อธิกรณสมถะ
อิเม โข ปะนายัส๎มันโต สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา อุทเทสัง อาคัจฉันติ......อธิกรณ์ แปลว่า ภารกิจที่พึงทำให้สงบให้เรียบร้อยเหมาะสม
อธิกรณ์ ในคำวัดใช้หมายถึงสาเหตุ คดีเรื่องราว ปัญหา ความยุ่งยาก กิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
ที่สงฆ์ต้องจัดการสะสางหรือดำเนินการทำให้สงบหรือเป็นไปด้วยดี
อธิกรณ์ ในพระวินัยมี ๔ เรื่อง คือ เป็นชื่อแห่งเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำให้ลุล่วงไป
มี ๔ ประการ คือ
- วิวาทาธิกรณ์ คือ วิวาท ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัยนี้ จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิด หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องพระธรรมวินัย
- อนุวาทาธิกรณ์ คือ ความโจทกล่าวหากันด้วยปรารภพระธรรมวินัยนี้จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิด หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องอาบัติ
- อาปัตตาธิกรณ์ คือ กิริยาที่ต้องอาบัติหรือถูกปรับอาบัตินี้จะต้องทำคืน คือทำให้พ้นโทษ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องการปรับอาบัติและวิธีการออกหรือพ้นจากอาบัติ
- กิจจาธิกรณ์ คือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงสามัคคีร่วมกันทำ เรียกว่า สังฆกรรม เช่นให้อุปสมบทนี้จะต้องทำให้สำเร็จ
อธิกรณสมถะ
“อธิกรณสมถะ” เป็นชื่อแห่งสิกขาบทหรือสิกขาบทหรือแห่งธรรม แปลว่า “สำหรับระงับอธิกรณ์”
มี ๗ ประการ
แสดงวิธีระงับอธิกรณ์ ด้วยธรรมะ 7 ประการ
"ดูก่อนอานนท์ ก็อธิกรณสมถะนี้มี ๗ อย่าง คือ เพื่อระงับอธิกรณ์ อันเกิดแล้วเกิดเล่า สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ"
1.สัมมุขาวินัย การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า (บุคคล,วัตถุ,ธรรมะ)
ตัดสินในที่พร้อมหน้าทั้ง โจทย์และจำเลยพร้อมพยาน ตามพยานหลักฐาน
ก. พร้อมหน้าสงฆ์ คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์กำหนดเป็นสงฆ์
ข. พร้อมหน้าบุคคล คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่พร้อมหน้ากัน
ค. พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นวินิจฉัย
ง. พร้อมหน้าธรรมวินัย ได้แก่วินิจฉัยถูกธรรม ถูกวินัย
*******
ถือสติเป็นหลัก การยกเลิกความผิดเพราะเป็นพระอรหันต์หรืออริยบุคคลที่จะไม่ทำผิดวินัยในข้อนั้นได้
แก่พระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ
"ดูก่อนอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมโต้เถียงกัน ว่าธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าวินัยหรือมิใช่วินัย ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณา แบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่อง ลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขาวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัย อย่างนี้"สัมมุขาวินัย แปลว่า ระเบียบอันจะพึงทำในที่พร้อมหน้า 4 อย่าง คือ
ก. พร้อมหน้าสงฆ์ คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์กำหนดเป็นสงฆ์
ข. พร้อมหน้าบุคคล คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่พร้อมหน้ากัน
ค. พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นวินิจฉัย
ง. พร้อมหน้าธรรมวินัย ได้แก่วินิจฉัยถูกธรรม ถูกวินัย
*******
2.สติวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
"ดูก่อนอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรม วินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง ปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือสติวินัย แปลว่า ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก ได้แก่กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติ (การรับรู้ร่วมกัน)
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุ
นั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสติวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์ บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้"
แก่พระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ
*******
การแสดงอาบัติ ก็จัดว่าทำปฏิญญาในข้อนี้ด้วย
แตกต่างกัน ให้ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ
ก. เพิ่มโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติผิดซ้ำอีก
ข. ตัดสินโทษแม้ไม่รับเป็นสัตย์ แต่พิจารณาสมจริงดังกล่าวในอนิยตสิกขาบทนั้น
*******
ดุจกลบไว้ด้วยหญ้า วิธีประณีประนอม การตัดสินยกฟ้อง เลิกแล้วต่อกัน(ในกรณีทะเลาะกัน)
3.อมูฬ๎หวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
ผู้หายจากเป็นบ้า การเลิกความผิดเพราะผู้กระทำผิดนั้นวิกลจริตหรือเป็นบ้า"ดูก่อนอานนท์ ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง ปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุ จงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือ ใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็น อันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดพล่ามไป ข้าพเจ้าระลึก มันไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้ อมฬูหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอมูฬหวินัย ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้"
อมูฬหวินัย แปลว่า ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว คือภิกษุผู้เป็นจำเลยทำการล่วงละเมิดอาบัติในขณะเป็นบ้า แม้จะได้รับการยกเว้นว่าไม่เป็นอาบัติ(อนาบัติ)ก็จริง เมื่อเธอหายบ้าแล้วมีผู้โจทเธอด้วยอาบัติที่เธอทำล่วงในระหว่างเป็นบ้านั้นแล้ว ๆ เล่าๆ ไม่มีจบสิ้น สงฆ์พึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้เรียกว่า ให้อนูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว จึงยกฟ้องคำร้องของโจทก์เสีย ภายหลังมีผู้มาโจทเธอด้วยอาบัติเช่นนั้นอีก ก็ไม่ต้องวินิจฉัยให้อธิกรณ์ระงับไว้เลย
*******
ทำตามที่รับ การตัดสินตามการยอมรับผิด คำสารภาพของผู้กระทำผิด4.ปฏิญญาตกรณะ การระงับอธิกรณ์ด้วยปรับตามรับสารภาพตามทำจริง
"ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้ เธอพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้า นั่ง กระหย่งประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเห็นหรือ เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึง ถึงความสำรวมต่อไปเถิด เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะอย่างนี้"ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์
การแสดงอาบัติ ก็จัดว่าทำปฏิญญาในข้อนี้ด้วย
*******
การตัดสินตามมติเสียงข้างมาก5.เยภุยยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
"ดูก่อนอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณา แบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลง กันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกา ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้"เยภุยยสิกา แปลว่า ตัดสินตามคำของคนมากเป็นประมาณ วิธีนี้สำหรับใช้ในเมื่อความเห็นของคนมาก
แตกต่างกัน ให้ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ
*******
6.ตัสสปาปิยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยการลงโทษ
ลงโทษแก่ผู้ผิดที่ไม่รับ การลงโทษพยานผู้ที่ไม่ยอมพูดในการสอบสวนของคณะสงฆ์
"ดูก่อนอานนท์ ก็ตัสสปาปิยสิกาเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้ เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็น ปานนี้คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้ มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อ นี้เพียงเล็กน้อย ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้ง หลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติ ชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกใครถามยังรับ ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ถูกถาม จักไม่รับเล่า ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ท่านต้อง อาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อยไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบติหนัก เห็นปาน นี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า เอาเถอะท่าน ผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้ง หลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้ ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติ หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาด ไป ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นตัสสปาปิยสิกา ก็แหละความระงับ อธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยทัสสปาปิยสิกาอย่างนี้"ตัสสปาปิยสิกา แปลว่า กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด มี 2 นัย
ก. เพิ่มโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติผิดซ้ำอีก
ข. ตัดสินโทษแม้ไม่รับเป็นสัตย์ แต่พิจารณาสมจริงดังกล่าวในอนิยตสิกขาบทนั้น
*******
7.ติณวัตถารกะ การระงับอธิกรณ์ดุจหญ้ากลบไว้ หยุดไม่ให้ลุกลาม
"ดูก่อนอานนท์ ก็ติณวัตถารกะเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้พระพฤติล่วงและได้พูด ละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อม เพรียงกันประชุม ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีประกาศให้สงฆ์ จงพึงข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ ล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความ พรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังกลบ ไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ต่อแต่นั้นภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจาก อาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะ วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และ ได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของ ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพัน กับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นติณวัถารกวินัย แปลว่า ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย
ติณวัตถารกะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ ด้วยติณวัตถารกะอย่างนี้"
(จุลวรรค ภาค1 พระไตรปิฎก เล่ม 6 )
การใช้สมถะระงับอธิกรณ์
- สัมมุขาวินัย เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง
- สติวินัย, อมูฬหวินัย, ตัสสปาปิยสิกา ทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นเครื่องระงับเฉพาะอนุวาทาธิกรณ์
- ปฏิญญาตกรณะ, ติณวัตถารกวินัย ทั้ง ๒ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเครื่องระงับเฉพาะปัตตาธิกรณ์ และใช้เป็นเครื่องระงับอนุวาทาธิกรณ์ด้วย ก็ได้
- เยภุยยสิกา ใช้เป็นเครื่องระงับเฉพาะวิวาทาธิกรณ์
วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์
เมื่อเกิดวิวาทาธิกรณ์นี้ขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสให้ระงับด้วยสมถ 2 อย่าง คือ- สัมมุขาวินัย วิธีระงับต่อหน้า คือ พระสงฆ์ได้เข้าร่วมประชุมสงฆ์ ผู้วิวาทยอมรับความเห็น ยอมหยุดไม่วิวาทอีกต่อไป การระงับด้วยสัมมุขาวินัยนี้ มี ๔ ลักษณะด้วยกัน คือ
ก. การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ (สังฆสัมมุขตา)
ข. การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าธรรม(ธรรมสัมมุขตา)
ค. การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าวินัย (วินัยสัมมุขตา)
ง. การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าบุคคล (บุคคลสัมมุขตา) - เยภุยยสิกา วิธีระงับด้วยคะแนนเสียงข้างมาก เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้น หากภิกษุเข้าร่วมประชุมพิจารณา ลงความเห็นมีมากกว่าก็ให้ถือว่าข้างฝ่ายนั้นชนะ
วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ หมายถึง การกล่าวหากันว่า ประพฤติผิดจะต้องอาบัติอย่างนั้น ภิกษุกล่าวหาภิกษุด้วยกันว่า ท่านต้องอาบัติอย่างนั้น หรือโจทฟ้อง ให้ผู้อื่นได้รับทราบด้วยว่า ผู้นั้นประพฤติผิดศีล (ศีลวิบัติ) มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม เสียมารยาท ประพฤติย่อหย่อนมักต้องอาบัติเล็กน้อยตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาจนถึงทุพภาสิตเป็นประจำ(อาจารวิบัติ) มีความเห็นผิดพลาดคลาดเคลื่อนผิดจากพระธรรมวินัย เป็นสาเหตุทำให้คนประพฤตินอกแบบแผน กระทำความผิดอยู่เสมอ (ทิฏฐิวิบัติ) นอกจากนี้แล้ว ยังโจทว่า มีการหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม มีการหลอกลวง ปล้นจี้ ลักขโมย เป็นต้น (อาชีววิบัติ)
การโจท หรือฟ้องร้องด้วยวิบัติ 4 อย่างนี้ ล้วนแต่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ทั้งนั้น แม้การสนับสนุนคนอื่นโจทก็จัดเป็น อนุวาทาธิกรณ์เหมือนกัน เมื่ออนุวาทาธิกรณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว ท่านอนุญาตให้กระทำการระงับด้วยสมถะ 4 อย่าง คือ
- สัมมุขาวินัย คือ การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าคณะสงฆ์ พร้อมหน้าธรรมพร้อมหน้าวินัยและพร้อมหน้าบุคคล ตามที่ได้บรรยายมาแล้ว
- ๒. สติวินัย คือ การระงับอนุวาทาธิกรณ์ที่ยกเอาสติขึ้นเป็นหลักปรับ เมื่อที่ประชุมสงฆ์พิจารณาดูแล้วว่า ท่านผู้เป็นจำเลยซึ่งถูกฟ้องว่าเป็นอาบัติเพราะทุศีลนั้น ทานเป็นพระอรหันต์ทางคณะสงฆ์เห็นว่า คงจะเป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันต์จะกระทำการล่วงละเมิดพระวินัยดังคำที่โจทฟ้อง จึงสวดวาจาประกาศให้ สมมติแก่พระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ เรียกว่าให้วินัย แล้วยกฟ้องคำของโจทก์เสีย ภายหลังถ้าหากจำเลยถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติในลักษณีนี้อีก ก็จะไม่มีการพิจารณาอธิกรณ์
- อมูฬหวินัย การระงับอธิกรณ์ให้แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้ว เช่น มีภิกษุรูปหนึ่งเสียสติได้ประพฤติความเสียหายเป็นอันมาก ซึ่งเป็นสิ้งที่ไม่ควรแก่สมณะทั้งการพูดและการกระทำ ต่อมาเมื่อเธอหายเป็นปกติแล้ว ก็มีโจทเธอว่า ท่านได้ประพฤติอย่างนี้ ได้เป็นอาบัติแล้ว เป็นต้น เธอยอมรับว่า ที่ตนกระทำไปนั้น เพราะความหลง เพราะว่าตอนนั้นเสียสติไม่มีเจตนาที่จะกระทำ เมื่ออธิกรณ์เข้าสู่ที่ประชุมสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์จึงได้รับอนุวาทาธิกรณ์นั้น ด้วยการสวดประกาศสมมติให้เธอเป็นภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว อาบัติที่เธอประพฤติล่วงมานั้นแม้จะเป็นจริงก็ไม่เป็นอาบัติเพราะเธอเป็นบ้า คณะสงฆ์จึงสวดกรรมวาจา ประกาศข้อความนี้ไว้ เรียกว่า อมูฬหวินัย แล้วยกฟ้องคำของโจทเสีย ภายหลังมีผู้มาโจทอาบัติที่เธอกระทำในขณะที่เป็นบ้าอีก ก็ไม่มีการพิจารณา เพราะถือว่าให้อธิกรณ์ระงับแล้วด้วยอมูฬหวินัย
- ตัสสปาปิยสิกา กรรมที่คณะสงฆ์ลงโทษแก่ภิกษุผู้ที่ต้องอาบัติแล้ว เมื่อมีโจทท้วงขึ้นคณะสงฆ์ประชุมกันสอบสวน ท่านได้ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวก็ยอมรับ เดี๋ยวก็ปฏิเสธพูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซักถาม พูดมุสาในที่ซึ่งหน้าภิกษุเช่นนี้ คณะสงฆ์สามารถลงโทษแก่เธอได้ถึงแม้ว่าเธอจะไม่ยอมรับตามโทษที่ต้อง หรือเพิ่มโทษก็ได้ โดยในขั้นแรกนั้นให้โจทเธอเสียก่อนและให้เธอให้การแล้วจึงปรับอาบัติต่อจากนั้นให้สวดต่อด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ให้คณะสงฆ์ทั้งหมดได้รับทราบด้วย
วิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการต้องอาบัติและถูกปรับอาบัติตามที่ตนกระทำที่ท่านจัดเป็น
อธิกรณ์นั้นก็เพราะว่า เป็นเรื่องที่จะต้องระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นออกจากอาบัติที่ต้อง
ด้วยวิธีการปลงอาบัติหรือการอยู่กรรมตามที่ท่านกำหนดไว้ จะระงับได้ด้วยสมถะ ๓ ประการ คือ
- สัมมุขาวินัย ระงับต่อหน้า คือ อธิกรณ์ที่เกิดขึ้นมีพระสงฆ์เข้าประชุมวินิจฉัยครบองค์สงฆ์ คู่วิวาทกันยอมรับความเห็นของที่ประชุม ยอมหยุดจะไม่วิวาทกันอีกต่อไป การระงับด้วยสัมมุขาวินัยนี้มี ๔ ลักษณะ คือ ระงับพร้อมหน้าสงฆ์ ระงับพร้อมหน้าธรรม ระงับพร้อมหน้าวินัย และระงับพร้อมหน้าบุคคล
- ปฏิญญาตกรณะ กระทำตามรับ ได้แก่ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้ว มีผู้โจทท้วงขึ้นเมื่อคณะสงฆ์เข้าประชุมกันวินิจฉัยภิกษุผู้เป็นจำเลยยอมรับอย่างใด ก็ปรับอาบัติตามที่ยอมรับนั้นหรือการปลงอาบัติก็จัดเป็นปฏิญญาตกรณะเหมือนกัน
- ติณวัตถารกะ การระงับอธิกรณ์ไว้ด้วยการประนีประนอมกันไว้ทั้ง ๒ ฝ่าย โดยไม่ต้องชำระสะสางหาความกันเหมือนการกลบของไว้ด้วยหญ้า เป็นวิธีระงับอาบัติที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติ ซึ่งเกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างคนก็ประพฤติไม่เหมาะสม และโจทกันซัดทอดกันไปมา เป็นเรื่องที่นุงนังซับซ้อน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทะเลาะวิวาทกันไม่หยุดไม่หย่อน ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีฝ่ายใดยอม เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์แรงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงต้องระงับเสียด้วยติณวัตถารกะ แบบกลบเกลื่อนของเน่าไว้ด้วยหญ้า ตัวอธิกรณ์ยกเลิกทิ้งเสีย ทั้งสองฝ่ายจะไม่สาวาหาความหลังของกันและกัน
กิจจาธิกรณ์และวิธีระงับด้วยนิคหะ
ผู้ปกครองคณะสงฆ์ต้องมีคุณธรรม ๒ อย่าง คือ- นิคหะ การข่ม การกำราบ การลงโทษ
- ปัคหะ การยกย่อง การเชิดชู
จบอธิกรณสมถะ
หมวดอื่น ๆ ของพระวินัย
เริ่มต้นยังไง ที่ไหนทำยังไง เขียนเหมือนนักธรรมทุกรูปเลยครับ เช่นทางโลก ต้องไปแจ้งความที่โรงพัก นี่อ่านแล้วรู้ว่ามีอย่างนี้ อย่างนี้ แต่ถ้าจะทำทำยังไงเริ่มต้นที่ไหน ในโบสถ์ องค์สงฆ์ยังไง ต้องตั้งยัติไหม กระผมพระใหม่ กราบขอความรู้ ธมฺมกุสโล
ตอบลบ