พระวินัย นิสสัคคิยกัณฑ์
ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องสละสิ่งของเสียก่อน
อิเม โข ปนายสฺมนฺโต ตึส นิสฺสคฺคิยา ปาจิตฺติยา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ.
1. จีรวรรค วรรคว่าด้วยจีวร เป็นวรรคที่ 1 มี 10 สิกขาบท
สิกขาบทที่ 1 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามเก็บจีวรที่เกินจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
1. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน ทสาหปรมํ อติเรกจีวรํ ธาเรตพฺพํ ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอติเรกจีวรได้ 10 วัน เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี
***
ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม
ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม
5. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา หตฺถโต จีวรํ ปฏิคคเณฺหยฺย อญฺญตฺร ปาริวฏฺฏกา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ทรงอนุญาตให้ภิกษุมีจีวรได้เพียง 3 ผืน (ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่า สังฆาฏิ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุผู้รวมกันเป็นคณะ 6 รูป) เข้าบ้าน
อยู่ในวัด ลงสู่ที่อาบน้ำด้วยไตรจีวรต่างสำรับกัน
ภิกษุทั้งหลายติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามเก็บอติเรกจีวร
(จีวรที่เกินจำเป็น คือเกินจำนวนที่กำหนด) ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์)
ต่อมามีเหตุเกิดขึ้น พระอานนท์ใคร่จะเก็บผ้าไว้ถวายพระสาริบุตร
ต่อมามีเหตุเกิดขึ้น พระอานนท์ใคร่จะเก็บผ้าไว้ถวายพระสาริบุตร
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม ให้เก็บไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน
หมายเหตุ ถ้าจำพรรษาครบ 3 เดือน เก็บได้ 1 เดือน ถ้าได้กราลกฐิน เก็บไว้ได้ต่อไปอีก 4เดือน รวมเป็น 5 เดือน
อนาบัติ
อนาบัติ
- ในภายใน 10 วัน ภิกษุอธิษฐาน
- ภิกษุวิกัปไว้
- ภิกษุสละให้ไป
- จีวรฉิบหาย
- จีวรถูกไฟไหม้
- โจรชิงเอาไป
- ภิกษุถือวิสาสะ
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ผ้าประกอบด้วยชาติและประมาณเป็นของๆตน
- ผ้านั้นถึงซึ่งกาล นับวันได้ คือว่าถึงมือของตนแล้ว เป็นต้น
- ปลิโพธทั้ง 2 ขาดแล้ว
- ผ้านั้นเป็นอดิเรกจีวร
- ล่วง 10 วันไป
(บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 155)
กฐินเดาะ ในที่นี้ตามศัพท์แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้า หมายถึงยกเลิกอานิสงส์กฐินที่ภิกษุพึงรับ (พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. 2/3/462)(ดูหน้า 258 ประกอบ)
อธิษฐาน คือ การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิดนั้น ๆ เช่น ไตรจีวร บาตร : วิธีอธิษฐาน กระทำโดยใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาตามคำอธิษฐานก็ได้ ( วิ.ป. 8/322/261. วิ.อ. 2/469/147)(ดูหน้า 408 ประกอบ)
วิกัป คือ ทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือ ขอให้ภิกษุหรือสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่จะวิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้เก็บไว้เกินกำหนด (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า 227)
กฐินเดาะ ในที่นี้ตามศัพท์แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้า หมายถึงยกเลิกอานิสงส์กฐินที่ภิกษุพึงรับ (พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. 2/3/462)(ดูหน้า 258 ประกอบ)
อธิษฐาน คือ การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิดนั้น ๆ เช่น ไตรจีวร บาตร : วิธีอธิษฐาน กระทำโดยใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาตามคำอธิษฐานก็ได้ ( วิ.ป. 8/322/261. วิ.อ. 2/469/147)(ดูหน้า 408 ประกอบ)
วิกัป คือ ทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือ ขอให้ภิกษุหรือสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่จะวิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้เก็บไว้เกินกำหนด (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า 227)
***
สิกขาบทที่ 2 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
2. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน เอกรตฺตมฺปิ เจ ภิกฺขุ ติจีวเรน วิปฺปวเสยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย เอาผ้าสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนข้างนอก) ฝากภิกษุรูปอื่นไว้
จาริกไปสู่ชนบทด้วยสบง (ผ้านุ่ง) กับจีวร (ผ้าห่ม) รวม 2 ผืนเท่านั้น
ผ้าที่ฝากไว้นานเปรอะเปื้อน ภิกษุผู้รับฝากจึงนำออกตาก
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงติเตียน
และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอยู่ปราศจากไตรจึวรแม้คืนหนึ่ง
ถ้าล่วงละเมิด ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น ภิกษุเป็นไข้
ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น ภิกษุเป็นไข้
ไม่สามารถนำจึวรไปได้ทั้งสามผืน
จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดสมมติแก่ภิกษุเช่นนั้นเป็นกรณีพิเศษ และไม่ปรับอาบัติ
วิภังค์
คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้ันราตรีหนึ่ง ความว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากผ้าสังฆาฏิก็ดี จากผ้าอุตราสงค์ก็ดี จากผ้าอันตรวาสกก็ดี แม้คืนเดียว.
อนาบัติ
คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้ันราตรีหนึ่ง ความว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากผ้าสังฆาฏิก็ดี จากผ้าอุตราสงค์ก็ดี จากผ้าอันตรวาสกก็ดี แม้คืนเดียว.
อนาบัติ
- ภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย
- ภิกษุสละให้ไป
- จีวรหาย
- จีวรฉิบหาย
- จีวรถูกไฟไหม้
- โจรชิงเอาไป
- ภิกษุถือวิสาสะ
- ภิกษุได้รับสมมติ
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้่องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ผ้าภิกษุอธิษฐานเป็นจีวรแล้ว
- ไม่มีอานิสงส์กฐิน
- ไม่ได้อวิปปวาสสมมติ
- อยู่ปราศจากผ้านั้นราตรีหนึ่งจนอรุณใหม่ขึ้นมา
พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้จึงเป็นนิสสัคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 156)
ในบุพพสิกขาวรรณาหน้า 508 กล่าวว่า โบราณคติสืบมา…ให้รู้จักอรุณแดงขึ้นมา..ให้ทันอรุณขาวก่อนอรุณแดง
หัตถบาส แปลว่า บ่วงแห่งมือ (ระยะบ่วงมือ ในบุพพสิกขาวรรณา หน้า 469 กล่าวว่า ประมาณ 2 ศอก 1 คืน)
ในบุพพสิกขาวรรณาหน้า 508 กล่าวว่า โบราณคติสืบมา…ให้รู้จักอรุณแดงขึ้นมา..ให้ทันอรุณขาวก่อนอรุณแดง
หัตถบาส แปลว่า บ่วงแห่งมือ (ระยะบ่วงมือ ในบุพพสิกขาวรรณา หน้า 469 กล่าวว่า ประมาณ 2 ศอก 1 คืน)
***
สิกขาบทที่ 3 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด
3. นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา อุพฺภตสฺมึ กฐิเน ภิกฺขุโน ปเนว อกาลจีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย อากงฺขมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพํ ปฏิคฺคเหตฺวา ขิปฺปเมว กาเรตพฺพํ โน จสฺส ปาริปูริ มาสปรมนฺเตน ภิกฺขุนา ตํ จีวรํ นิกฺขิปิตพฺพํ อูนสฺส ปาริปูริยา สติยา ปจฺจาสาย ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย สติยาปิ ปจฺจาสาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ เมืี่่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ ภิำกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ เมืี่่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ ภิำกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม
สมัยนั้นอาลจีวร (ผ้าที่เกิดขึ้นนอกกาลที่อนุญาตให้เก็บไว้ได้เกิน 10 วัน)
เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่ไมพอทำจีวร เธอคลี่ผ้าออก (เอามือ) รีดให้เรียบอยู่เรื่อย ๆ
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็น ตรัสถามทราบความแล้ว
จึงทรงอนุญาตให้เก็บผ้านอกกาลไว้ได้ ถ้ามีหวังว่าจะได้ทำจีวร
ปรากฏว่าภิษุบางรูปเก็บไว้เกิน 1 เดือน
จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเก็บผ้านอกกาลไว้เกิน 1 เดือน
ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
วิภังค์
ทีื่ชื่้อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด 11 เดือนในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน
วิภังค์
ทีื่ชื่้อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด 11 เดือนในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน
ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด 7 เดือนในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว
แม้ผ้าที่เขาถวายเจาะจงในกาล นี้ชื่อว่า อกาลจีวร
อนาบัติ
อนาบัติ
- ในภายในหนึ่งเดือนภิกษุอธิษฐาน
- ภิกษุวิกัปไว้
- ภิกษุสละให้ไป
- จีวรหาย
- จีวรฉิบหาย
- จีวรถูกไฟไหม้
- โจรชิงเอาไป
- ภิกษุถือวิสาสะ
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
อกาลจีวร คือ (1)ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของปีถัดไปสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐิน รวมเป็น 11 เดือน (2)ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ในปีเดียวกัน สำหรับผู้ที่ได้กรานกฐิน รวมเป็น 7 เดือน (พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. 2/21/500)
***
ห้ามใช้นางภิกษุณีซักผ้า
สิกขาบทที่ ๔ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามใช้นางภิกษุณีซักผ้า
4. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา ปุราณจีวรํ โธวาเปยฺย วา รชาเปยฺย วา อาโกฏาเปยฺย วา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้่อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้่อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม
อดีตภริยาของพระอุทายีเข้ามาบวชเป็นภิกษุณี
รับอาสาซักผ้าของพระอุทายี ซึ่งมีน้ำอสุจิเปรอะใหม่ ๆ
นางได้นำน้ำอสุจินั้นส่วนหนึ่งเข้าปาก ส่วนหนึ่งใส่ไปในองค์กำเนิด เกิดตั้งครรภ์ขึ้น
จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ๒ ซัก, ย้อม, หรือทุบ จีวรเก่า
(คือที่นุ่งหรือห่มแล้วแม้คราวเดียว) ทรงปรับอาบัตนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
อนาบัติ
- ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง
- ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ
- ภิกษุไม่ได้บอกใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง
- ภิกษุใช้ให้ซักจีวรที่ยังไม่ได้บริโภค
- ภิกษุใช้ให้ซักบริขารอย่างอื่น เว้นจีวร
- ใช้สิกขมานาให้ซัก
- ใช้สามเณรีให้ซัก
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่ญาติ คือ ไม่เกี่ยวเนื่องทางสายโลหิตตลอดเจ็ดชั่วคน
คือวงศ์สกุลที่สืบสายโลหิตกันมา นับตั้งแต่ตัวภิกษุขึ้นไป 3 ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ ชั้นทวด กับนับจากตัวภิกษุลงมาอีก 3 ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน ชั้นเหลน รวมเป็น เจ็ดชั่วคน
ส่วนเขย หรือสะใภ้ ตลอดจนผู้เคยเป็นสามี ภริยา ก็ไม่นับเป็นญาติ
(วิ.อ. 2/503-5/165-166)
***
ห้ามรับจีวรจากมือของนางภิกษุณี
สิกขาบทที่ 5 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามรับจีวรจากมือของนางภิกษุณี
“อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์
7. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาตกํ คหปตึ วา คหปตานึ วา จีวรํ วิญฺญาเปยฺย อญฺญตฺร สมยา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. ตตฺถายํ สมโย อจฺฉินฺนจีวโร วา โหติ ภิกฺขุ นฏฺฐจีวโร วา อยํ ตตฺถ สมโยติ.
“อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายก็ดี ต่อคฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สมัยในคำนั้นดังนี้ : ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดี นี้สมัยในคำนั้น.”
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์
พระอุทายีแค่นได้ขอจีวรนางอุบลวัณณา ซึ่งมีผ้าอยู่จำกัด นางจึงให้ผ้านุ่ง (อัตรวาสก)
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามรับจีวรจากมือนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติมมีเงื่อนไข ไม่ปรับอาบัติในกรณีที่เป็นการแลกเปลี่ยนกัน
อนาบัติ
- ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ
- แลกเปลี่ยนกัน คือแลกเปลี่ยนจีวรดีกับจีวรเลว หรือจีวรเลวกับจีวรดี
- ภิกษุถือวิสาสะ
- ภิกษุขอยืมไป
- ภิกษุรับบริขารอื่นนอกจากจีวร
- ภิกษุรับจีวรของสิกขมานา
- ภิกษุรับจีวรของสามเณรี
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ
สิกขาบทที่ 6 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
“อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายก็ดี ต่อคฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สมัยในคำนั้นดังนี้ : ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดี นี้สมัยในคำนั้น.”
ต้นบัญญัติ
บุตรเศรษฐีเลื่อมใสพระอุปนันทศากยบุตร จึงปวารณาให้ขออะไรก็ได้
บุตรเศรษฐีเลื่อมใสพระอุปนันทศากยบุตร จึงปวารณาให้ขออะไรก็ได้
แต่เธอขอผ้า ( ห่ม )จากตัวเขา แม้เขาจะขอไปเอาที่บ้านมาให้ก็ไม่ยอม
พระศาสดาทรงทราบ ทรงติเตียนว่า
“ดูก่อนโมฆบุรุษการกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สมควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ คนทีี่่มีญาติย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังขอจีวรต่อบุตรเศรษฐีผู้มิใช่ญาติได้.”
จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายหญิงที่มิใช่ญาติ ถ้าขอได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภายหลังมีโจรขโมยจีวรไป ภิกษุเห็นว่าทรงบัญญัติห้ามไว้จึงไม่ขอจีวรเปลือยกายเดินมา
ภายหลังมีโจรขโมยจีวรไป ภิกษุเห็นว่าทรงบัญญัติห้ามไว้จึงไม่ขอจีวรเปลือยกายเดินมา
จึงตรัสว่า “เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรแย่งชิงจีวรไปหรือมีจีวรฉิบหาย ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติได้ เธอเดินไปถึงวัดใดก่อน ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้นก็ดี ผ้าปู่ที่นอนก็ดี ของสงฆ์ในวัดนั้นมีอยู่ จะถือเอาผ้าของสงฆ์นั้นไปห่มด้วยคิดว่า ได้จีวรนั้นมาแล้วจักคืนไว้ดังกล่าวดังนี้ก็ควร. ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้นก็ดี ผ้าปูที่นอนก็ดี ของสงฆ์ไม่มี ต้องปกปิดด้วยหญ้า หรือใบไม้เดินมา ไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติทุกกฏ.”
ทรงบัญญัติให้ขอได้ ในเวลาจีวรถูกโจรชิงเอาไป หรือจีวรฉิบหาย
วิภังค์
มีชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด 7 ชั่วอายุของบุรพชน
อนาบัติ
ทรงบัญญัติให้ขอได้ ในเวลาจีวรถูกโจรชิงเอาไป หรือจีวรฉิบหาย
วิภังค์
มีชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด 7 ชั่วอายุของบุรพชน
อนาบัติ
- ภิกษุขอในสมัย
- ภิกษุขอต่อญาติ
- ภิกษุขอต่อคนปวารณา
- ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น
- ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ผ้ากว้างยาวควรวิกัปได้
- ไม่มีสมัย
- ขอกับคนไม่ใช่ญาติ
- ได้มาเป็นของตน
พร้อมด้วยองค์ 4 ดังนี้จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 159)
ห้ามรับจีวรเกินกำหนด เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6 รูป) เที่ยวขอจีวรให้กลุ่มภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงไป หรือจีวรหาย
อนาบัติ
***
สิกขาบทที่ 7 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามรับจีวรเกินกำหนด เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
7. ตญฺเจ อญฺญาตโก คหปติ วา คหปตานี วา พหูหิ จีวเรหิ อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย, สนฺตรุตฺตรปรมนฺเตน ภิกฺขุนา ตโต จีวรํ สาทิตพฺพํ ตโต เจ อุตฺตรึ สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“ถ้าคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุนั้น ด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปได้ตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวร มีอุตราสงค์ อันตรวาสกเป็นอย่างมากจากจีวรเหล่านั้น ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“ถ้าคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุนั้น ด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปได้ตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวร มีอุตราสงค์ อันตรวาสกเป็นอย่างมากจากจีวรเหล่านั้น ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6 รูป) เที่ยวขอจีวรให้กลุ่มภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงไป หรือจีวรหาย
ทั้ง ๆ ที่ภิกษุเหล่านั้นมีผู้ถวายจีวรแล้ว เป็นการขอหรือเรี่ยไรแบบไม่รู้จักประมาณ
ได้ผ้ามากจนถูกหาว่าจะขายผ้าหรืออย่างไร
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ในกรณีที่ผ้าถูกโจรชิงหรือหายนั้น
ถ้าคฤหัสถ์ปวารณาให้รับจีวรมากผืน
ก็รับได้เพียงผ้านุ่งกับผ้าห่มเท่านั้น รับเกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- ภิกษุนำเอาไปด้วยคิดว่า จักนำจีวรที่เหลือมาคืน
- เจ้าเรือนถวายบอกว่า จีวรที่เหลือจงเป็นของท่านรูปเดียว
- เจ้าเรือนไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรถูกชิงไป
- เจ้าเรือนไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรหาย
- ภิกษุขอต่อญาติ
- ภิกษุขอต่อคนปวารณา
- ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ยินดีเกินกว่ากำหนด
- ไม่มีเหตุเป็นต้นว่าผ้าเขาชิงเอาไปเสียหมด
- ขอกับคนผู้ไม่ใช่ญาติ
- ได้มาเป็นของตน
พร้อมด้วยองค์ 4 ดังนี้จึงเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 160)
***
ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดี ๆ กว่าที่เขากำหนดไว้เดิมถวาย
10. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส ราชา วา ราชโภคฺโค วา พฺราหฺมโณ วา คหปติโก วา ทูเตน จีวรเจตาปนํ ปหิเณยฺย อิมินา จีวรเจตาปเนน จีวรํ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรน อจฺฉาเทหีติ. โส เจ ทูโต ตํ ภิกฺขุํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวํ วเทยฺย อิทํ โข ภนฺเต อายสฺมนฺตํ อุทฺทิสฺส จีวรเจตาปนํ อาภตํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อายสฺมา จีวรเจตาปนนฺติ. เตน ภิกฺขุนา โส ทูโต เอวมสฺส วจนีโย น โข มยํ อาวุโส จีวรเจตาปนํ ปฏิคฺคณฺหาม จีวรญฺจ โข มยํ ปฏิคฺคณฺหาม กาเลน กปฺปิยนฺติ. โส เจ ทูโต ตํ ภิกฺขุํ เอวํ วเทยฺย อตฺถิ ปนายสฺมโต โกจิ เวยฺยาวจฺจกโรติ. จีวรตฺถิเกน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา เวยฺยาวจฺจกโร นิทฺทิสิตพฺโพ อารามิโก วา อุปาสโก วา เอโส โข อาวุโส ภิกฺขูนํ เวยฺยาวจฺจกโรติ. โส เจ ทูโต ตํ เวยฺยาวจฺจกรํ สญฺญาเปตฺวา ตํ ภิกฺขุํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวํ วเทยฺย, ยํ โข ภนฺเต อายสฺมา เวยฺยาวจฺจกรํ นิทฺทิสิ สญฺญตฺโต โส มยา อุปสงฺกมตุ อายสฺมา กาเลน จีวเรน ตํ อจฺฉาเทสฺสตีติ. จีวรตฺถิเกน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา เวยฺยาวจฺจกโร อุปสงฺกมิตฺวา ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจเทตพฺโพ สาเรตพฺโพ อตฺโถ เม อาวุโส จีวเรนาติ. ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจทยมาโน สารยมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูเตน อุทฺทิสฺส ฐาตพฺพํ, จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตฺตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูโต อุทฺทิสฺส ติฏฺฐมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, อิจฺเจตํ กุสลํ โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย, ตโต เจ อุตฺตรึ วายมมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ, โน เจ อภินิปฺผาเทยฺย, ยตสฺส จีวรเจตาปนํ อาภตํ ตตฺถ สามํ วา คนฺตพฺพํ ทูโต วา ปาเหตพฺโพ, ยํ โข ตุเมฺห อายสฺมนฺโต ภิกฺขุํ อุทฺทิสฺส จีวรเจตาปนํ ปหิณิตฺถ, น ตํ ตสฺส ภิกฺขุโน กิญฺจิ อตฺถํ อนุโภติ ยุญฺชนฺตายสฺมนฺโต สกํ มา โว สกํ วินสฺสาติ. อยํ ตตฺถ สามีจีติ.
“อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร, ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษูนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร, ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล; ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมี หรือ? ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรือ อุบาสกให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย, ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่าคนที่ท่่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น, ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว; ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล,ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ; ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้,พึงยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก; เธอยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก; ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้,การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ิยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์; ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้, ส่งทูตไปก็ได้ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ, บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย; นี้เป็นสามีจิกรรรมในเรื่องนั้น.”
***
สิกขาบทที่ 8 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดี ๆ กว่าที่เขากำหนดไว้เดิมถวาย
8. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อญฺญาตกสฺส คหปติสฺส วา คหปตานิยา วา จีวรเจตาปนํ อุปกฺขฏํ โหติ อิมินา จีวรเจตาปเนน จีวรํ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรน อจฺฉาเทสฺสามีติ. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย, สาธุ วต มํ อายสฺมา อิมินา จีวรเจตาปเนน เอวรูปํ วา เอวรูปํ วา จีวรํ เจตาเปตฺวา อจฺฉาเทหีติ กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง มีคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังรูปให้ครองเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.”
“อนึ่ง มีคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังรูปให้ครองเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.”
ต้นบัญญัติ
ชายผู้หนึ่งพูดกับภริยาว่า จะถวายผ้าแก่พระอุปนนทะ
เธอทราบจึงไปพูดให้เขาถวายจีวรอย่างนั้น อย่างนี้
ถ้าถวายจีวรอย่างที่เธอไม่ใช้ เธอก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เขาติเตียนว่ามักมาก
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามกำหนดให้คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
ให้ซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ถวายตน ด้วยหมายจะได้ของดี ๆ
ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
วิภังค์
บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่าท่านเจ้าข้า ท่านต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไรถวายท่าน.
อนาบัติ
บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่าท่านเจ้าข้า ท่านต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไรถวายท่าน.
อนาบัติ
- ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ
- ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้
- ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น
- ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
- เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดี ๆ ถวาย
สิกขาบทที่ 9 จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดี ๆ ถวาย
10. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อุภินฺนํ อญฺญาตกานํ คหปตีนํ วา คหปตานีนํ วา ปจฺเจกจีวรเจตาปนา อุปกฺขฏา โหนฺติ, อิเมหิ มยํ ปจฺเจกจีวรเจตาปเนหิ ปจฺเจกจีวรานิ เจตาเปตฺวา อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ จีวเรหิ อจฺฉาเทสฺสามาติ. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย สาธุ วต มํ อายสฺมนฺโต อิเมหิ ปจฺเจกจีวรเจตาปเนหิ เอวรูปํ วา เอวรูปํ วา จีวรํ เจตาเปตฺวา อจฺฉาเทถ อุโภ ว สนฺตา เอเกนาติ กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง มีคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติสองคนตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ ไว้เฉพาะภิกษุว่าเราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน,ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้นหรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ เหล่านี้ แล้วทั้งสองคนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.”
“อนึ่ง มีคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติสองคนตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ ไว้เฉพาะภิกษุว่าเราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน,ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้นหรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ เหล่านี้ แล้วทั้งสองคนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.”
ต้นบัญญัติ
ชายสองคนพูดกันว่า ต่างคนต่างจะซื้อผ้าคนละผืนถวายพระอุปนนทะ
เธอรู้จึงไปแนะนำให้เขารวมทุนกันซื้อผ้าชนิดนั้นชนิดนี้ (ที่ดี ๆ)
เขาพากันติเตียนว่ามักมาก
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามเข้าไปขอให้คฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ มิได้ปวารณาไว้ก่อน
เขาตั้งใจ จะต่างคนต่างซื้อจีวรถวายเธอ
แต่เธอกลับไปขอให้เขารวมกันซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ โดยมุ่งให้ได้ผ้าดี ๆ
ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
อนาบัติ
- ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ
- ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้
- ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น
- ภิกษุจ่ายด้วยทรัพย์ของตน
- เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่น เพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
สิกขาบทที่ ๑๐ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่น เพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
“อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร, ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษูนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร, ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล; ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมี หรือ? ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรือ อุบาสกให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย, ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่าคนที่ท่่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น, ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว; ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล,ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ; ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้,พึงยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก; เธอยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก; ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้,การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ิยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์; ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้, ส่งทูตไปก็ได้ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ, บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย; นี้เป็นสามีจิกรรรมในเรื่องนั้น.”
ต้นบัญญัติ
ใช้ทูตให้นำเงินค่าซื้อจีวรไปถวายพระอุปนันทะ
ท่านตอบว่าท่านรับเงินไม่ได้ รับได้แต่จีวรที่ควรโดยกาล
เขาจึงถามหาไวยาวัจกร (ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์)
ท่านจึงแสดงอุบาสกคนหนึ่ง ว่าเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย
เขาจึงมอบเงินแก่ไวยาวัจกรแล้วแจ้งให้ท่านทราบ
ท่านก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจกร
ท่านก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจกร
แม้จะได้รับคำเตือนจากมหาอำมาตย์ซึ่งส่งทูตมา
ขอให้ใช้ผ้านั้นเป็นครั้งที่ 2 ก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจกร
จนกระทั่งได้รับคำเตือนเป็นครั้งที่ 3 ขอให้ใช้ผ้านั้น
จึงไปเร่งเร้าเอากับไวยาวัจกรผู้กำลังมีธุระ
จึงต้องเข้าประชุมสภานิคม
ซึ่งมีกติกาว่า ใครไปช้าจะต้องถูกปรับ 50 กหาปณะ
แม้เขาจะแจ้งให้ทราบกติกาก็ไม่ฟัง คงเร่งเร้าเอาจนเขาต้องไปซื้อผ้ามาให้และไปถูกปรับเพราะเข้าประชุมช้า
คนทั้งหลายจึงติเตียนว่าทำให้เข้าประชุมช้าต้องเสียค่าปรับ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบและทรงติเตียน จึงบัญญัติสิกขาบทความว่า
ถ้าเขาส่งทูตมาถวายค่าซื้อจีวร และเธอแสดงไวยาวัจกรแล้ว เธอจะไปทวงจีวรเอากับไวยาวัจกรได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
ไปยืนนิ่ง ๆ ให้เขาเห็นไม่เกิน 6 ครั้ง
ถ้าทวงเกิน 3 ครั้ง หรือไปยืนเกิน 6 ครั้ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อนาบัติ
- ภิกษุทวง 3 ครั้งยืน 6 ครั้ง ภิกษุทวงไม่ถึง 3 ครั้งยืนไม่ถึง 6 ครั้ง
- ภิกษุไม่ได้ทวงไวยาวัจกรถวายเอง
- เจ้าของทวงเอามาถวาย
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- กัปปิยการกภิกษุแสดงเอง
- ทูตบอกกัปปิยการกให้รู้แล้ว บอกภิกษุให้รู้ด้วย
- พยายามคือทวงและยืนให้เกินกำหนด
- ได้มาด้วยความพยายามนั้น
พร้อมด้วยองค์ 4 ดังนี้ จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 163)
วิภังค์สิกขาบทว่า : ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ; อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลกจีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป
2. โกสิยวรรค วรรคว่าด้วยไหม เป็นวรรคที่ 2 มี 10 สิกขาบท
สิกขาบทที่ 1 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งเจือด้วยไหม
11. โย ปน ภิกฺขุ โกสิยมิสฺสกํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาช่างทำไหม ขอให้เขาต้มตัวไหม, และขอใยไหมบ้าง
เพื่อจะหล่อสันถัต (เครื่องลาด, เครื่องปูนั่ง) เจือด้วยไหม,
เขาหาว่าเบียดเบียนเขาและเบียดเบียนตัวไหม
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามภิกษุหล่อสันถัต เจือด้วยไหม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
วิภังค์
สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
อนาบัติ
สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
อนาบัติ
- ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็น เปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
วิธีหล่อสันถัต ใช้ยางเหนียวเช่นน้ำข้าวเทลงบนพื้นที่เรียบแล้วเอาขนโปรยลาดลงบนยางเหนียว (วิ.อ. 2/542/192)
***
ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียมดำล้วน
สิกขาบทที่ 2 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียมดำล้วน
12. โย ปน ภิกฺขุ สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียม (ขนแพะ ขนแกะ) ดำล้วน
คนทั้งหลายติเตียนว่า ใช้ของอย่างคฤหัสถ์
จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามหล่อเองหรือใช้ให้หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน
ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ผู้ล่วงละเมิด
อนาบัติ
- ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
สิกขาบทที่ 3 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วน เมื่อหล่อเครื่องปูนั่ง
13. นวํ ปน ภิกฺขุนา สนฺถตํ การยมาเนน เทฺว ภาคา สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ อาทาตพพา ตติยํ โอทาตานํ จตุตฺถํ โคจริยานํ. อนาทา เจ ภิกฺขุ เทฺว ภาเค สุทฺธกาฬกานํ เอฬกโลมานํ ตติยํ โอทาตานํ จตุตฺถํ โคจริยานํ นวํ สนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน 2 ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ 3 ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่4,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน 2 ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ 3 ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ 4 ให้ทำสันถัตใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน 2 ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ 3 ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่4,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน 2 ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ 3 ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ 4 ให้ทำสันถัตใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วนเพียงแต่เอาขนจียมขาวหน่อยหนึ่ง
ใส่ลงไปที่ชาย มีผู้ติเตียน จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำ 2 ส่วน
ขนเจียมขาว 1 ส่วน ขนเจียมแดง 1 ส่วน ถ้าไม่ทำตามส่วนนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- ภิกษุถือเอาขนเจียมขาว 1 ชั่ง ขนเจียมแดง 1 ชั่ง แล้วทำ
- ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า แล้วทำ
- ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดงล้วน แล้วทำ
- ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อยังใช้ของเก่าไม่ถึง 6 ปี
สิกขาบทที่ 4 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อยังใช้ของเก่าไม่ถึง 6 ปี
14. นวํ ปน ภิกฺขุนา สนฺถตํ การาเปตฺวา ฉพฺพสฺสานิ ธาเรตพฺพํ. โอเรน เจ ฉนฺนํ วสฺสานํ ตํ สนฺถตํ วิสฺสชฺเชตฺวา วา อวิสฺสชฺเชตฺวา วา อญฺญํ นวํ สนฺถตํ การาเปยฺย, อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ 6 ฝน. ถ้ายังหย่อนกว่า 6 ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ 6 ฝน. ถ้ายังหย่อนกว่า 6 ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายหล่อสันถัตทุกปี ต้องขอขนเจียมจากชาวบ้าน เป็นการรบกวนเขา
มีผู้ติเตียนอ้างว่าของชาวบ้านเขาใช้ได้นานถึง ๕-๖ ปี
จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุหล่อสันถัตใหม่ พึงใช้ให้ถึง ๖ ปี
ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภายหลังภิกษุเป็นไข้ เขานิมนต์ไปที่อื่น ไม่กล้าไป เพราะจะนำสันถัตไปด้วยไม่ไหว
จึงทรงอนุญาตให้มีการสมมติเป็นพิเศษสำหรับภิกษุไข้
อนาบัติ
- ครบ 6 ฝนแล้วภิกษุทำใหม่
- เกิน 6 ฝนแล้วภิกษุทำใหม่
- ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น
- ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย
- ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี
- ภิกษุได้สมมติ
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ให้ตัดสันถัตของเก่าปนลงในของใหม่
สิกขาบทที่ 5 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ให้ตัดสันถัตของเก่าปนลงในของใหม่
15. นิสีทนสนฺถตํ ปน ภิกฺขุนา การยมาเนน ปุราณสนฺถตสฺส สามนฺตา สุคตวิทตฺถิ อาทาตพฺพา ทุพฺพณฺณกรณาย. อนาทา เจ ภิกฺขุ ปุราณสนฺถตสฺส สามนฺตา สุคตวิทตฺถึ นวํ นิสีทนสนฺถตํ การาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี, ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ใ้ห้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายทิ้งสันถัตไว้ในที่นั้น ๆ
ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่กรุงสาวัตถี ในโกศลชนบท
ห้ามใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำความสะอาดขนเจียม
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) ใช้นางภิกษุณีให้ซัก ให้ย้อม ให้สางขนเจียม
เจ้าของบ้านที่พระอุปนันทศากยบุตร เข้าไปฉันเป็นนิตย์ เตรียมเนื้อไว้ถวายในเวลาเช้า
ภิกษุทั้งหลายทิ้งสันถัตไว้ในที่นั้น ๆ
พระผู้มีพรภาคทอดพระเนตรเห็น จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุจะหล่อสันถัตสำหรับนั่ง
พึงถือเอาสันถัตเก่า ๑ คืบ โดยรอบ เขือลงไป เพื่อทำลายให้เสียสี
ถ้าไม่ทำอย่างนั้น หล่อสันถัตใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
(สิกขาบทนี้ ทำให้เห็นความสำคัญของสันถัตเก่าที่จะต้องเก็บไว้ปนลงไปเมื่อหล่อใหม่ด้วย)
อนาบัติ
- ภิกษุถือเอาสันถัตเก่าหนึ่งคืบสุคตโดยรอบแล้วทำ
- ภิกษุหาไม่ได้ถือเอาแต่น้อยแล้วทำ
- ภิกษุหาไม่ได้ ไม่ถือเอาเลยแล้วทำ
- ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้วใช้สอย
- ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามนำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์
สิกขาบทที่ 6 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามนำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์
16. ภิกฺขุโน ปเนว อทฺธานมคฺคปฏิปนฺนสฺส เอฬกโลมานิ อุปฺปชฺเชยฺยุํ, อากงฺขมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพานิ ปฏิคฺคเหตฺวา ติโยชนปรมํ สหตฺถา หาเรตพฺพานิ อสนฺเต หารเก ตโต เจ อุตฺตรึ หเรยฺย อสนฺเตปิ หารเก, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล, ภิกษุต้องการพึงรับได้, ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเองตลอดระยะทาง 3 โยชน์เป็นอย่างมาก, ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล, ภิกษุต้องการพึงรับได้, ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเองตลอดระยะทาง 3 โยชน์เป็นอย่างมาก, ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่กรุงสาวัตถี ในโกศลชนบท
มีผู้ถวายขนเจียมในระหว่างทาง เธอเอาจีวรห่อนำไป
มนุษย์ทั้งหลายพากันพูดล้อว่า ซื้อมาด้วยราคาเท่าไร จะได้กำไรเท่าไร
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า
ภิกษุเดินทางไกล มีผู้ถวายขนเจียม ถ้าปรารถนาก็พึงรับและนำไปเองได้
ไม่เกิน 3 โยชน์ในเมื่อไม่มีผู้นำไปให้ ถ้านำไปเกิน 3 โยชน์ แม้ไม่มีผู้นำไปให้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
อนาบัติ
อนาบัติ
- ภิกษุถือไปเพียงระยะ 3 โยชน์
- ภิกษุถือไม่หย่อนระยะ 3 โยชน์
- ภิกษุถือไปก็ดี ถือกลับมาก็ดี เพียงระยะ 3 โยชน์
- ภิกษุถือไปเพียง 3 โยชน์แล้วพักแรมเสีย รุ่งขึ้นถือต่อจากนั้นไปอีก
- ขนเจียมถูกโจรชิงไปแล้วภิกษุได้คืนมา ถือไปอีก
- ขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของแล้วภิกษุถือไป
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
สิกขาบทที่ 7 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำความสะอาดขนเจียม
17. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา เอฬกโลมานิ โธวาเปยฺย วา รชาเปยฺย วา วิชฏาเปยฺย วา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) ใช้นางภิกษุณีให้ซัก ให้ย้อม ให้สางขนเจียม
ทำให้เสียการเรียน การสอบถาม และเสียข้อปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ชั้นสูง
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติซัก, ย้อม, หรือสางขนเจียม
ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
อนาบัติ
- ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง
- ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ
- ภิกษุไม่ได้บอกใช้แต่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง
- ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้
- ใช้สิกขมานาซัก
- ใช้สามเณรีซัก
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามรับทองเงิน
18. โย ปน ภิกฺขุ ชาตรูปรชตํ อุคฺคเณฺหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยะปาจิตตีย์.”
สิกขาบทที่ 8 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามรับทองเงิน
18. โย ปน ภิกฺขุ ชาตรูปรชตํ อุคฺคเณฺหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยะปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
แต่เด็กร้องไห้ขอกินในเวลากลางคืน จึงให้เด็กกินไป
รุ่งเช้าพระอุปนัันทะเข้าไปในบ้านนั้น เขาจึงแจ้งเรื่องให้ทราบแล้วถามว่า
“พระคุณเจ้า จะให้ผมนำกหาปณะไปแลกอะไรมา ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทะถามว่า "ท่านบริจาคทรัพย์ 1 กหาปณะแก่อาตมาหรือ"
เขาตอบว่าใช่ ท่านจึงกล่าวว่า “ท่านจงถวายกหาปณะนั้นแก่อาตมาเถิด”
ทีนั้นเขาเอากหาปณะ ถวายแก่ท่านพระอุปนันทะ
แล้วตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้รับรูปะยะ เหมือนพวกเรา”
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุรับเอง ใช้ให้รับทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน ที่เขาเก็บไว้เพื่อตนทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
(ภายหลังทรงอนุญาตให้ยินดีในปัจจัย 4 ได้ คือ ทายกมอบเงินไว้แก่ไวยาวัจกร เพื่อให้จัดหาปัจจัย 4 ภิกษุต้องการอะไร ก็บอกให้เขาจัดหาให้ มีรายละเอียดอยู่หน้า 253)
วิภังค์
ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำเป็นโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
***
ห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก
ปริพพาชกผู้หนึ่ง เห็นพระอุปนนทะ ศากยบุตร ห่มผ้าสังฆาฏิสีงาม
วิภังค์
บทว่า ถึงการแลกเปลี่ยน คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า จงให้ของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงนำของสิ่งนี้มาด้วยของสิ่งนี้ จงแลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงจ่ายของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้เป็นต้น, ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุรับเอง ใช้ให้รับทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน ที่เขาเก็บไว้เพื่อตนทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
(ภายหลังทรงอนุญาตให้ยินดีในปัจจัย 4 ได้ คือ ทายกมอบเงินไว้แก่ไวยาวัจกร เพื่อให้จัดหาปัจจัย 4 ภิกษุต้องการอะไร ก็บอกให้เขาจัดหาให้ มีรายละเอียดอยู่หน้า 253)
วิภังค์
ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำเป็นโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้
มาสกที่ทำด้วยครั่ง ซึ่งใช้เป็นมาตรสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า ยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น, เป็นนิสสัคคีย์ ทอง เงินที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
อนาบัติ
บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า ยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น, เป็นนิสสัคคีย์ ทอง เงินที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
อนาบัติ
- ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี, ภิกษุหยิบยกเองก็ดี ใช้ให้หยิบยกก็ดี, แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด, ผู้นั้นจักนำไปดังนี้
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ของนั้นเป็นทองและเงินที่เป็นนิสสัคคิยวัตถุ
- เฉพาะเป็นของตัว
- รับเองหรือให้เขารับ หรือเขาเก็บไว้ให้ ยินดีเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
พร้อมด้วย องค์ 3 ดังนี้ จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณา หน้า 167)
อธิบายขยายความ เรื่องนี้เป็นที่ถูกหยิบยกมาบิดเบือน และทำเหมือนเป็นเรื่องร้ายรุนแรงมาก บางสำนักบิดเบือนว่าเป็นอาบัติหนัก ทั้ง ๆ ที่ในพระวินัยอยู่ในอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติเบา และกล่าวโมเม กุเรื่อง สร้างเรื่องให้ดูยิ่งใหญ่ลามไปถึงการตกนรกหมกไหม้ ขอเรียนชี้แจงให้ทราบดังนี้ พระวินัยมีการอณุญาติให้ยินดีในการรับปัจจัยแล้ว โดยต้องมีไวยาวัจกรเป็นผู้รับดูแลแทน แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ไวยาวัจกร มีเพียงแค่เป็นของวัด และของพระที่มีชื่อเสียงดัง ๆ มีตำแหน่ง มีเงินทองมากมายมหาศาลเพียงไม่กี่รูปเท่านั้น จะหาใครมาดูแลเป็นไวยาวัจกรให้พระคุณเจ้าได้ทุกรูปกันล่ะ? ครั้นจะไม่มีเงินทองจับจ่ายใช้สอยในสภาพสังคมปัจจุบันนี้มันเป็นเรื่องยาก สิ่งของเครื่องใช้บางอย่าง ไม่มีญาติโยมผู้ใดถวาย หรือปวารณาถวาย ก็ต้องใช้เงินไปซื้อหากันเอาเอง ถึงมีถวาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าพระคุณเจ้าทุกรูปจะได้สิ่งนั้นทั้งหมด ลองให้ท่านอยู่ในสังคมปัจจุบันโดยไม่ใช้เงิน ท่านจะอยู่ได้หรือไม่ล่ะ? ก็ลองนึกถึงพระคุณเจ้าดูบ้างว่าจะอยู่ในสังคมปัจจุบันได้กระนั้นหรือ?
บางสำนักชอบหยิบเรื่องนี้มาตี มาโจทย์แก่คณะสงฆ์ แก่ภิกษุสงฆ์อื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ยังใช้จ่ายเงินทองผ่านไวยาวัจกร ซึ่งถ้าให้เทียบแล้ว ใช้เงินเอง กับฝากเงินไว้ที่ใครคนใดคนหนึ่งจัดการ โดยอำนาจของเงินนั้นยังเป็นของตัวท่าน มันก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่หรอก สักแต่เพียงจะยกขึ้นมาเพื่อให้ตัวมันเองดูดีกว่าคนอื่นเท่านั้น สุดท้ายตัวมันเองก็พ่ายแพ้ไปในร่มกาสาวพัตร์นี้ กล่าวถึงสำนักใด คงไม่ต้องเอ่ยนาม คงจะรู้กันดี
เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาดูให้ถ้วนถี่ก่อนจะตัดสินใจกระทำการติเตียนพระภิกษุสงฆ์ จะได้ไม่ก่อโทษ ก่อเวร ก่อกรรมในภายหลัง
***
ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
สิกขาบทที่ 9 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
19. โย ปน ภิกฺขุ นานปฺปการกํ รูปิยสํโวหารํ สมาปชฺเชยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
(ทอง เงิน หรือสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนแทนเงิน ที่กำหนดให้ใช้ได้ทั่วไปในที่นั้น ๆ)
มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่าทำเหมือนเป็นคฤหัสถ์
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
วิภังค์
ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้
ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้
มาสกที่ทำด้วยครั่ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น, ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์.
อนาบัติ
อนาบัติ
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ของที่แลกเปลี่ยนมาก็ดี ทรัพย์ของตนที่จะเอาไปแลกเปลี่ยนก็ดี ข้างใดข้างหนึ่งเป็นรูปิยะ เป็นนิสสัคคิยวัตถุ
- สำเร็จในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน
พร้อมด้วยองค์ 2 ดังนี้ จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 168)
ข้อนี้ต่างจากข้อที่ 9 ข้างต้น ตรงที่เป็นเรื่องการใช้จ่าย ให้ไวยาวัจกรเป็นผู้ดูแลจัดหามาให้ตามที่พระภิกษุต้องการในสิ่งนั้น ๆ อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้นในสิกขาบทที่ 9 ก่อนหน้านี้
พึงพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงการดำรงอยู่ในยุคสมัยนี้ด้วยเถิด มิใช่เพียงแต่จะจ้องเอาผิด เอาโทษ ตามที่บางสำนักตั้งตนโจทภิกษุสงฆ์อยู่ เพื่อจะได้ไม่เป็นการก่อเวร ก่อกรรม ในภายภาคหน้า
และให้ดูสิกขาบทต่อไป มีข้อกำหนดในอนาบัติบางข้อว่า "ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน" ไม่เป็นอาบัติ
ซึ่งถ้าจับจ่ายใช้สอยไม่ได้จริง ๆ คงไม่มีอนาบัติข้อนี้ปรากฏ
***
สิกขาบทที่ 10 โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
20. โย ปน ภิกฺขุ นานปฺปการกํ กยวิกฺกยํ สมาปชฺเชยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.(๑๑๓)
โกสิยวคฺโค ทุติโย.
“อนึ่ง ภิกษุใดถึงแลกเปลี่ยนมีประการต่าง ๆ,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
โกสิยวคฺโค ทุติโย.
“อนึ่ง ภิกษุใดถึงแลกเปลี่ยนมีประการต่าง ๆ,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ปริพพาชกผู้หนึ่ง เห็นพระอุปนนทะ ศากยบุตร ห่มผ้าสังฆาฏิสีงาม
จึงชวนแลกกับท่อนผ้าของตน ภายหลังทราบว่าผ้าของตนดีกว่า จึงขอแลกคืน
พระอุปนนทะไม่ยอมให้แลกคืน จึงติเตียนพระอุปนนทะ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุทำการซื้อขายด้วยประการต่าง ๆ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
(หมายถึงซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยใช้สิ่งของแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างนักบวชในพระพุทธศาสนาทำได้)
บทว่า ถึงการแลกเปลี่ยน คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า จงให้ของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงนำของสิ่งนี้มาด้วยของสิ่งนี้ จงแลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงจ่ายของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้เป็นต้น, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ในเวลาที่แลกแล้ว คือของๆ ตนไปอยู่ในมือของคนอื่น และเปลี่ยนแล้ว คือของ ๆ คนอื่นมาอยู่ในมือของตน.
เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะหรือบุคคล.
อนาบัติ
อนาบัติ
- ภิกษุถามราคา,
- ภิกษุบอกแก่กัปปิยการกว่า ของสิ่งนี้ของเรามีอยู่แต่เรา ต้องการของสิ่งนี้และของสิ่งนี้ ดังนี้,
- ภิกษุวิกลจริต,
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้่อง อาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ของ ๆตนที่จะเอาไปแลกก็ดี ของๆผู้อื่นที่ตนจะแลกมาก็ดีทั้ง 2 นี้ เป็นกัปปิยภัณฑ์ของควร
- เจ้าของภัณฑะนั้น เป็นคฤหัสถ์ไม่ใช่สหธัมมิก
พร้อมด้วยองค์ 2 ดังนี้ จึงเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 170)
3. ปัตตวรรค วรรคว่าด้วยบาตร เป็นวรรคที่ 3 มี 10 สิกขาบท
สิกขาบทที่ 1 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามเก็บบาตรเกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๑๐ วัน
21. ทสาหปรมํ อติเรกปตฺโต ธาเรตพฺโพ ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ 10 วัน เป็นอย่างสูง, ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ 10 วัน เป็นอย่างสูง, ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก ถูกมนุษย์ติเตียนว่าเป็นพ่อค้าบาตร
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเก็บบาตรอติเรก
(คือที่เกิน 1 ลูก ซึ่งเกินจำเป็นสำหรับใช้เป็นประจำ) ไว้เกิน 10 วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้
ภิกษุรูปใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิภังค์
ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป
วิภังค์
ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป
(ทำวินัยกรรมให้เป็นของสองเจ้าของ)
ที่ชื่อว่า บาตร มี 2 อย่าง คือ บาตรเหล็ก 1 บาตรดินเผา 1
ที่ชื่อว่า บาตร มี 2 อย่าง คือ บาตรเหล็ก 1 บาตรดินเผา 1
อนาบัติ
- ภิกษุอธิษฐาน
- ภิกษุวิกัปไว้
- ภิกษุสละให้ไป
- บาตรหายไป
- บาตรฉิบหาย
- บาตรแตก
- โจรชิงเอาไป
- ภิกษุถือวิสาสะ
- ในภายใน 10 วัน
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
สิกขาบทที่ 2 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
22. โย ปน ภิกฺขุ อูนปญฺจพนฺธเนน ปตฺเตน อญฺญํ นวํ ปตฺตํ เจตาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. เตน ภิกฺขุนา โส ปตฺโต ภิกฺขุปริสาย นิสฺสชฺชิตพฺโพ. โย จ ตสฺสา ภิกฺขุปริสาย ปตฺตปริยนฺโต โส จ ตสฺส ภิกฺขุโน ปทาตพฺโพ อยนฺเต ภิกฺขุ ปตฺโต ยาว เภทนาย ธาเรตพฺโพติ. อยํ ตตฺถ สามีจีติ.
“อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัท; บาตรใบสุดแห่งภิกษุบริษัทนั้น, พึงมอบให้แก่ภิกษุนั้นสั่งว่า “ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้กว่าจะแตก” นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.”
“อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัท; บาตรใบสุดแห่งภิกษุบริษัทนั้น, พึงมอบให้แก่ภิกษุนั้นสั่งว่า “ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้กว่าจะแตก” นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.”
ต้นบัญญัติ
ช่างหม้อปวารณาให้ภิกษุทั้งหลายขอบาตรได้ แต่ภิกษุทั้งหลายขอเกินประมาณ จนเขาเดือดร้อน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอบาตร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงผ่อนผันให้ขอได้ ในเมื่อบาตรหาย หรือบาตรแตก หรือบาตรเป็นแผลเกิน ๕ แห่ง
วิภังค์
บาตรที่ชื่อว่า มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวถึงสององคุลี.
บทว่า ให้จ่าย คือ ขอเขา เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ เป็นนิสสััคคีย์ด้วยได้บาตรมา จำต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์.
อนาบัติ
บาตรที่ชื่อว่า มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวถึงสององคุลี.
บทว่า ให้จ่าย คือ ขอเขา เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ เป็นนิสสััคคีย์ด้วยได้บาตรมา จำต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์.
อนาบัติ
- ภิกษุมีบาตรหาย
- ภิกษุมีบาตรแตก
- ภิกษุขอต่อญาติ
- ภิกษุขอต่อคน ปวารณา
- ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น
- ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ** จากสิกขาบทในโกสิยวรรคที่ 9 ที่เคยกล่าวไว้ **
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล
***
สิกขาบทที่ 3 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามเก็บเภสัช 5 ไว้เกิน 7 วัน
23. ยานิ โข ปน ตานิ คิลานานํ ภิกฺขูนํ ปฏิสายนียานิ เภสชฺชานิ เสยฺยถีทํ สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ. ตานิ ปฏิคฺคเหตฺวา สตฺตาหปรมํ สนฺนิธิการกํ ปริภุญฺชิตพฺพานิ ตํ อติกฺกามยโต, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันให้ได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันให้ได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
มีผู้ถวายเภสัช 5 สำหรับคนไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่พระปิลินทวัจฉะ
ท่านก็แบ่งให้บริษัทของท่าน (ซึ่งเป็นภิกษุ). ภิกษุเหล่านั้นเก็บไว้ในที่ต่าง ๆ
เภสัชก็ไหลเยิ้มเลอะเทอะวิหารก็มากไปด้วยหนู. คนทั้งหลายพากันติเตียน
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ให้เก็บเภสัช 5 ไว้บริโภคได้ไม่เกิน 7 วัน ถ้าเกิน 7 วัน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
อนาบัติ
- ภิกษุผูกใจไว้ว่าจะไม่บริโภค
- ภิกษุแจกจ่ายให้ไป
- เภสัชนั้นสูญหาย
- เภสัชนั้นเสีย
- เภสัชนั้นถูกไฟไหม้
- เภสัชนั้นถูกโจรชิงไป
- ภิกษุถือวิสาสะไป
- ในภายในเจ็ดวัน ภิกษุให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตคิดสละแล้ว ทิ้งแล้วปล่อยแล้ว ไม่ห่วงใย กลับได้มา ฉันได้
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
สิกขาบทที่ 4 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด
24. มาโส เสโส คิมฺหานนฺติ ภิกฺขุนา วสฺสิกสาฏิกจีวรํ ปริเยสิตพฺพํ อฑฺฒมาโส เสโส คิมฺหานนฺติ กตฺวา นิวาเสตพฺพํ. โอเรน เจ มาโส เสโส คิมฺหานนฺติ วสฺสิกสาฏิกจีวรํ ปริเยเสยฺย โอเรนฑฺฒมาโส เสโส คิมฺหานนฺติ กตฺวา นิวาเสยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก 1 เดือน พึงแสวงหาจีวรคือ ผ้าอาบน้ำฝนได้ รู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้, ถ้าเธอรู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า 1 เดือน แสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง เป็นนิสสัคยปาจิตตีย์.”
“ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก 1 เดือน พึงแสวงหาจีวรคือ ผ้าอาบน้ำฝนได้ รู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้, ถ้าเธอรู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า 1 เดือน แสวงหาจีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง เป็นนิสสัคยปาจิตตีย์.”
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน
จึงแสวงหาและทำนุ่ง ก่อนเวลา (จะถึงหน้าฝน) ต่อมาผ้าเก่าชำรุด เลยต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ให้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ภายใน 1 เดือนก่อนฤดูฝน ให้ทำนุ่งได้ภายใน 15 วันก่อนฤดูฝน ถ้าแสวงหาหรือทำก่อนกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกหนึ่งเดือน แสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน
- ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน ทำนุ่ง
- ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงหนึ่งเดือน แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน
- ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ทำนุ่ง
- เมื่อผ้าอาบน้ำฝนภิกษุแสวงหาได้แล้วฝนแล้ง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนภิกษุทำนุ่งแล้วฝนแล้ง ซักเก็บไว้
- ภิกษุนุ่งในสมัย
- ภิกษุมีจีวรถูก โจรชิงไป
- ภิกษุมีจีวรหายเสีย
- มีอันตราย
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ให้จีวรภิกษุอื่นแล้ว ห้ามชิงคืนในภายหลัง
สิกขาบทที่ 5 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ให้จีวรภิกษุอื่นแล้ว ห้ามชิงคืนในภายหลัง
25. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส สามํ จีวรํ ทตฺวา กุปิโต อนตฺตมโน อจฺฉินฺเทยฺย วา อจฺฉินฺทาเปยฺย, วา นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่งภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่งภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระอุปนนทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปชนบท
เธอว่าจีวรชำรุดมาก เธอไม่ไปพระอุปนนทะจึงให้จีวรใหม่
ภายหลังภิกษุนั้นปลี่ยนใจจะตามเสด็จพระผู้มีพระภาค
พระอุปนนทะโกรธ จึงชิงจีวรคืนมา
พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ชิงคืนเองหรือใช้ให้ชิงคืนมา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- ภิกษุผู้ได้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี ภิกษุเจ้าของเดิมถือวิสาสะแก่ผู้ได้รับไปนั้น ก็ดี
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ตอ้งอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ผ้ากว้างยาวควรวิกัปเป็นอย่างต่ำ
- ผ้านั้นภิกษุให้เอง
- สำคัญว่าเป็นของ ๆ ตัว
- ผู้ที่ได้ไปเป็นอุปสัมบันภิกษุ
- ชิงเอาเองหรือให้ผู้อื่นชิงเอาด้วยความโกรธ
พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณา หน้า 173)
ภิกษุฉัพพัคคีย์เที่ยวขอด้ายเขามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร
อนาบัติ
***
ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
สิกขาบทที่ 6 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
26. โย ปน ภิกฺขุ สามํ สุตฺตํ วิญฺญาเปตฺวา ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์เที่ยวขอด้ายเขามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร
ด้ายเหลือก็ไปขอเขาเพิ่ม ให้ช่างหูกทอเป็นจึวรอีก
ด้ายเหลืออีก ก็ไปขอด้ายเขาสมทบ เอาไปให้ช่างหูกทอเป็นจีวรอีก รวม ๓ ครั้ง
คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุขอด้ายเขาด้วยตนเอง เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์
อนาบัติ
- ภิกษุขอด้ายมาเพื่อเย็บจีวร
- ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า
- ภิกษุขอด้ายมาทำประคตเอว
- ภิกษุขอด้ายมาทำผ้าอังสะ
- ภิกษุขอด้ายมาทำถุงบาตร
- ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ากรองน้ำ
- ภิกษุของต่อญาติ
- ภิกษุขอต่อคนปวารณา
- ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น
- ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ** จากสิกขาบทในโกสิยวรรคที่ 9 ที่เคยกล่าวไว้ **
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอให้ดีขึ้น
สิกขาบทที่ 7 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอให้ดีขึ้น
27. ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส อญฺญาตโก คหปติ วา คหปตานี วา ตนฺตวาเยหิ จีวรํ วายาเปยฺย. ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ ปุพฺเพ อปฺปวาริโต ตนฺตวาเย อุปสงฺกมิตฺวา จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย, อิทํ โข อาวุโส จีวรํ มํ อุทฺทิสฺส วียติ อายตญฺจ กโรถ วิตฺถตญฺจ อปฺปิตญฺจ สุวีตญฺจ สุปฺปวายิตญฺจ สุวิเลขิตญฺจ สุวิตจฺฉิตญฺจ กโรถ อปฺเปวนาม มยมฺปิ อายสฺมนฺตานํ กิญฺจิมตฺตํ อนุปทชฺเชยฺยามาติ. เอวญฺจ โส ภิกฺขุ วตฺวา กิญฺจิมตฺตํ อนุปทชฺเชยฺย อนฺตมโส ปิณฺฑปาตมตฺตมฺปิ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง เจ้าพ่อเรือนก็ดี เจ้าแม่เรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวรเฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว่ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้วถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดีให้เป็นของที่ทอดีให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กของน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัึคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระอุปนนทะ ศากยบุตร ทราบว่า ชายผู้หนึ่งสั่งภริยาให้จ้างช่างหูกทอจีวรถวาย
จึงไปหาช่างหูกสั่งให้เขาทอ ให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น เป็นต้น
ด้ายที่ให้ไว้เดิมไม่พอ ช่างต้องมาขอด้ายจากหญิงนั้นไปเติมอีกเท่าตัว
ชายผู้สามีทราบภายหลังจึงติเตียน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ใจความว่า ภิกษุที่เขามิได้ปวารณาไว้ก่อน ไปหาช่างหูให้ทออย่างนั้นอย่างนี้
ตนจะให้รางวัลบ้าง ครั้นพูดกับเขาแล้ว
ให้แม้ของเพียงเล็กน้อยสักว่าบิณฑบาต ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- ภิกษุขอต่อญาติ
- ภิกษุขอต่อคนปวารณา
- ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น
- ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตนเอง ** จากสิกขาบทในโกสิยวรรคที่ 9 ที่เคยกล่าวไว้ **
- เจ้าเรือนใครจะให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้ทอจีวรมีราคาน้อย
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษไว้เกินกำหนด
สิกขาบทที่ 8 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษไว้เกินกำหนด
28. ทสาหานาคตํ กตฺติกเตมาสิปุณฺณมํ ภิกฺขุโน ปเนว อจฺเจกจีวรํ อุปฺปชฺเชยฺย อจฺเจกํ มญฺญมาเนน ภิกฺขุนา ปฏิคฺคเหตพฺพํ ปฏิคฺคเหตฺวา ยาวจีวรกาลสมยํ นิกฺขิปิตพฺพํ ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“วันปุรณมีที่ครบ 3 เดือน แห่งเดือนกัตติกา ยังไม่มาอีก 10 วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ให้รับผ้าจำนำพรรษา
(ที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ก่อนออกพรรษา) แล้วเก็บไว้ได้
แต่ภิกษุบางรูปเก็บไว้เกินเขตจีวรกาล พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ให้รับผ้าจำนำพรรษาได้ก่อนออกพรรษา 10 วัน
แต่ให้เก็บไว้เพียงตลอดกาลจีวร เก็บเกินกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
วิภังค์
บทว่า ยังไม่มาอีก 10 วัน คือ ก่อนวันปวารณา 10 วัน.
ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า บุคคลประสงค์จะไปกองทัพก็ดี,บุคคลประสงค์จะไปแรมคืนต่างถิ่นก็ดี บุคคลเจ็บไข้ก็ดี สตรีมีครรภ์ก็ดี บุคคลยังไม่มีศรัทธา มามีศรัทธาเกิดขึ้นก็ดี บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส มามีความเลื่อมใสเกิดขึ้นก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่านิมนต์ท่านผู้เจริญมา ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน
อนาบัติ
บทว่า ยังไม่มาอีก 10 วัน คือ ก่อนวันปวารณา 10 วัน.
ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า บุคคลประสงค์จะไปกองทัพก็ดี,บุคคลประสงค์จะไปแรมคืนต่างถิ่นก็ดี บุคคลเจ็บไข้ก็ดี สตรีมีครรภ์ก็ดี บุคคลยังไม่มีศรัทธา มามีศรัทธาเกิดขึ้นก็ดี บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส มามีความเลื่อมใสเกิดขึ้นก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่านิมนต์ท่านผู้เจริญมา ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน
อนาบัติ
- ภิกษุอธิษฐาน
- ภิกษุวิกัป
- ภิกษุสละให้ได้
- จีวรหาย
- จีวรฉิบหาย
- จีวรถูกไฟไหม้
- จีวรถูกชิงเอาไป
- ภิกษุถือวิสาสะ
- ในภายในสมัย
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
***
ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
สิกขาบทที่ 9 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
29. อุปวสฺสํ โข ปน กตฺติกปุณฺณมํ. ยานิ โข ปน ตานิ อารญฺญกานิ เสนาสนานิ สาสงฺกสมฺมตานิ สปฺปฏิภยานิ ตถารูเปสุ ภิกฺขุ เสนาสเนสุ วิหรนฺโต อากงฺขมาโน ติณฺณํ จีวรานํ อญฺญตรํ จีวรํ อนฺตรฆเร นิกฺขิเปยฺย. สิยา จ ตสฺส ภิกฺขุโน โกจิเทว ปจฺจโย เตน จีวเรน วิปฺปวาสาย ฉารตฺตปรมนฺเตน ภิกฺขุนา เตน จีวเรน วิปฺปวสิตพฺพํ. ตโต เจ อุตฺตรึ วิปฺปวเสยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน 12 ปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร 3 ผืน ๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และปัจจัยอะไร ๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ 6 คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้นเว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน 12 ปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร 3 ผืน ๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และปัจจัยอะไร ๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ 6 คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้นเว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุจำพรรษาแล้ว อยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรรู้ว่ามีจีวร ก็เข้าแย่ง
พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้
ภิกษุจึงเก็บไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน จีวรหายบ้าง หนูกัดบ้าง จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้. แต่จะอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ไม่เกิน ๖ คืน
ถ้าเกินไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ
(คือสงฆ์ประชุมกันสวดประกาศเป็นกรณีพิเศษ)
วิภังค์
คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่านั้นมีระยะไกล 500 ชั่วธนู เป็นอย่างน้อย. (ห่างหมู่บ้านประมาณ 25 เส้น = 1 กิโลเมตร : พระไตรปิฎก มจร.2/644/573)
ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีสถานที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่.
อนาบัติ
คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่านั้นมีระยะไกล 500 ชั่วธนู เป็นอย่างน้อย. (ห่างหมู่บ้านประมาณ 25 เส้น = 1 กิโลเมตร : พระไตรปิฎก มจร.2/644/573)
ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีสถานที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่.
อนาบัติ
- ภิกษุอยู่ปราศ 6 ราตรี
- ภิกษุอยู่ปราศไม่ถึง 6 ราตรี
- ภิกษุอยู่ปราศ 6 ราตรีแล้วกลับมายังคามสีมา อยู่ แล้วหลีกไป
- ภิกษุถอนเสียภายใน 6 ราตรี
- ภิกษุสละให้ไป
- จีวรหาย
- จีวรฉิบหาย
- จีวรถูกไฟไหม้
- จีวรถูกชิงเอาไป
- ภิกษุถือวิสาสะ
- ภิกษุได้รับสมมติ
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ
***
สิกขาบทที่ 10 ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน
30. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ สงฺฆิกํ ลาภํ ปริณตํ อตฺตโน ปริณาเมยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
“อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวาย สงฆ์มาเพื่อตนเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
“อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวาย สงฆ์มาเพื่อตนเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”
ต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปพูดกับคณะบุคคล ซึ่งเตรียมอาหารและจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์
เพื่อให้เขาถวายแก่ตน เขาถูกรบเร้าหนัก ก็เลยถวายไป
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
- ภิกษุอันพวกทายกถามว่า จะถวายที่ไหน ดังนี้ บอกแนะนำว่า ไทยธรรมของพวกท่าน พึงได้รับการใช้สอย พึงได้รับการปฏิสังขรณ์ หรือพึงตั้งอยู่ได้นานในที่ใด ก็หรือจิตของพวกท่านเลื่อมใสในภิกษุรูปใด ก็จงถวายในที่นั้นหรือภิกษุรูปนั้นเถิด ดังนี้
- ภิกษุวิกลจริต
- ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
องค์แห่งอาบัติ
- ลาภทายกน้อมไปแล้วในสงฆ์
- รู้แล้วน้อมมาเพื่อตน
- ได้มา
พร้อมด้วยองค์ 3 ดังนี้ จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณา หน้า 176)
จบนิสสัคคิยปาจิตตีย์
หมวดอื่น ๆ ของพระวินัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น