน.สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๔), เรื่อง อายตนะภายในหก (สฬา.สํ.๑๘/๘/๑๓), และเรื่อง อายตนะภายนอกหก (สฬา.สํ.๑๘/๙/๑๔).
บาลี ปัญจมสูตร ภารวรรค ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอเป็นเวทนา? อะไรเป็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา? อะไรเป็นความดับไม่เหลือแห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา? อะไรเป็นรสอร่อยของเวทนา? อะไรเป็นโทษของเวทนา? อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา?
ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เวทนา ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา, เหล่านี้เรียกว่า เวทนา; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ; ตัณหาเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา; ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้องการเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง; สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น, สุขและโสมนัสนั้นแลเป็นรสอร่อยของเวทนา; เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาด้วยอาการใด, อาการนั้นเป็นโทษของเวทนา; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนาเสียได้นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนาได้ ดังนี้.
*ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่า "เหล่านี้ คือ เวทนา ท.";....ว่า "นี้ คือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา";...ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา"; ....ว่า "นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งเวทนา" : ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา"; ....ว่า "นี้ คือรสอร่อยของเวทนา"; .…ว่า "นี้คือโทษของเวทนา"; ....ว่า "นี้ คืออุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนา"; ดังนี้.
บาลี สูตรที่ ๔ เวทนาสํยุตต์ สฬา.สํ. ๑๘/๒๘๙/๔๓๙.
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และบังเกิดอีก, ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร".
ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมีเพราะปัจจัยอะไรหนอ".
ภิกษุ ท.! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา, เพราะการคิดโดยแยบคาย, แก่เราว่า "เพราะ ชาติ นี่เองมีอยู่ ชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย;
- เพราะ ภพ นี่เองมีอยู่ ชาติจึงได้มี : ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย;
- เพราะ อุปาทาน นี่เอง มีอยู่ ภพจึงได้มี : ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย;
- เพราะ ตัณหา นี่เองมีอยู่ อุปาทานจึงได้มี : อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย;
- เพราะ เวทนา นี่เองมีอยู่ ตัณหาจึงได้มี : ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย;
- เพราะ ผัสสะ นี่เองมีอยู่ เวทนาจึงได้มี : เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย;
- เพราะ สฬายตนะ นี่เองมีอยู่ ผัสสะจึงได้มี : ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย;
- เพราะ นามรูป นี่เองมีอยู่ สฬายตนะจึงได้มี : สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย;
- เพราะ วิญญาณ นี่เองมีอยู่ นามรูปจึงได้มี : นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย;
- เพราะ สังขาร นี่เองมีอยู่ วิญญาณจึงได้มี : วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย;
- เพราะ อวิชชา นี่เองมีอยู่ สังขาร ท. จึงได้มี : สังขาร ท. มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย;" ดังนี้ : เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร ท.; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดวิญญาณ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดสฬายตนะ; เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ; เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ท. : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท.! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความเกิดขึ้นพร้อม! ความเกิดขึ้นพร้อม! ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
.... .... ....
ภิกษุ ท.! ความฉงนได้มีแก่เราอีกว่า "เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะอะไรดับไปหนอ ชรามรณะจึงดับไป".
ภิกษุ ท.! เพราะการคิดโดยแยบคาย, ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญาแก่เราว่า "เพราะ ชาติ นี่เองไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี : ชรามรณะดับ เพราะชาติดับ ;
- เพราะ ภพ นี่เองไม่มี ชาติจึงไม่มี : ชาติดับเพราะภพดับ;
- เพราะ อุปาทาน นี่เองไม่มี ภพจึงไม่มี : ภพดับเพราะอุปาทานดับ;
- เพราะ ตัณหา นี่เองไม่มี อุปาทานจึงไม่มี : อุปาทานดับ เพราะตัณหาดับ;
- เพราะ เวทนา นี่เองไม่มี ตัณหาจึงไม่มี : ตัณหาดับเพราะเวทนาดับ;
- เพราะ ผัสสะ นี่เองไม่มี เวทนาจึงไม่มี : เวทนาดับเพราะผัสสะดับ;
- เพราะ สฬายตนะ นี่เองไม่มี ผัสสะจึงไม่มี : ผัสสะดับ เพราะสฬายตนะดับ;
- เพราะ นามรูป นี่เองไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี : สฬายตนะดับ เพราะนามรูปดับ;
- เพราะ วิญญาณ นี่เองไม่มี นามรูปจึงไม่มี : นามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ;
- เพราะ สังขาร นี่เองไม่มี วิญญาณจึงไม่มี : วิญญาณดับ เพราะสังขารดับ;
- เพราะ อวิชชา นี่เองไม่มี สังขาร ท. จึงไม่มี : สังขารดับเพราะอวิชชาดับ;" ดังนี้ : เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ; เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ; เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ; เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ; เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ; เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ; เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ; เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ; เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ; เพราะภพดับ ชาติจึงดับ; เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ท. จึงดับ : ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท.! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความดับไม่เหลือ! ความดับไม่เหลือ! ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ทสมสูตร พุทธวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑/๒๖.
ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้วซึ่ง รสอร่อยของรูป, เราได้พบรสอร่อยของรูปนั้นแล้ว, รสอร่อยของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเรา มีประมาณเท่านั้น.
ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวแสวงหาให้พบ โทษของรูป, เราได้พบโทษของรูปนั้นแล้ว. โทษของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.
ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้ว ซึ่ง อุบายเป็นเครื่องออกจากรูป, เราได้พบอุบายเครื่องออกจากรูปนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจากรูปมีประมาณเท่าใดเราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดี ด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.
(ในเวทนาและสัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน. และตอนท้ายก็มีว่า ยังไม่พบโทษของรูปเป็นต้นเพียงใด ยังไม่ชื่อว่าได้ตรัสรู้เพียงนั้น. ต่อเมื่อทรงพบแล้วจึงชื่อว่าตรัสรู้และมีชาติสิ้นแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป เหมือนกันทุกๆ สิ่งที่พระองค์ทรงค้น ซึ่งยังมีอีก ๓ อย่างคือเรื่อง ธาตุ ๔, เรื่อง อายตนะภายใน ๖, และ อายตนะภายนอก ๖; เห็นว่าอาการเหมือนกันหมดต่างกันแต่เพียงชื่อ จึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้ด้วย).
บาลี ฉัฏฐสูตร ภารวรรค ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๖/๖๑.
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ, ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร."
ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีชรามรณะ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย, แก่เราว่า "เพราะ ชาติ นั่นแล มีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ" ดังนี้.
...* เพราะ ภพ นั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี : เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้.
...เพราะ อุปาทาน นั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี : เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ"ดังนี้.
...เพราะ ตัณหา นั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี : เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน" ดังนี้.
...เพราะ เวทนา นั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี : เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา" ดังนี้.
...เพราะ ผัสสะ นั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี : เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา" ดังนี้.
...เพราะ สฬายตนะ นั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี : เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ" ดังนี้.
...เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ" ดังนี้.
...เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้สึกอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป : ย่อมไม่เลยไปอื่น; ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง : ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้."
ภิกษุ ท.! ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า "ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ! ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย)!" ดังนี้.
... ... ...
ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราต่อไปว่า "เมื่อไรไม่มีหนอชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ ชาติ นั่นแล ไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้.
... เพราะ ภพ นั่นแล ไม่มี ชาติ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ" ดังนี้.
... เพราะ อุปาทาน นั่นแล ไม่มี ภพ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ" ดังนี้.
... เพราะ ตัณหา นั่นแล ไม่มี อุปาทาน จึงไม่มี: เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน" ดังนี้.
... เพราะ เวทนา นั่นแล ไม่มี ตัณหา จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา" ดังนี้.
... เพราะ ผัสสะ นั่นแล ไม่มี เวทนา จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา" ดังนี้.
... เพราะ สฬายตะ นั่นแล ไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ" ดังนี้.
... เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี สฬายตนะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ" ดังนี้.
... เพราะ วิญญาณ นั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่อไรไม่มีหนอ วิญญาณ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี วิญญาณ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับแล้วแล : ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะจึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้."
ภิกษุ ท.! ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า "ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ! ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) !" ดังนี้.
สูตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย.
ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูป ท.ได้ด้วย ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเรา. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็จำแสงสว่างได้ด้วยเห็นรูป ท. ได้ด้วย, แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ร่วม ไม่ได้เจรจาร่วม ไม่ได้โต้ตอบร่วมกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นๆ.
ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดถึงการโต้ตอบร่วมกับเทวดา ท. เหล่านั้นๆ ก็ได้ด้วย. ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งของเรา. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็...โต้ตอบกับเทวดา ท. เหล่านั้นๆ ได้ด้วยแต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายไหนๆ.
ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดถึงการรู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายนั้นๆ ด้วยแล้วข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเราภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็...รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ มาจากเทพนิกายนั้นๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นๆ ด้วยวิบากแห่งกรรมอย่างไหน.
ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดจนถึงรู้ได้ด้วยว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ๆ แล้ว ข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเรา. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ ก็...รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มีอาหารอย่างนี้ๆ มีปรกติเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ๆ. เทวดาเหล่านี้ๆ มีอายุยืนเท่านี้ๆ ตั้งอยู่ได้นานเท่านี้ๆ ...เราเองเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท. เหล่านี้ หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ก็...รู้ได้ตลอดถึงข้อว่า เราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท. เหล่านี้ๆ หรือไม่ แล้ว.
ภิกษุ ท.! ตลอดเวลาเพียงไร ที่ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดาอันมีปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรา ยังไม่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว, ตลอดเวลาเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.
ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมีปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรา บริสุทธิ์ หมดจดด้วยดีแล้ว, เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.
ก็แหละ ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไปดังนี้.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ตำบลคยาสีสะ, บาลีจาลวรรค อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๑๑/๑๖๑.
พราหมณ์! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกว่า เสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว เป็นเสนาสนะยากที่จะเสพได้ ความสงัดยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเป็นประหนึ่งว่านำไปเสียแล้วซึ่งใจแห่งภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ.
พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีกรรมทางกาย ไม่บริสุทธิ์เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่, เพราะโทษคือกรรมทางกาย อันไม่บริสุทธิ์ของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาดและความกลัวอย่างอกุศล. ส่วนเราเอง หาได้เป็นผู้มีกรรมทางกายอันไม่บริสุทธิ์แล้วเสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวไม่ : เราเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์. ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์ และเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยว เราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้าเหล่านั้น.พราหมณ์! เรามองเห็นความเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์ในตนอยู่ จึงถึงความมีขนอันตกสนิทแล้ว (ไม่ขนพอง) อยู่ในป่าได้.
พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีวจีกรรม ไม่บริสุทธิ์. ....มีมโนกรรม ไม่บริสุทธิ์, ...มีอาชีวะ ไม่บริสุทธิ์, ...มีอภิชฌามาก มีความกำหนัดแก่กล้าในกามทั้งหลาย, ...มีจิตพยาบาท มีดำริชั่วในใจ, ...มีถีนมิทธะ กลุ้มรุมจิต,...มีจิตฟุ้ง ขึ้นไม่สงบ, ...มีความระแวง มีความสงสัย, ...เป็นผู้ยกตนข่มท่าน, ...เป็นผู้มักหวาดเสียว มีชาติแห่งคนขลาด, ...มีความปรารถนาเต็มที่ในลาภสักการะและสรรเสริญ, ...เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม, ...เป็นผู้ละสติปราศจาก สัมปชัญญะ, ...มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด, ...มีปัญญาเสื่อมทรามเป็นคนพูดบ้าน้ำลาย, ...(อย่างหนึ่งๆ)* ...เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่; เพราะโทษ (อย่างหนึ่งๆ) นั้นของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาด และความแล้วอย่างอกุศล. ส่วนเราเองหาได้เป็นผู้ (ประกอบด้วยโทษนั้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง) มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ (เป็นต้น) ไม่ : เราเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (และปราศจากโทษเหล่านั้นทุกอย่าง). ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) และเสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวเราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่ง ในพระอริยเจ้าเหล่านั้น. พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) ในตนอยู่ จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกสนิทแล้ว แลอยู่ในป่าได้.
พราหมณ์! ความตกลงใจอันนี้ได้มีแก่เราว่า ถ้ากระไรในราตรีอันกำหนดได้แล้วว่า เป็นวัน ๑๔, ๑๕ และ ๘ ค่ำ แห่งปักข์; สวนอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้อันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เหล่าใดเป็นที่น่าพึงกลัว เป็นที่ชูชันแห่งโลมชาติ เราพึงอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นเถิด บางทีเราอาจเห็นตัวความขลาดและความกลัวได้. พราหมณ์! เราได้อยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น ในวันอันกำหนดนั้นแล้ว.
พราหมณ์! เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น สัตว์ป่าแอบเข้ามาหรือว่านกยูงทำกิ่งไม้แห้งให้ตกลงมา หรือว่าลมพัดหยากเยื่อใบไม้ให้ตกลงมา : ความตกใจกลัวได้เกิดแก่เราว่า นั่นความกลัวและความขลาดมาหาเราเป็นแน่. ความคิดค้นได้มีแก่เราว่า ทำไมหนอ เราจึงเป็นผู้พะวงแต่ในความหวาดกลัว; ถ้าอย่างไร เราจะหักห้ามความขลาดกลัวนั้นๆ เสีย โดยอิริยาบถที่ความขลาดกลัวนั้นๆ มาสู่เรา.
พราหมณ์! เมื่อเราจงกรมอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน จงกรมแก้ความขลาดนั้น, ตลอดเวลานั้น เราไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอน. เมื่อเรายืนอยู่ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน ยืนแก้ความขลาดนั้น, ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรมไม่นั่ง ไม่นอน. เมื่อเรานั่งอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน นั่งแก้ความขลาด นั้น, ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นอน. พราหมณ์! เมื่อเรานอนอยู่ความขลาดเกิดมีมา เราก็ขืน นอนแก้ความขลาดนั้น. ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นั่งเลย.
ภยเภรวสูตร มูลปริยายวรรค มู.ม. ๑๒/๒๙/๓๐. ทรงเล่าแก่ชาณุสโสณีพราหมณ์ ที่เชตวัน.
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, เราได้อบรมทำให้มากแล้วซึ่งธรรมห้าอย่าง. ธรรมห้าอย่างอะไรบ้าง? ธรรมห้าอย่างคือ เราได้อบรมอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ...วิริยะ...จิตตะ... วิมังสาเป็นปธานกิจ และความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า.
ภิกษุ ท.! เพราะความที่เราได้อบรมทำให้มากในธรรม มีความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า, เราได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อธรรมใดๆ ซึ่งควรทำให้แจ้งโดยปัญญาอันยิ่ง เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว, ในธรรมนั้นๆ เราได้ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.
ภิกษุ ท.! ถ้าเราหวังว่า เราพึงมีอิทธิวิธีมีประการต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง, ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ำ, เดินได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ, และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้ ดังนี้ก็ตาม, ในอิทธิวิธีนั้นๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.
ภิกษุ ท.! หรือถ้าเราหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่ง...ฯลฯ...เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะหมดอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้ก็ตาม. ในวิชชานั้นๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้
ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มาก ซึ่งสมาธิใดสมาธินั้น ภิกษุย่อมจะได้โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย.
ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิต ก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า? ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่ง การเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.
ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้?
ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตามแล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออก ก็มีสติ.
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว.
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น.
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงหายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้สงบรำงับอยู่หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความจางคลาย หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็น ความจางคลาย หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจเข้าอยู่". ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจออกอยู่".
เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจออกอยู่". ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ อยู่อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้. ....ฯลฯ....
ภิกษุ ท.! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน.
ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไปทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลยทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและต่อสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้น จงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.
(ต่อแต่นี้ มีตรัสทำนองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จนกระทั่งความดับเย็นแห่งเวทนา เพราะความไม่เพลิดเพลินในเวทนานั้น เป็นที่สุด ว่าผู้ต้องการพึงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี).
บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙, ๔๐๑/๑๓๒๔, ๑๓๒๙. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน ปรารภพระมหากัปปินะเข้าสมาธินั่งนิ่งไม่ไหวติงจนเป็นปรกตินิสัย.
บาลี ปัญจมสูตร ภารวรรค ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.
ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้
บาลี สูตรที่ ๔ เวทนาสํยุตต์ สฬา.สํ. ๑๘/๒๘๙/๔๓๙.
ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้
.... .... ....
ทสมสูตร พุทธวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑/๒๖.
ทรงแสวงเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้
บาลี ฉัฏฐสูตร ภารวรรค ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๖/๖๑.
ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ (อีกนัยหนึ่ง)
... ... ...
สูตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.
ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้น ๆ ก่อนตรัสรู้
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ตำบลคยาสีสะ, บาลีจาลวรรค อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๑๑/๑๖๑.
ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้
ภยเภรวสูตร มูลปริยายวรรค มู.ม. ๑๒/๒๙/๓๐. ทรงเล่าแก่ชาณุสโสณีพราหมณ์ ที่เชตวัน.
ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้
บาลี อัฎฐมสูตร สัญญาวรรค ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔/๖๘.
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้
(ต่อแต่นี้ มีตรัสทำนองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จนกระทั่งความดับเย็นแห่งเวทนา เพราะความไม่เพลิดเพลินในเวทนานั้น เป็นที่สุด ว่าผู้ต้องการพึงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี).
บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙, ๔๐๑/๑๓๒๔, ๑๓๒๙. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน ปรารภพระมหากัปปินะเข้าสมาธินั่งนิ่งไม่ไหวติงจนเป็นปรกตินิสัย.
ทรงพยายามในเนกขัมมจิต และอนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้
บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่อุรุเวลกัปปนิคม ของชาวมัลละในมัลลกรัฐ.
เนื่องจาก ตปุสสคหบดี ได้เข้าเผ้าและกราบทูลถึงข้อที่พวกฆราวาสย่อมมัวเมาติดในกามอยู่เป็นปรกติ,
เนกขัมมะคือการหลีกออกมาเสียจากกามนั้น ปรากฏแก่พวกเขาดุจถ้ำหรือเหวลึกที่มืดยิ่ง เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่ง.
ทรงอธิษฐานความเพียร ก่อนตรัสรู้
บาลี ปัญจมสูตร กัมมกรณวรรค ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.
ความฝันครั้งสำคัญ ก่อนตรัสรู้
บาลี ฉัฎฐสูตร พราหมณวรรค ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๖๗/๑๙๖.
อาการแห่งการตรัสรู้
โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม.๑๓/๔๕๗/๕๐๕,
สคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม.๑๓/๖๘๕/๗๕๔,
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒/๔๕๘/๔๒๗.
ตอนนี้ปาสราสิสูตร ไม่มี, ต่อไปในสคารวสูตรและมหาสัจจกสูตรก็ไม่มี.
สิ่งที่ตรัสรู้
ภิกษุ ท.! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้านเป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.
ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุเป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า? คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง. ภิกษุ ท.! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ ๑ คือความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์* ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.
ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ, ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.
ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น.
ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้องการพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.
ภิกษุ ท.! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้ เราตถาคตกำหนดรู้รอบแล้ว.
ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของความทุกข์นี้เราตถาคตละได้แล้ว.
ภิกษุ ท.! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง, เกิดขึ้นแก่เรา ก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว.
ภิกษุ ท.! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้เกิดมีแล้ว.
ภิกษุ ท.! ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้ยังไม่เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี; ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.
ภิกษุ ท.! เมื่อใด ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี; เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.
บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔. ตรัสแก่ภิกษุทั้งห้า ทิ่อิสิปตนมฤคทายวัน.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดพบรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ภิกษุ ท.! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชา หรือแก่มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า "ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด : ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบได้เห็นรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. ข้าพระเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า!" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น จึงปรับปรุงสถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่ง และรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์, นี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.
ภิกษุ ท.! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคืออริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท.! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น. เมื่อดำเนินไปตามซึ่งหนทางนั้นอยู่, เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;....
(ข้อความต่อไปจากนี้ ได้ตรัสถึงชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะ-นามรูป-วิญญาณ สุดลงเพียงสังขาร โดยอาการทั้งสี่, ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะเหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้นๆ เท่านั้น).
บาลี ศุตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. ส. ๑๖/๑๒๘/๒๕๓. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.
บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔. ตรัสแก่ภิกษุทั้งห้า ทิ่อิสิปตนมฤคทายวัน.
การตรัสรู้คือการทับรอยแห่งพระพุทธเจ้าในอดีต
(ข้อความต่อไปจากนี้ ได้ตรัสถึงชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะ-นามรูป-วิญญาณ สุดลงเพียงสังขาร โดยอาการทั้งสี่, ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะเหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้นๆ เท่านั้น).
บาลี ศุตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. ส. ๑๖/๑๒๘/๒๕๓. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.
การตรัสรู้คือการทรงรู้แจ้งผัสสายตนะโดยอาการห้า
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการตรัสรู้
บาลี สัตตมสูตร ภยวรรค จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๗.
แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการตรัสรู้
บาลี อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒,๓๒๓/๑๖๗.
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี.
การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว
ปาสราสิสูตร โอปัมมวรรค มู.ม. ๑๒/๓๒๓/๓๒๐.
วิหารธรรมที่ทรงอยู่ เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ
คำว่า "ประเทศ" ในที่นี้ หมายถึงที่ตั้งแห่งความรู้สึกทางใจ เช่นเดียวกับแผ่นดินเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นอยู่ทางกาย. การที่คงไว้ในรูปศัพท์เดิมเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้ผู้อ่านได้ทราบเงื่อนงำแห่งภาษาบาลี ซึ่งไม่ค่อยจะปรากฏในภาษาไทย. พระบาลีนี้พอจะแสดงให้เราทราบได้ว่า เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ พระองค์ได้ทรงอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดที่ทำให้รู้แจ้งชัดต่อเวทนาในลักษณะเช่นที่กล่าวไว้ในสูตร.
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิบ้าง; -สัมมาทิฏฐิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง; -สัมมาสังกัปปะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง; -สัมมาวาจาบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง; -สัมมากัมมันตะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง; -สัมมาอาชีวะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง; -สัมมาวายามะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง; -สัมมาสติบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง; -สัมมาสมาธิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และสัญญา ที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และสัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้วบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง; ดังนี้.
บาลี สูตรที่ ๑ วิหารวรรค มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖/๔๘.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวันหลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลาครึ่งเดือน.
(อีกสูตรหนึ่ง ได้ตรัสโดยข้อความที่แปลกออกไปอีกบางประการ)
ภิกษุ ท.! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้แล้ว, เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า:-
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาทิฏฐิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาทิฏฐิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาทิฏฐิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาสังกัปปะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสังกัปปะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาสังกัปปะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาวาจาบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวาจาบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาวาจาบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉากัมมันตะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมากัมมันตะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมากัมมันตะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาอาชีวะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาอาชีวะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาอาชีวะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาวายามะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวายามะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาวายามะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาสติบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสติบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาสติบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาสมาธิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสมาธิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาสมาธิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งฉันทะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งวิตกบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัญญาบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้วบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง" ดังนี้.
บาลี สูตรที่ ๒ วิหารวรรค มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๗/๕๐.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน
หลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลา ๓ เดือน.
บาลี สูตรที่ ๑ วิหารวรรค มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖/๔๘.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวันหลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลาครึ่งเดือน.
(อีกสูตรหนึ่ง ได้ตรัสโดยข้อความที่แปลกออกไปอีกบางประการ)
บาลี สูตรที่ ๒ วิหารวรรค มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๗/๕๐.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน
หลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลา ๓ เดือน.